พร้าว 2018-06-21T20:06:19+00:00

Project Description

โครงการเทิดพระเกียรติ “ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน”

ความเป็นมา

        สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา โดยกลุ่มพัฒนาการบริหารจัดการน้ำ ส่วนบริหารจัดการน้ำ ได้ดำเนินโครงการจัดทำแปลงสาธิตการทำนาแบบเปียกสลับแห้งในเขตพื้นที่ของโครงการชลประทาน/โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่และเกษตรกรในพื้นที่ได้ศึกษาเรียนรู้ถึงวิธีการใช้น้ำที่ประหยัดถูกต้องสอดคล้องกับความต้องการในการเพาะปลูกข้าว สำหรับนำไปขยายผลในพื้นที่ ให้เกิดผลเป็นรูปประธรรมและเพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดการใช้น้ำในการเพาะปลูกข้าวนาปรังรวมทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำของชลประทานอีกทางหนึ่ง ทางนี้ก่อนจะมีการดำเนินโครงการดังกล่าวสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยาร่วมกับสถาบันพัฒนาการชลประทาน สำนักวิจัยและพัฒนาและคณะอนุกรรมการเครือข่ายนานาชาติด้านน้ำ และระบบนิเวศในนาข้าว (INWEPF Thai Comittee) ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจและพร้อมจะนำไปขยายผลในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

         จากการศึกษาข้อมูลพบว่า หากมีการขยายผลทำให้มีการทำนาแบบเปียกสลับแห้งดังกล่าว ไปใช้เฉพาะหน้าฟางในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งในฤดูแล้งปี 2556 /57 มีพื้นที่ทำนาปรังทั้งสิ้นประมาณ 2.85 ล้านไร่
มีความต้องการใช้น้ำประมาณ 3,309 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น หรือประหยัดน้ำได้สูงสุดประมาณ 1,092 ล้านลูกบาศก์เมตร ถ้าปริมาณน้ำจำนวนนี้ไปใช้ในนาปรัง จะสามารถขยายพื้นที่ทำนาปรังได้อีกมากกว่า 940,093 ไร่

        การทำงานแบบเปียกสลับแห้ง (แกล้งข้าว) ประสบความสำเร็จโดยสามารถลดปริมาณการใช้น้ำในการทำนาข้าวได้ถึงร้อยละ 28 ของปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำนาแบบทั่วไป ซึ่งโดยปกติจะใช้น้ำประมาณ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำงานแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวจะใช้น้ำเสียงประมาณ 860 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่เท่านั้น นอกจากจะลดปริมาณการใช้น้ำลงแล้วยังช่วยลดต้นทุนด้านการใช้ปุ๋ย ใช้สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิง
ทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวลดลงจากไร่ประมาณ 5,600 บาทปีละประมาณ 3,400 บาท รวมทั้งยังทำให้คุณภาพของข้าวดีขึ้นเพิ่มปริมาณผลผลิตสูงกว่าไร่ละ 1,200 กิโลกรัม

        กรมชลประทานได้ขยายการทดลองดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่นำร่องและเป้าหมายปี พ. ศ. 2559 – 2562

        ปี 2558 ได้จัดทำคู่มือการทำนาแบบเปียกสลับแห้งเพื่อใช้เป็นคู่มือไปขยายผลสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมโดยจัดทำพื้นที่นำร่องขึ้นจำนวน 4 แห่งดังนี้

         1) โครงการชลประทานเชียงใหม่

        2) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

        3) โครงการชลประทานอุบลราชธานี

       4) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี

        ปี 2559 จะดำเนินงาน “1 โครงการ 1 แปลงสาธิต

       ปี 2560-2562 จะดำเนินการให้เต็มพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำนาปรังทั่วประเทศ

