ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ 2018-06-18T11:18:02+00:00

Project Description

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

ความเป็นมา

title01

                            ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ แห่งนี้ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2525  ให้พิจารณาตั้งขึ้นบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตพื้นที่ โครงการประมาณ 8,500 ไร่ โดยมีพระราชประสงค์ที่ให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษาทดลอง วิจัย เพื่อหารูปแบบการพัฒนาต่างๆ ในบริเวณต้นน้ำเหมาะสมและเผยแพร่ให้ราษฎรนำไปปฏิบัติต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธารซึ่งศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะทำการศึกษา การพัฒนาป่าไม้พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลักต้นทางเป็นการศึกษาพัฒนาด้านป่าไม้ ปลายทางเป็นการศึกษาพัฒนาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ ผสมกับการศึกษา ด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อเป็นศูนย์ ที่สมบูรณ์แบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์แล้วนำไปปฏิบัติอย่างได้ผลต่อไป ดังมีพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” หรืออีกนัยหนึ่ง “สรุปผลและการพัฒนา” ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้

 

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน       

 
         ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อของตำบลป่าเมี่ยง และตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บนถนนหลวง เส้นทางที่ 118 สายเชียงใหม่ – เชียงราย ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร โดยอยู่ทางขวามือ ห่างจากถนนประมาณ 2 กิโลเมตร

title03map

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำหรับภาคเหนือ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เขตพื้นที่ โครงการประมาณ 8,500 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอบรม และเผยแพร่การศึกษาให้แก่ส่วนราชการและเกษตรกรทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาด้านต่างๆ

เป้าหมายโครงการ                            

1. พัฒนาแหล่งน้ำให้มีน้ำเพียงพอสำหรับสนับสนุนงานศึกษาการพัฒนาด้านต่างๆ ของศูนย์ และจัดให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของราษฎร หมู่บ้านรอบศูนย์ ที่เหมาะสมร้อยละ 70

2. ศึกษารูปแบบการพัฒนาป่าไม้ที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่าในพื้นที่ให้ได้ 100% ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์และสร้างจิตสำนึกให้แก่ราษฎร โดยเฉพาะหมู่บ้านรอบศูนย์ ในการอนุรักษ์ทรัพยาการป่าไม้ 
3. ศึกษาพัฒนาวิธีการและรูปแบบการอนุรักษ์และน้ำที่เหมาะสมกับภูมิประเทศภาคเหนือตอนบน 
4. ศึกษาและทดสอบการปลูกพืชต่างๆ ที่เหมาะสมทั้งพืชสวนพืชอุตสาหกรรมพืชผักพืชไร่ ข้าว และเห็ด
5. ศึกษาการอยู่ร่วมกันของพืชต่างๆ ในพื้นที่ต่างกับสภาพความเป็นจริง และคัดเลือกพันธุ์เพื่อบริการสู่เกษตรกร 
6. ศึกษารวบรวมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่หายาก
7.ศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม พืชอาหารสัตว์ รวมทั้งสัตว์ปีก โดยเน้นการศึกษาการเลี้ยงโคนมที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
8. ศึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์กบ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ชนิดต่างๆที่พบในประเทศไทย 
9. ศึกษาเกี่ยวกับการวางระเบียบการจับปลาในแหล่งน้ำ เทคนิคและส่งเสริมการเลี้ยงปลา 
10. พัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของราษฎรหมู่บ้านรอบศูนย์ ให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง โดยมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 80,000 บาท/ครอบครัว/ปี ตลอดจนมีพัฒนาการทางสังคมอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานของความเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) ของทางราชการ
11. พัฒนาศักยภาพของคน ทางด้านจิตใจ ความคิด ให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีจิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีโลกทัศน์กว้าง และส่งเสริมให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. สามารถพัฒนาแหล่งน้ำให้มีเพียงพอสำหรับสนับสนุนงานศึกษาการพัฒนาด้านต่างๆ ของศูนย์ฯ และเพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของราษฎรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ
2. สามารถทำการพัฒนาป่าที่เหมาะสมในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำภาคเหนือ การป้องกันรักษาป่า ควบคุมไฟป่าและการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ
3. สามรถทำการพัฒนาวิธีการและรูปแบบการอนุรักษ์และน้ำที่เหมาะสมกับภูมิประเทศภาคเหนือตอนบน 
4. สามรถทำการทดสอบการปลูกพืชต่างๆ เหมาะสมตลอดการรวบรวมอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชที่หายากทั้งพืชสวน พืชอุตสาหกรรม พืชผัก พืชไร่ ข้าว และเห็ด ในพื้นที่ต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริงพร้อมทั้งคัดเลือกพันธุ์เพื่อบริการสู่เกษตรกร 
5. สามารถพัฒนาการเลี้ยงโคนม พืชอาหารสัตว์ รวมทั้งสัตว์ปีก ในสภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่ 
6. สามารถพัฒนาการเลี้ยงเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์กบและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดต่างๆที่พบในประเทศไทย 
7. สามรถทำการพัฒนาแหล่งน้ำ เทคนิค และการส่งเสริมการเลี้ยงปลา แก่เกษตรกรให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง

งบประมาณ

1. งบปกติ              จำนวน                   65,346,000 บาท
2. งบ กปร.            จำนวน                   37,729,500 บาท
3. งบอื่นๆ (ระบุ) จำนวน                   –                    บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

สภาพกายภาพโดยทั่วไปของพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ฯ จากผลการสำรวจเมื่อปี 2526P1300501

มีลักษณะสำคัญสรุปได้ คือ

1. สภาพดินเป็นดินหินกรวด มีหน้าดินตื้นไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม
2. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป บรรยากาศมีสภาพแห้งแล้ง ขาดความชุ่มชื้น ธรรมชาติต้องเผชิญกับไฟไหม้ป่า ในทุกๆปี
3. ปริมาณน้ำธรรมชาติในพื้นที่ต้นน้ำมีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอที่จะพัฒนามาใช้ประโยชน์ในการดำเนิน – กิจกรรมในการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีต่ำกว่า 1,200 มิลลิเมตร และสภาพกายภาพลุ่มน้ำเป็นป่าเต็งรังที่ไม่สามารถเก็บอุ้มน้ำไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สภาพป่าไม้มีสภาพเสื่อมโทรม ผ่านการทำไม้สัมปทาน และสัมปทานไม้ฟืนโรงบ่มยาสูบ รวมทั้งมีการ บุกรุกตัดไม้ใช้ประโยชน์โดยชุมชน จนเหลือชนิดพันธุ์ไม้อยู่ในธรรมชาติเพียง 35 ชนิด มีความหนาแน่น ของต้นไม้ไม่เกิด 100 ต้นต่อไร่ ไม้ที่เหลืออยู่เป็นลูกไม้ขนาดเล็กและไม้ที่สูงให่ญ่ไม่เกิน 9 เมตร ลักษณะเป็นไม้ชั้นเีดียวเป็นป่าโปร่ง
5. สภาพลุ่มน้ำไม่มีการเข้ามาถือครองใช้ประโยชน์โดยชุมชน เนื่องจากไม่มีความอุดมสมบูรณ์ใดๆที่จะ เอื้อให้้ทำการเพาะปลูกได้ พื้นที่จึงมีสภาพถูกทิ้งรกร้าง
สภาพทางกายภาพของพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ ที่เปลี่ยนสภาพภายหลังการดำเนินงานศึกษาและ พัฒนาพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ด้านการพัฒนาที่ดิน

ในสภาพป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ในหน้าแล้งมีการผลัดใบ ซึ่งทางวิชาการเรียกว่า “การคืน ธาตุอาหารให้แก่พื้นดิน” จากการศึกษาพบว่าในเดือนกุมภาพันธ์ มีใบไม้มากที่สุด ประมาณ 600-700 กก. ต่อไร่ต่อปี ถ้าใบไม้เหล่านี้ไม่ถูกไฟไหม้ก็จะผุสลายเป็นหน้าดินเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ป่า ซึ่งพบว่า ธาตุอาหารในดินมีเพิ่มขึ้นจากปี 2526 มีธาตุอาหารในดินไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ (ของน้ำหนักดิน) จากการ พัฒนา ปัจจุบันพบธาตุอาหารเพิ่มเป็น 3-4 เปอร์เซ็นต์ (ของน้ำหนักดิน) ผลจาการร่วงหล่น ทับถมผุสลาย ของใบไม้ทำให้ดินมีหน้าดินเพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มธาตุอาหารในดิน สามารถใช้พื้นที่ทำประโยชน์ด้านการ เกษตรกรรมได

ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

สภาพแหล่งน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำก่อนปี 2526 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่อง มาจากพระราชดำริ ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ ซึ่งลำห้วยห้วยฮ่องไคร ้ เป็นลำน้ำสาขาฝั่งขวาของลุ่มน้ำแม่กวง มีต้นกำเนิดจากแนวสันเขาสูงทาง ทิศตะวันออกเขตตำบลป่าเมี่ยงของอำเภอดอยสะเก็ดไหลลงมาทางทิศใต้ผ่านบ้านปางเรียบเรือ บ้านตลาดขี้เหล็ก บ้านแม่ฮ่องไคร้ ไหลบรรจบกับลำห้วยแม่โป่ง ที่บ้านท่ามะกุ่ม แล้วไหลผ่านบ้านป่าไผ่ บ้านแม่โป่ง และ บ้านแม่ฮ้อยเงิน ไปบรรจบกับน้ำแม่จ้องที่บ้านแม่จ้องเหนือในเขตอำเภอดอยสะเก็ด แล้วไหลไปทาง ทิศตะวันตก ผ่านบ้านแม่ก๊ะใต้ บ้านแม่คือ บ้านแม่ท้องป่อง บรรจบกับน้ำแม่ปูคา ที่บ้านแม่ปูคาเหนือในเขต อำเภอสันกำแพง แล้วไหลผ่านอำเภอสันกำแพงไปลงลำน้ำกวง ไหลลงสู่แม่น้ำปิงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ลำห้วยฮ่องไคร้ช่วงไหลผ่านบ้านปางเรียบเรือ ซึ่งเป็นจุดที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ห้วยฮ่องไคร้ 7 (ปางเรียบเรือ) มีความยาวลำน้ำประมาณ 6.50 กม. พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 13.60 ตร.กม. หรือประมาณ 8,500 ไร่ ลำห้วยมีขนาดกว้างประมาณ 4.00 ม. ท้องลำน้ำมีตะกอนทราย

สภาพน้ำท่า
เนื่องจากลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ เป็นลุ่มน้ำขนาดเล็กในลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ จึงไม่มีสถานีวัดปริมาณ น้ำท่า การประเมินน้ำต้นทุนที่ไหลผ่านหัวงาน จึงต้องอาศัยข้อมูลปริมาณน้ำท่า เฉลี่ยของสถานีดัชนี ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกับหัวงานมากที่สุด คือสถานี P.36 (น้ำแม่ลาย) มีพื้นที่ลุ่มน้ำเหนือสถานีเท่ากับ 35 ตารางกิโลเมตร ในการประมาณน้ำท่าของลำห้วยฮ่องไคร้ ได้อาศัยข้อมูลจากสถานีวัดน้ำฝนดังกล่าว เป็นจุดตรวจสอบผลการคำนวณเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ใกล้เคียงกันกับความเป็นจริงตามธรรมชาติ
พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ มีการจัดการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ เช่นการปลูกเสริมป่า การควบคุมและ ป้องกันไฟป่า และก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร (Check Dam) กระจายไปทั่วพื้นที่ สร้างความชุ่มชื้น ให้กับป่า และระบบนิเวศน์ป่าไม้ ทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในพื้นที่สูงขึ้น อุณหภูมิโดยเฉลี่ยลดลงจากเดิม รวมทั้งอัตราการระเหยและการคายน้ำลดลงเช่นเดียวกัน มีผลให้ความต้องการผันน้ำจากลุ่มน้ำห้วยแม่ลาย ลดลงตามลำดับ

สภาพฝน อัตราการระเหย และอุณหภูมิ
จากการศึกษาข้อมูลปริมาณน้ำฝน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เปรียบเทียบ กับข้อมูลปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ศูนย์ฯห้วยฮ่องไคร้ พบว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกในเขตพื้นที่ศูนย์ฯ มีปริมาณ มากกว่าและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี ปัจจุบันปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,314 มิลลิเมตร/ปี อัตราการระเหย 880 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส

ด้านการพัฒนาป่าไม้
ชนิดของป่าเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จากเดิมมีสภาพเป็นป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรม ปัจจุบันฟื้นฟูสภาพ และพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ คือ สภาพแวดล้อมของบรรยากาศ มีความชุ่มชื้น คุณภาพของป่าเปียกหรือ Wet fire Break เดิม (ปี 2526) เกิดไฟป่าในพื้นที่ศูนย์ฯ สร้างความเสียหายประมาณ 200 ไร่/ปี เมื่อระบบ การกระจายความชื้นเริ่มเข้าผืนป่าปัจจุบันในระยะ 10 ปี หลังการพัฒนาไม่ปรากฎว่ามีไฟไหม้ป่า เกิดขึ้น ในพื้นที่ศูนย์ฯ มีความหลากหลายของพืชพรรณอาหารธรรมชาติที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์เพื่อการพึ่งพา และเป็นรายได้เสริมในครัวเรือน ชุมชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ทั้งนี้การที่จะรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีมี คุณค่าต้องมีการปลูกสร้างจิตสำนึกในการทำหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ในพื้นที่ต้นน้ำ ด้วยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อเป็นแนวทางให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการทรัพยากรและสภาพแวดล้อมท้องถิ่นตอบสนองแนวพระราชดำริ
การฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ ที่ประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม เป็นตัวอย่างที่ดีของการ จัดการพัฒนาพื้นที่ที่เสื่อมโทรมให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้นั้น เกิดจาการดำเนิน การพัฒนาตามแนวพระราช ดำริ ให้เน้นเรื่องการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร โดยใช้ฝายต้นน้ำลำธาร เป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่ ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายภาพจากสภาพพื้นที่ที่เสื่อมโทรมในอดีต จนมีสภาพที่สมบูรณ์ พื้นดินมี ศักยภาพที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านเกษตรกรรมอื่นๆ ได้อย่างยั่งยืนและชุมชนรอบพื้นที่สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้นน้ำลำธาร ทำให้ผืนป่าต้นน้ำลำธารเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตน้ำไปใช้ในส่วนพื้นที่ด้านล่าง ได้ นี่คือบทพิสูจน์รูปแบบแห่งความสำเร็จเพื่อการเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติ การพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ที่ยั่งยืนต่อไป