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม

            เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภายใต้แนวคิด “ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน” ผ่านการจัดกิจกรรมแปลงสาธิตต้นแบบการทำงานแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่และเกษตรกรในพื้นที่ได้ศึกษาเรียนรู้ถึงวิธีการใช้แผนที่ไปอย่างถูกต้องสอดคล้องกับความต้องการในการข้าว
สำหรับนำไปขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ตลอดจนเป็นแนวทางลดการใช้น้ำการเพาะปลูกข้าวนาปรัง

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน     

ท้ายอ่างเก็บน้ำแม่โก๋น หมู่ที่ 7 บ้านสันทราย ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

 การดำเนินงาน 

ระยะเวลาการจัดกิจกรรม

          เดือน มกราคม – พฤษภาคม 2558

สถานที่จัดกิจกรรม

          พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ เกษตรกรตัวอย่าง นายสุพรรณ์ เปราะนาค บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำแม่โก๋น หมู่ที่ 7 บ้านสันทราย ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่จำนวน 2 ไร่

 สรุปกิจจกรมที่จัด

1. รายละเอียดกิจกรรม

1.1 การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย

1.2 การวางแผนและเตรียมการ

1.3 จัดเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์

1.4 พิธีเปิดงาน KICK OFF

1.5 การดำเนินการ ติดตามผล และพิธีเปิดโครงการ

2. เป้าหมายการดำเนินงาน

เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำแม่โก๋น จำนวน 1 ราย (นำร่อง) เกษตรกร ยุวชลกร และผู้ที่สนใจจำนวน 90 ราย

3. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดกิจกรรม

3.1 ใช้แปลงสาธิตให้เจ้าหน้าที่และเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานศึกษารูปแบบวิธีการ นำความรู้ที่ได้ไปส่งเสริมและพัฒนา สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผล เป็นแนวทางลดการใช้น้ำในการทำนาปรัง และสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย ใช้สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง รวมทั้งยังทำให้คุณภาพของข้าวดีขึ้น เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้น และที่สำคัญทำให้คุณภาพชีวิตของชาวนาดีขึ้น เยาวชนรุ่นหลังๆ หันมาสนใจการทำนา ซึ่งจะเป็นการรักษาพื้นที่ชลประทานให้คงอยู่และเกิดความสามัคคีในชุมชน

3.2 เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภายใต้แนวคิด “ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน”

4. ผลการประเมิน

4.1 ผลการจัดกิจกรรม

การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย โดยมีหลักการคัดเลือกดังนี้

                    1) ศักยภาพแหล่งน้ำต้นทุนมีเพียงพอ

                   2) ศักยภาพความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ใช้น้ำ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                   3) กลุ่มผู้ใช้น้ำมีความสนใจ

                   4) พื้นที่มีความเหมาะสม

การบรรลุเป้าหมายของการจัดกิจกรรม

          สามารถขยายผลองค์ความรู้การใช้น้ำในการทำนาอย่างประหยัดไปสู่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรในพื้นที่ได้ศึกษาเรียนรู้ เพื่อนำไปขยายผลให้เกิดเป็นรูปธรรม เป็นแนวทางในการลดการใช้น้ำในการทำนาปรังและเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับ

          ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับความรู้ที่ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ในการทำนาแบบเปียกสลับแห้งจากสถานที่จริง นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ประโยชน์ที่ได้คือ ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย ใช้สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ข้าวมีคุณภาพดีขึ้น เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้น และเยาวชนรุ่นหลังๆ หันมาให้ความสนใจในการทำนามากขึ้น ซึ่งจะเป็นการรักษาพื้นที่ชลประทานให้คงอยู่และเกิดความสามัคคีในชุมชน

ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

        ผู้เข้าร่วมกิจกรรม (เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำแม่โก๋น) มีความพึงพอใจที่ได้รับความรู้การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง โดยเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งเกินร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย ที่เจ้าหน้าที่กรมชลประทานมาให้ความรู้

ข้อมูลติดต่อโครงการ

อ่างเก็บน้ำแม่โก๋น หมู่ที่ 7 บ้านสันทราย ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่