พื้นที่ดำเนินงาน
1. พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 8,500 ไร่
2. พื้นที่หมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ฯ ของโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ 18 หมู่บ้าน ในตำบลแม่โป่ง ตำบแม่ฮ้อยเงิน ตำบลเชิงดอย ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด และตำบล ห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
3. โครงการบริการการพัฒนาในระดับพื้นที่ 5 แห่ง

3.1 โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

3.2 ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

3.3 โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

3.4 โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

3.5 โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
4. พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
5. พื้นที่หมู่บ้านในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอื่นในภาคเหนือที่ีเกษตารกรมีความสนใจ เข้ามาเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ

 

ที่มา:http://www.hongkhrai.com

ผลการดำเนินงาน

1. งบศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำ
งบศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นงานจัดหาน้ำสนับสนุนงานศึกษาและพัฒนาในด้านต่างๆ ของศูนย์ห้วยฮ่องไคร้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาต้นน้ำลำธาร โดยพยายามใช้ประโยชน์จากน้ำที่ไหลมาจากยอดเขา ลงสู่ที่ล่างให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยการทำฝายต้นน้ำ (Check Dam) สำหรับกักเก็บน้ำไว้เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของพื้นดินในฤดูแล้งและทำคูน้ำระบบก้างปลา เพื่อกระจายน้ำออกไปเพิ่มความชุมชื้นในดิน เพื่อประโยชน์ในการปลูกป่า และแนวป้องกันไฟป่าเปียก(Wet Fire Break) น้ำที่ไหลมาเบื้องล่างก็จะทำอ่างเก็บน้ำไว้ และใช้ประโยชน์อ่างเก็นน้ำสนับสนุนกิจกรรมการเพาะปลูก การลี้ยงสัตว์ การประมง รวมทั้งเพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภคของหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และบำรุงรักษาซ่อมแซมปรับปรุงระบบกักเก็บน้ำระบบส่งน้ำ ปีงบประมาณ 2547 ได้ดำเนินการด้านศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำ ในพื้นที่ศูนย์ห้วยฮ่องไคร้ และโครงการสาขาดังนี้
1.1 งานบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำ จัดสรรน้ำ ปรับปรุงบำรุงรักษา อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ และระบบส่งน้ำ รวมทั้งถนนในเขตโครงการ ทางเข้าอ่างเก็บน้ำที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว ดังนี้
(1) บริการกลุ่มใช้น้ำ จัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การประมง ในพื้นที่ศูนย์ฯ รวมทั้งเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภคของราษฎรหมู่บ้านบริเวณรอบศูนย์ฯ และโครงการสาขา จำนวน 20 แห่ง
(2) งบบูรณะซ่อมแซมถนนลาดยางภายในศูนย์ ทำให้การเดินทางเข้าออกของยานพาหนะเป็นไปด้วยความสะดวก
(3) ก่อสร้างระบบส่งน้ำเพื่อที่ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ บริเวณแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ของฝ่ายปศุสัตว์และโคนม ภายในศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ พื้นประมาณ 210 ไร่ โดยสามารถส่งน้ำให้แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ตลอดปี และลดการขาดแคลนหญ้าอาหารสัตว์ได้
(4) ซ่อมแซมถนนลูกรังสายหลักในเขตโครงการห้วยฮ่องไคร้ฯ (ท่อลำเลียงใหญ่)
(5) ซ่อมแซมถนนสายหลักทางเข้าอ่างเก็บน้ำในโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(6) งานปรับปรุงถนนลาดยางสายหลักเข้าโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทาง 6+500 กิโลเมตร
(7) งานลาดยางถนนเข้าหัวงานโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามแบบมาตรฐาน F4 ความยาว 1+660 กิโลเมตร
(8) ก่อสร้างโรงสูบน้ำบ่อบาดาลและระบบส่งน้ำบ้านป่าไม้ (เหนืออ่างหน่องกระทิง) ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
(9) ก่อสร้างโรงสูบน้ำ ระบบสูบน้ำตลอดจนบ่อพักน้ำบ้านห้วยฝาง หมู่ที่8 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
(10) ขุดสระเก็บกักน้ำ พร้อมก่อสร้างอาคารรับน้ำ และอาคารระบายน้ำ บ้านหยอง ปลาสวาย หมู่ที่ 2 ต.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
(11) ขุดสระเก็บกักน้ำ พร้อมก่อสร้างอาคารรับน้ำ และอาคารระบายน้ำบ้านสารภี หมู่ที่4 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
(12) ขุดสระเก็บกักน้ำ พร้อมก่อสร้างอาคารรับน้ำ และอาคารระบายน้ำบ้านห้วยม่วง ฝั่งซ้าย หมู่ที่6 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
(13) ขุดสระเก็บกักน้ำ พร้อมก่อสร้างอาคารรับน้ำ และอาคารระบายน้ำบ้านท่ากอม่วง หมู่ที่ 10 ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
(14) ขุดลอกและขยายสระเก็บน้ำ ปรับปรุงอาคารน้ำบ้านแม่ฮ่องไคร้ หมู่ที่ 8 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
(15) ก่อสร้างดาดคอนกรีตคลองส่งน้ำระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยก้า หมู่ที่ 1 ต. แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
(16) พัฒนาบ่อบาดาล เป่าล้างตะกอนทราย จำนวน 22 บ่อ ในหมู่ที่บ้านโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
1.2 งานศึกษาทดลองวิจัย
(1) ศึกษาการสูญเสียน้ำของอ่างเก็บน้ำหนองปลาสวาย ต.หนองปลาสวาย อ.บ้างโฮ่ง จ.ลำพูน

2. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้
ปีงบประมาณ 2547 ได้ดำเนินการ ด้านงานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ คือ
2.1 การบำรุงรักษาแปลงบำรุงรักษาธรรมชาติ 4,000 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่พัฒนาป่าโดยระบบชลประทาน 800 ไร่ และพื้นที่ป่านอกระบบชลประทาน คือ พื้นที่พัฒนาป่าไม้โดยระบบเหมืองฝาย และพื้นพัฒนาป่าโดยธรรมชาติ 3,200 ไร่ กิจกรรมการปฏิบัติงาน คือ การแผ้วถางวัชพืชการพรวนดิน รอบโคนต้นไม้ การจัดทำแนวป้องกันไฟป่าและควบคุมไฟป่า การบำรุงดูแลแม่ไม้ การปลูกซ่อมปลูกเสริม และการสำรวจตรวจตราลาดตระเวนติดตามสภาวะการณ์
2.2 การเพาะชำกล้าไม้ ดำเนินการผลิตกล้าไม้ แยกเป็น ไม้ดอกไม้ประดับ 150,628 กล้า ไม้โตเร็ว 199,511 กล้า ไม้ไผ่ 50,000 กล้า กล้าไม้สมุนไพร (32ชนิด) 106,891 กล้า รวมเพาะชำกล้าไม้ในปีงบประมาณได้ 507,030 กล้า สนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมการปลูกฟื้นฟูป่า การพัฒนาป่า การสนับสนุนกล้าไม้ให้หน่วยงานต่างๆ และประชาชนทั่วไป รวม 457,030 กล้า จำนวน 836 ราย
2.3 การสาธิตระบบวนเกษตร (เกษตรวิถีไทย) คือ
2.3.1 การปลูกพืชเกษตรกรรมผสมผสานในพื้นที่ป่าไม้ เนื้อที่ 10 ไร่
2.3.2 บำรุงรักษาแปลงสาธิต จำนวน 10 ไร่
2.4 งานสาธิตการปลูกไม้ไผ่ ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิตรวบรวมพันธุ์ไม้ไผ่ รวม 36 ชนิด
2.5 งานสาธิตการจัดการทุ่งหญ้าป่าไม้ จำนวน 15 ไร่
2.6 งานศึกษาทดลอง
2.6.1 การศึกษาการพัฒนาสภาพป่าเต็งรัง
2.6.2 ศึกษาการร่วงหล่นและสลายตัวของเศษไม้ใบในพื้นที่ป่าเต็งรังที่มีการจัดการน้ำด้วยระบบชลประทาน
2.6.3 ศึกษาปริมาณน้ำฝนที่ถูกเก็บกักโดยเรือนยอดของป่าเต็งรังภายหลังการจัดการด้วยระบบชลประทาน
2.6.4 งานป้องกันพื้นที่และงานป้องกันไฟป่า
2.6.5 งานปลูกและบำรุงป่าโดยการพัฒนาป่า 3 อย่าง 3 วิธี
2.6.6 ศึกษาเชิงวิเคราะห์ระบบเกษตรป่าไม้
2.6.7 งานวิจัยต้นน้ำ
2.6.8 งานวิจัยพัฒนาป่า 3 อย่าง 3 วิธี
2.6.9 งานประเมินผลทางเศรษฐกิจทรัพยากรธรรมชาติของศูนย์ฯ
2.6.10 งานศึกษาและพัฒนาสภาพป่าเต็งรัง

2.7 งานศึกษาและพัฒนาการลี้ยงสัตว์ป่าในพื้นที่ต้นน้ำ ดำเนินการเพาะเลี้ยงและบำรุงพันธุ์สัตว์ป่า 3 ประเภท 1) สัตว์ลี้ยงลูกด้วยนม 12 ชนิด 74 ตัว 2) สัตว์ป่าประเภทนก 16 ชนิด 276 ตัว 3) สัตว์ป่าเลื้อนคลาน 3 ชนิด 13 ตัว รวมทั้งหมด 31 ชนิด 363 ตัว ปัจจุบันมีสัตว์ป่าอยู่ในความดูแล จำนวน 31 ชนิด จำนวน 363 ตัว
2.8 งานขยายผลเพื่อการพัฒนา เป็นโครงการสร้างเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ผลของการศึกษาและพัฒนาป่าไม้ที่เพิ่มรูปแบบแห่งความสำเร็จเป็นผลสรุปรวมแล้วให้เกิดการเผยแพร่ไปสู่การพัฒนาที่มีการปฏิบัติจริง
2.9 งานควบคุมและป้องกันไฟป่า
งานควบคุมไฟป่าศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ รับผิดชอบ การปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าพื้นที่ศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากรพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ พื้นที่ 8,500 ไร่ หรือประมาณ 13.6 ตารางกิโลเมตร
การรณรงค์ป้องกันไฟป่า
1. การประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ออกไปพบปะพูดคุยประชาชนโดยตรง เพื่อชี้แจงให้ทราบผลเสียหายของไฟป่าและขอความร่วมมือในการป้องกันไฟป่าในพื้ที่หมู่บ้านบริเวณศูนย์ฯ และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 40 ครั้ง
2. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวนขอความร่วมมือในการป้องกันไฟป่าประกอบด้วยรูปภาพและคำขวัญต่างๆ ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ติดตั้งตามสถานที่สาธารณะซึ่งประชาชนทั่วไปมองเห็นได้ง่าย ตามหมู่บ้าน และตามแนวทางเดินเท้าในป่า เป็นต้น
3. นิทรรศการ จัดทำบอร์ด ภาพกิจกรรมต่างๆ แสดงที่สถานีฯ หน่วยดับไฟป่าเคลื่อนที่ จัดแสดงนิทรรศการตามสถานศึกษา หน่วยงานราชการหรืองานประจำปีงานประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่น เพื่อเป็นการให้ความรู้และเผยแพร่กิจกรรมการป้องกันไฟป่า จำนวน 10 ครั้ง
4. ให้การศึกษา โดยเจ้าหน้าที่ออกไปบรรยายให้ความรู้แก่นักเรียนตามสถานศึกษารวม 3 โรงเรียน เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จำนวน 38 ครั้ง
5. ฝึกอบรมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ จัดฝึกอบรมโครงการหมู่บ้านปลอดไฟป่า จำนวน 1 รุ่น
งานเตรียมการก่อนฤดูไฟป่า
1. สำหรับพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยออกหาข้อมูลเพื่อหามาตรการในการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ 85,000 ไร่
2. เตรียมพนักงานดับไฟป่า รับสมัครและคัดเลือกประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นที่มีสุขภาพแข็งแรง เข้าฝึกอบรมเป็นพนักงานดับไฟป่า ให้มีความรู้และความพร้อมในการปฏิบัติงานดับไฟป่า จำนวน 100 คน
3. เตรียมอุปกรณ์ดับไฟป่า จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ดับไฟป่าที่ใช้การได้ประจำหน่วยดับไฟป่าเคลื่อนที่ต่างๆ และตามหมู่บ้านหรือจุดต่างๆ ที่สำคัญ
4. ทำแนวกันไฟรอบๆ พื้นที่ศูนย์ฯ รับผิดชอบและแผ้วถางเส้นทางพื้นที่ที่ล่อแหลมต่อการเกิดไฟป่าระยะทาง 60 กิโลเมตร
5. จัดการเชื้อเพลิง ชิงเผาและกำจัดเชื้อเพลิงตามแนวกันไฟและพื้นที่ที่ล่อแหลมต่อการเกิดไฟป่า และตามแนวถนน พื้นที่ 1,250 ไร่
การดับไฟป่า
ตรวจหาไฟ และตรวจปราบปรามการลักลอบเผาป่าในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่ประจำหอดูไฟ ทั้ง 4 แห่ง รายงานสภาพพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จัดพนักงานเพื่อลาดตระเวนรถจักรยายนต์ และรถยนต์ เพื่อตรวจตราพื้นที่และรายงานให้หัวหน้าหมู่ดับไฟทราบในทันทีเมื่อเกิดไฟป่า และจัดพนักงานลาดตระเวนเดินเท้าในพื้นที่ในปีงบประมาณ 2547 ไม่มีการเกิดไฟป่าในพื้นที่ศูนย์ห้วยฮ่องไคร้
3. การศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรมแบบปราณีต
3.1 งานสาธิตรูปแบบการปลูกพืช
ดูแลรักษาแปลงสาธิตแบบการปลูกพืช 5 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการปลูกพืชในพื้นที่ห่างไกลการคมนาคม 2) รูปแบบการปลูกพืชในพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวก 3) รูปแบบการปลูกพืชในพื้นที่ที่ทำการเกษตรอุสาหกรรม 4) รูปแบบการปลูกพืชในพื้นที่รับน้ำฝน และ 5) รูปแบบการปลูกพืชในลักษณะหน่วยขยายพันธุ์พืชประจำหมู่บ้าน เพื่อให้พร้อมที่จะให้เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปเข้าชมได้ตลอดเวลา รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ประจำแปลงสาธิตในการนำชมและบรรยายการถ่ายทอดแนวความคิดของรูปแบบการปลูกพืชแบบต่างๆ ให้ผู้เยี่ยมชมได้ศึกษาเรียนรู้อย่างเข้าใจ
3.2 งานรวบรวมพันธุ์พืช
3.2.1 ดูแลพืชในแปลงรวบรวมพันธุ์พืช ซึ่งประกอบด้วยพืชในกลุ่มของผักพื้นเมือง 150 ชนิด พืชสมุนไพร 125 ชนิด พืชอุตสาหกรรม 3 ชนิด พันธุ์ไม้หอม 54 ชนิด ไม้ผล และหญ้าแฝกท้องถิ่น
3.2.2 สำรวจพืชผักพื้นเมือง และพืชสมุนไพรในเขตภาคเหนือ และรวบรวมพันธุ์พืชผักพื้นเมืองและพืชสมุนไพรเพิ่มเติม
3.2.3 รวบรวมพันธุ์ของต้นเพกา จากหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้
3.3 งานศึกษาทดลอง
ศึกษาทดลองเกี่ยวกับพันธุ์พืชที่ปลูกเพื่อการสาธิต เพื่อการรวบรวมพันธุ์และเพื่อทดสอบศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นพืชที่มีคุณค่าในการใช้สอยพืชกินได้ หรือพืชรายได้ เพื่อสนับสนุนงานขยายผลของศูนย์ฯ ที่สรุปในปีงบประมาณ 2547 มัดังนี้
3.3.1 ศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ภายในแปลง เช่น ผักเสี้ยว มะเกี๋ยงแขก เพกา เต่าร้าง
3.3.2 ศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ภายในแปลงอนุรักษ์ฯ
3.3.3 รวบรวมและศึกษาพันธุ์หญ้าแฝกท้องถิ่น
3.3.4 ทดลองแปรรูปผลผลิตในแปลง ได้แก่ การแปรรูปมะดันโดยวิธีการดองและแช่อิ่ม
3.4 งานเกษตรกรรมแบบยั่งยืน
ดำเนินการรวบรวมพันธุ์พืชดูแลรักษาพันธุ์พืช เช่นผักเสี้ยว ต๋าว ลูกเนียง เม่า มะเกี๋ยงแขก ลาน เพกา เต่าร้าน มะรุม มะกอก ไก๋ กระพ้อ
3.5 งานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
3.5.1 ดูแลรักษาต้นพันธุ์พืชในแปลงรักษาพันธุกรรมพืช อพ.สธ.
3.5.2 บันทึกการเจริญเติบโตอัตราการอยู่รอด อัตราการตายของจำนวนต้นไม้ภายในแปลงอนุรักษ์ฯ
3.5.3 รวบรวมพันธุ์ไม้ป่ายืนต้น พันธุ์ไม้พื้นล่างและพันธุ์ไม้ป่า
3.6 งานรวบรวมพันธุ์และดูแลกล้วยไม้
3.6.1 สำรวจและรวบรวมข้อมูลของกล้วยไม้ที่ออกดอกบริเวณทางเข้าศูนย์ฯ และบริเวณริมป่าถนนสายเชียงใหม่-เชียงราย เช่น ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย ฤดูออกดอก
3.6.2 งานขยายพันธุ์และผสมพันธุ์กล้วยไม้ เช่น นางอั่ว และปลูกกล้วยไม้ที่นำมาจากห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 2,000 ต้น
4. งานศึกษาและทดสอบการปลูกพืช
4.1 งานรวบรวมศึกษาและพัฒนาพันธุ์ไม้ผล
ได้รวบรวมศึกษาและพัฒนาการปลูกพืชไม้ผลพันธุ์ดีหลายชนิดหลายพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 254 เช่น มะม่วง ลื้นจี่ ขนุน มะขามหวาน ส้มโอ ส้มเกลี้ยง กระท้อน มะคาเดเมียนัท มะม่วงหิมพานต์
4.1.1 มะม่วง พื้นที่ 58 ไร่ โดยปลูกมะม่วงโดยเมล็ดแล้วเปลี่ยนยอดปลูกทดสอบ 10 พันธุ์ ได้แก่ เขียวเสวย หนองแซง หนังกลางวัน น้ำดอกไม้ พิมเสนมัน แรดมัน โชคอนันต์ อกร่อง และเจ้าคุณทิพย์
4.1.2 ลำไย พื้นที่ 22 ไร่ พันธุ์ที่นำมาปลูกทดสอบ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ดอ แห้ว เบี้ยวเขียว และสีชมพู
4.1.3 ลิ้นจี่ พื้นที่ 21 ไร่ พันธุ์ที่นำมาทดสอบ 2 พันธุ์ ได้แก่ ฮงฮวย และโอเฮี๊ยะ
4.1.4 มะขามหวาน พื้นที่ 16 ไร่ พันธุ์ที่นำมาปลูกทดสอบมี 4 พันธุ์ ได้แก่สีทอง หมื่นจง ขันตี และสีชมพู
4.1.5 พื้นที่ 9 ไร่ พันธุ์ที่นำมาปลูกทดสอบ 5 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์จำปากรอบ วิชาญ เหรียญบาท ฟ้าถล่ม และไพศาลทักษิณ
4.1.6 พืชตระกูลส้ม พื้นที่ 14 ไร่ ประกอบด้วย ส้มเกลี้ยง ส้มโอ ส้มเขียวหวาน พันธุ์ที่นำมาทดสอบได้แก่ ท่าข่อย ขาวแป้น ขาวพวง และพันธุ์ขาวทองดี
4.1.7 แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้ผลชนิดต่างๆ พื้นที่ 2 ไร่ ศึกษาทดสอบรวบรวมพันธุ์ไม้ผลชนิดต่างๆ ดังนี้ ฝรั่ง พุทรา กระท้อน มะนาว ละมุด ชมพู่ ฯลฯ เพื่อทดสอบหาพันธุ์ที่เหมาะสมและผลผลิตดี สำหรับขยายผลสู่หมู่บ้านเป้าหมายของศูนย์ฯ
4.1.8 แปลงสาธิตไม้ผลรวมกับกล้วย พื้นที่ 0.25 ไร่ โดยปลูกลองกอง มะไฟจีน ส้มเขียวหวาน ส้มเกลี้ยง ส้มโอ รวมกับ กล้วยหอม กล้วยไข่ ตามแนวช่องว่างไม้ผลต่างๆ
4.1.9 มะพร้าวน้ำหอม พื้นที่ 5ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 70%
4.1.10 ไม้ดอก พื้นที่ 0.5 ไร่ ทำการปลูกไม้ดอก แกลดิโอรัส แซมในแปลงไม้ผล
4.2 พืชอุสาหกรรม
ปลูกมะคาเดเมียนัทแซมป่า เจริญเติบโตได้ดีมาก สามารถปรับสภาพกับพื้นที่ป่าเต็งรังได้ดี ส่วนหนึ่งได้ปลูกพริกไทย และดีปลีแซมกับไม้ป่า เป็นพื้นที่ศึกษาดูงานของหน่วยงานราชการและเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
4.3 พืชสมุนไพรและไม้หอม
รวบรวมพืชท้องถิ่นและต่างพื้นที่มาปลูกมากกว่า 150 ชนิด ค้นคว้าและเก็บข้อมูลสรรพคุณทางการรักษา ส่วนพืชที่มีประโยชน์จัดเป็นแหล่งความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป
4.4 งานรวบรวมผักพื้นบ้าน
โดยการปลูกทดสอบการเจริญเติบโตรวบรวมผักท้องถิ่นที่ใช้ส่วนต่างๆ ของลำต้นมาทำเป็นอาหารหรือบริโภคสด รวบรวมชื่อวิทยาศาสตร์ เทียบชื่อภาษาพื้นบ้านกับภาษาราชการ ขยายพันธุ์เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป ปัจจุบันมีพืชปลูกมากกว่า 50 ชนิด
4.5 งานศึกษาและพัฒนาพืชไร่และพืชสวน
ดำเนินการปลูกพืชแบบผสมผสาน พื้นที่ 4 ไร่ พื้นที่ปลูกได้แก่ ปอสา อ้อยคั้นน้ำยางพารา สับปะรด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง งาขาว ข้าวโพด ฟักทอง
4.6 งานทดสอบการปลูกข้าวริมอ่างเก็บน้ำที่ 7 ของศูนย์ฯ
ดำเนินการปลูกข้าวนาปีในพื้นที่ 1 ไร่ 1งาน พันธุ์ที่ปลูกทดสอบได้แก่ พันธุ์หอมมะลิ 105 พันธุ์ปทุมธานี ข้าวขึ้นน้ำ พันธุ์อยุธยา และพันธุ์ปราจีนบุรี (อยู่ระหว่างดำเนินการปลูก)และทำการเลี้ยงเป็ดในบริเวณแปลงนาข้าว จำนวน 30 ตัว พื่อลดการระบาดของหอยเชอรี่
4.7 งานทดสอบการปลูกหม่อน
พื้นที่ประมาณ 15 ไร่ แซมมะม่วงหิมพานต์ พันธุ์บุรีรัมย์ 60 เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสาธิตการแปรรูปใบและผลอย่างครบวงจรในอนาคต
4.8 งานศึกษาทดสอบการปลูกพืชผัก
ทดสอบการปลูกผักอนามัยได้แก่ ผักตระกูลกระหล่ำ ตระกูลแตง ตระกูลพริก และมะเขือ ศึกษาปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อทำปุ๋ยพืชสด ปลูกผักพื้นบ้านและปลูกพืชผักตามฤดูกาล ได้ผลผลิตเป็นผักปลอดสารพิษ สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิรินธร และสนับสนุนกิจกรรมภายในโครงการนำเศษพืชนำไปทำปุ๋ยชีวภาพ
4.9 งานศึกษาและทดสอบการเพาะเห็ด
งานศึกษาทดสอบการเพาะเห็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น กิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือการเตรียมหัวเชื้อบริสุทธิ์ การผลิตหัวเชื้อในเมล็ดธัญพืช และการขยายผลไปสู่เกษตรกร นอกจากนี้ยังได้ศึกษาทดสอบการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต การทดสอบใช้วัสดุชนิดต่างๆ เพื่อทดแทนวัสดุที่หายากและมีราคาแพง ในปีงบประมาณ 2547 ได้ผลิตเชื้อเพื่อสนับสนุนงานผลิตเห็ดในศูนย์ฯ ดังนี้ งานผลิตก้อนเชื้อเห็ด 9,950 ก้อน
งานเตรียมเชื้อบริสุทธิ์
ทำอาหารวุ้นทั้งหมด 60 ขวดต่อเชื้อ
– เห็ดนางฟ้า 20 หลอด
– เห็ดนางรม 20 ขวด
– เห็ดหลินจือ 20 ขวด
งานเตรียมหัวเชื้อ รวม 130 ขวด
– เห็ดนางรม 35 ขวด
– เห็ดนางฟ้า 35 ขวด
– เห็ดขอนขาว 20 ขวด
– เห็ดหูหนู 20 ขวด
– เห็ดหลินจือ 20 ขวด
5. งานศึกษาและพัฒนาที่ดิน
5.1 ศึกษาและวิจัยเชิงพัฒนา
1. การศึกษาและสาธิตการใช้แฝกเป็นแถบพืชอนุรักษ์ดินและน้ำ
2. การศึกษาผลกระทบของแถบแฝกที่มีต่อพืชเศรษฐกิจ
3. การศึกผลตอบสนองของการใช้ปุ๋ยในแฝก
4. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของดินระหว่างที่ปลูกเป็นแถบพืชอนุรักษ์
5. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงความชื้นของดินที่ปลูกแฝกในลักษณะต่างๆ
6. การศึกษาความเหมาะสมของขนาดหลุมปลูกต่อการเจริญเติบโตของไม้ผล
5.2 งานวิจัยเชิงบูรณาการ
1. การศึกษาชนิดของเศษวัสดุที่เหมาะในการผลิตปุ๋ยหมัก
2. ศึกษาเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของปุ๋ยหมัก
3. การศึกษาขนาดของเศษวัสดุที่เหมาะสมในการผลิตปุ๋ยหมัก
4. การศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักกับพืชเศรษฐกิจ
5.3 งานสาธิตการใช้ประโยชน์ที่ดิน
1. สาธิตการทำปุ๋ยหมัก
2. สาธิตการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ
3.สาธิตการปลูกกาแฟในพื้นที่ร่มเงา
4. สาธิตการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกาแฟ
5. สาธิตการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่ลาดชัน
6. สาธิตการใช้น้ำปุ๋ยหมักที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกาแฟ
5.4 งานขยายพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
1. งานผลิตและขยายพันธุ์หญ้าแฝก
เป้าหมายของงานขยายพันธุ์หญ้าแฝก เพื่อใช้ในกิจการของศูนย์ฯ สนับสนุนความต้องการของเกษตรกรและหน่วยงานอื่นๆ ที่มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ สามารถผลิตได้ประมาณ 100,000 กล้า
2. การบริการแจกจ่ายกล้าพันธุ์หญ้าแฝก
ได้แจกจ่ายให้หน่วยงานราชการ เกษตรกร และสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ของศูนย์ ฯ ประมาณ 917,678 กล้า จำนวนผู้รับบริการทั้งสิ้น 91 ราย
3. งานบริการวิเคราะห์ดิน
ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรและในแปลงทดสอบภายในฝ่ายศึกษาและพัฒนาที่ดิน นำไปวิเคราะห์ก่อนการปลูกพืช จากแปลงศึกษาและทดสอบ 167 ตัวอย่าง จากแปลงเกษตรกรรวม 143 ตัวอย่าง
6. งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์และโคนม
6.1 ด้านปศุสัตว์
งานโคนม ศึกษา ทดสอบและสาธิตรูปแบบการเลี้ยงโคนมพันธุ์ผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน 47 ตัว ผสมพันธุ์โคนาง การสุขาภิบาลสัตว์ ปี 2547 ได้ผลผลิตน้ำนมเพื่อบริโภคแก่เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศิรินธร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ

6.1.1 งานสัตว์ปีก ศึกษาและสาธิตพันธุ์รูปแบบการลี้ยงโคนมพันธุ์ผสมของการเลี้ยงสัตว?ปีกชนิดต่างๆ ได้แก่ ไก่พื้นเมือง ไก่ลูกผสมสามสายเลือด เป็ดเทศ เพื่อเป็นอาชีพและเสริมรายได้ ปี 2547 ได้ส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแก่เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ เกษตรกรในพื้นที่ป่าขุนแม่กวงฯ
6.1.2 สัตว์เล็ก (สุกร) ศึกษาและสาธิตพันธุ์ รูปแบบของการเลี้ยงสุกรที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายย่อย ปี 2547 ได้ส่งเสริมการเลี้ยงสุกรลูกผสมเหมยซาน ให้กับเกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ
6.2 ด้านพืชอาหารสัตว์
6.2.1 ศึกษาทดสอบพืชอาหารสัตว์เกี่ยวกับการใช้วัสดุบำรุงดิน โดยการกำจัดวัชพืชใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยยูเรียให้น้ำแปลงหญ้าลี้ยงสัตว์
6.2.2 ศึกษาทดสอบพืชอาหารสัตว์ ด้านการให้ผลผลิต โดยการเก็บเกี่ยวหญ้าสดใช้เลี้ยงโคนม ตัดต้นข้าวโพดใช้เลี้ยงโค ทำฟางหมักเลี้ยงโคในช่วงฤดูแล้ง
6.3 กิจกรรมงานส่งเสริมเกษตรกร
6.3.1 ตรวจเยี่ยมติดตามผลความก้าวหน้าของเกษตรกรโครงการส่งเสริม สัตว์ปีก สัตว์เล็ก ในพื้นที่หมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ฯ พื้นที่ใกล้เคียง และเขตพื้นที่ป่าขุนแม่กวง
6.3.2 ตรวจเยี่ยมติดตามผลความก้าวหน้าโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และโครงการเกษตรผสมผสานของศูนย์ฯ
6.3.3 ตรวจเยี่ยมเกษตรกรติดตามผลความก้าวหน้า โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรเหมยซานในพื้นที่ศูนย์ฯ และศูนย์สาขา (ป่าขุนแม่กวง)
6.3.4 ตรวจเยี่ยมเกษตรกรติดตามผลความก้าวหน้า โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคขุนในพื้นที่สูง และศูนย์สาขา (ป่าขุนแม่กวง) ตรวจเยี่ยมเกษตรกรกล่มผู้เลี้ยงโคพ่อพันธุ์ขาวลำพูน ต.แม่โป่ง ต.แม่ฮ้อยเงิน และต.ห้วยแก้ว
7. งานศึกษาและพัฒนาการประมง
ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2547 ดังนี้
7.1 ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืด
ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้อยฮ่องไคร้ สามารถผลิตพันธุ์สัตว์น้ำได้ 13 ชนิด ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ ปลาดุกอุยเทศ ปลากาดำ ปลาสวาย ปลาไนปลากดหลวง ปลาบึก ปลาตะเพียนทอง ปลานิลแดง ปลาแรด และกุ้งก้ามกลาม จำนวนทั้งสิ้น 502,219 ตัว
7.2 กิจกรรมภายในศูนย์
ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำได้แก่ ปลานิล ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ กุ้งก้ามกลาม ปลาสวาย ปลาตะเพียนทอง ปลานิลแดง และปลาม้า จำนวนทั้งสิ้น 336,019 ตัว
1. บริหารการประมงในอ่างเก็บน้ำ รวม 1 แห่ง
2. สาธิตการเลี้ยงปลาในกระชัง รวม 1 แห่ง
3. งานวิจัยและทดลอง
– การเพาะและอนุบาลปลานิลในกระชังและอ่างเก็บน้ำ
– ศึกษาการเลี้ยงปลากดหลวงในบ่อซีเมนต์น้ำไหล
– การเลี้ยงปลากดหลวงในกระชังในอ่างเก็บน้ำ
– การสำรวจชนิดสัตว์น้ำในลำน้ำสาขา ภายในเขตโครงการศูนย์ห้อยฮ่องไคร้ฯ
4. งานสาธิตทางด้านงานประมง
– การเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์กลม โดยใช้ระบบน้ำไหลผ่าน 1แห่ง
– การเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ 1 แห่ง
– การเลี้ยงปลาในกระชังในอ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง
7.3 กิจกรรมภายนอกศูนย์ฯ
– ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำสาธรณะประจำหมู่บ้าน รวม 8 แห่งในเขตพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ หมู่บ้านขยายผลใหม่ พื้นที่ศูนย์สาขาเขตป่าขุนแม่กวงฯ จำนวนทั้งสิ้น 350,000 ตัว
– แจกจ่ายพันธุ์สัตว์น้ำให้กับเกษตรกรหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ฯ และเกษตรกรในพื้นที่ป่าขุนแม่กวงฯ ได้แก่ปลานิล ปลานิลแปลงเพศ ปลาไน ปลานวลจันทร์เทศ และปลานิลแดง จำนวนทั้งสิ้น 166,200 ตัว
8. งานอนุรักษ์และพัฒนาอาชีพเพาะเลี้ยงกบ
ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2547 ดังนี้
8.1 งานเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์กบชนิดต่างๆ ดำเนินการจัดเตรียม คัดเลือกปรับปรุงพันธุ์กบ ขนาดต่างๆ ดังนี้
– คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์กบนา จำนวน 3,000 ตัว
– ขยายพันธุ์และผลิตลูกพันธุ์กบนา จำนวน 120,000 ตัว
– ขยายพันธุ์และผลิตลูกพันธุ์กบบลูฟร๊อก จำนวน 100,000 ตัว
8.2 งานศึกษาวิจัยและทดลอง
– ศึกษาจุลินทรีย์ในดิน (อยู่ระหว่างดำเนินการเก็บข้อมูล)
8.3 งานคืนกบนาสู่ธรรมชาติ ดำเนินการแล้ว 1,500 ตัว
8.4 งานสนับสนุนพันธุ์กบสู่เกษตร ดำเนินงานในปี 2547 จำนวน 218 ราย
9. การดำเนินงานหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์
9.1 งานส่งเสริมอาชีพการเกษตร
1) ส่งเสริมการเลี้ยงปลา จำนวน 166 ราย
– ส่งเสริมการเลี้ยงปลาน้ำจืดทั่วไป จำนวน 166 ราย เกษตรกรหมู่ที่ 1,2,3,4,5, 6,7,8,9,10 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 1,2,5 ต.แม่ฮ้อยเงิน หมู่ที่ 6 ต.ห้วยแก้ว หมู่ที่ 2 ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด หมู่ที่ 1 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ได้แจกจ่ายพันธุ์ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลากดหลวง ปลานิลดำ และปลานิลแดง เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน
– ส่งเสริมการเลี้ยงปลาในแหล่งน้ำ 7 แห่ง
– ส่งเสริมการเลี้ยงปลาในโรงเรียน จำนวน 7 แห่ง หมู่ที่ 1,2,4, ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 1
ต.เชิงดอย (2 โรง) หมู่ที่ 1 ต.แม่ฮ้อยเงิน หมู่ที่ 2 ต.ป่าป้อง ได้แจกจ่ายพันธุ์ปลาดุกรายละ 2,000 ตัว
– ประมงหมู่บ้าน 4 แห่ง หมู่ที่ 1 ต.แม่โป่ง (2 แห่ง) หมู่ที่ 8 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 2 ต.แม่ฮ้อยเงิน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
– ส่งเสริมประมงน้ำไหล จำนวน 40 ราย เกษตรกรหมู่ที่ 2 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
2) ส่งเสริมการเพาะเห็ด 2 โรง หมู่ที่ 10 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 1 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด
จ.เชียงใหม่
3) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพาะเลี้ยงกบ จำนวน 159 ราย เกษตรกรหมู่ที่ 1-10 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 1,2,5 ต.แม่ฮ้อยเงิน หมู่ที่ 1 ต.เชิงดอย หมู่ที่ 2 ต.ป่าป้อง หมู่ที่ 4,6,7 ต.ห้วยแก้ว กิ่งอ.แม่ออน
จ.เชียงใหม่ ได้สนับสนุนลูกอ๊อดกบนา ลูกอ๊อดบลูฟร๊อก และให้แลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ปัจจุบันอยู่ในช่วงการดูแลและจำหน่ายไปบางส่วน
4) โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอกสารพิษ จำนวน 3 ราย เกษตรกรหมู่ที่ 1 ต.แม่ฮ้อยเงิน หมู่ที่ 1,3 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เห็ด 2 โรง ลำไย 80 ราย ส้มโอ 43 ราย โครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน จำนวน 82 ราย
– เกษตรกรหมู่ที่ 1-10 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 1,2,5 ต.แม่ฮ้อยเงิน หมู่ที่ 1 ต.เชิงดอย หมู่ที่2 ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ หมู่ที่ 4,6,7 ต.ห้วยแก้ว กิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
5) โครงการแปลงสาธิตการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่ จำนวน 4 ราย
– เกษตรกรหมู่ที่ 1,2,6 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 1 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
6) โครงการเงินกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรจากสาธารณะประชาชนจีนจำนวน 12 ราย
– เกษตรกรหมู่ที่ 1,2,5 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 4,7 ต.ห้วยแก้ว กิ่ง อ.แม่ออน หมู่ที่ 2
ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
7) ส่งเสริมการเลี้ยงสุกรขุน จำนวน 50 ราย เกษตรกรหมู่ที่ 1 – 10 ต.แม่โป่ง และ 1,2,5 ต.แม่ฮ้อยเงิน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ได้สนับสนุนสุกรขุน รายละ 2 ตัว ปัจจุบันอยู่ในช่วงเลี้ยงดู
8) ส่งเสริมการเลี้ยงโคขาวลำพูน จำนวน 27 ราย เกษตรกรหมู่ที่ 3 , 10 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 5 ต. แม่ฮ้อยเงิน หมู่ที่ 1 ต.เชิงดอย หมู่ที่ 2 ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ได้สนับสนุนโคเนื้อลูกผสม รายละ 2 ตัว ปัจจุบันอยู่ในช่วงเลี้ยงดู
9) ส่งเสริมการเลี้ยงโคพื้นเมือง 6 ราย หมู่ที่ 9 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 1 ต.เชิงดอย หมู่ที่ 5
ต.แม่ฮ้อยเงิน
10) ส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเทศ 21 ราย หมู่ที่ 1,2,5 ต.แม่ฮ้อยเงิน หมู่ที่ 4,6,9 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 4,6 ต.ห้วยแก้ว
11) ส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง 78 ราย หมู่ที่ 1- 10 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 1,2,5 ต.แม่ฮ้อยเงิน หมู่ที่ 4 ต.ห้วยแก้ว
12) ส่งเสริมการเลี้ยงหมู่ป่า จำนวน 32 ราย เกษตรกรจากหมู่ที่ 2,3,9,10 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 5 ต.แม่ฮ้อยเงิน
9.2 งานส่งเสริมอาชีพนอกการเกษตร
1) ส่งเสริมการแปรรูปและถนอมอาหารกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 356 ราย
– ราษฎรหมู่ที่ 1,3,6,7,9,10 ต.แม่โป่ง หมู่ที่ 1,5 ต.แม่ฮ้อยเงิน หมู่ที่ 2 ต.ป่าป้อง หมู่ที่ 1 ต.เชิงดอย หมู่ที่ 4,6,7 ต.ห้วยแก้ว กิ่ง อ.แม่ออนจ.เชียงใหม่
2) ก่อสร้างฝายต้นน้ำ ลำธารเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 249 ฝาย
– หมู่ที่ 1 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 40 ฝาย
– หมู่ที่ 3 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 30 ฝาย
– หมู่ที่ 6 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 40 ฝาย
– หมู่ที่ 7 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 100 ฝาย
– หมู่ที่ 10 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 25 ฝาย
– หมู่ที่ 1 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 14 ฝาย
3) ส่งเสริมการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง จำนวน 300 ไร่
– หมู่ที่ 1 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 50 ไร่
– หมู่ที่ 3 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 50 ไร่
– หมู่ที่ 6 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 50 ไร่
– หมู่ที่ 7 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 50 ไร่
– หมู่ที่ 2 ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ จำนวน 50 ไร่
– หมู่ที่ 4 ต.ห้วยแก้ว กิ่ง อ.แม่ออนจ.เชียงใหม่ จำนวน 50 ไร่
9.3 งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 21 หลักสูตร รวม 2,747 คน
1. หลักสูตรการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่
2 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 60 คน
2. หลักสูตรการพัฒนาอาชีพการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ
4 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 73 คน

3. หลักสูตรการเลี้ยงกบ
7 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 280 คน
4. หลักสูตรการเลี้ยงสุกร (ลูกผสมเหมยซาน)
1 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 30 คน
5. หลักสูตรการเลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่พื้นเมือง)
3 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 110 คน
6. หลักสูตรการเลี้ยงโคขุน (พันธุ์พื้นเมือง)
2 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 30 คน
7. หลักสูตรการเลี้ยงโคขาวลำพูน
2 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 30 คน
8. หลักสูตรการเพาะเลี้ยงปลา
5 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 309 คน
9. หลักสูตรการเลี้ยงปลากดหลวง
4 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 240 คน
10. หลักสูตรการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ
4 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 110 คน
11. หลักสูตรผักปลอดสารพิษ
1 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 20 คน
12. หลักสูตรแปรรูปถนอมอาหารกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรม
15 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 437 คน
13. หลักสูตรโรคกบ และการป้องกันรักษาโรค
5 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 137 คน
14. หลักสูตรการขยายพันธุ์กบ โดยวิธีกระตุ้นด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์
4 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 170 คน
15. หลักสูตรการแปรรูปสมุนไพรกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
8 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 120 คน
16. หลักสูตรการทำบัญชีเบื้องต้น และบัญชีฟาร์ม
1 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 30 คน
17. หลักสูตรให้การศึกษารวมกลุ่มอาชีพ การเพิ่มศักยภาพเพื่อพัมนาผู้ประกอบอาชีพ
1 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 38 คน
18. หลักสูตรฝายต้นน้ำเพื่อการอนุรัก์และพัฒนาที่ยั่งยืน
1 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 135 คน
19. หลักสูตรไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 ประการ : คน อยู่กับป่าอย่างเกื้อกูล
3 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 135 คน
20. หลักสูตรการจัดการลุ่มน้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
3 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 195 คน
21. หลักสูตรการเพาะเลี้ยงสัตว์เสริมสร้างอาชีพ (หมูป่า)
2 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรม 58 คน
9.4 งานฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา รวม 14 สถาบัน 24 คณะ รวม 251 คน
1. มหาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ จำนวน 22 คน
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
จำนวน 2 คน
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
จำนวน 82 คน
4. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
จำนวน 21 คน
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.กรุงเทพ
จำนวน 11 คน
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อ.เมือง จ.ลำปาง
จำนวน 12 คน
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม จ.กรุงเทพ
จำนวน 24 คน
8. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเกษตรลำปาง จ. ลำปาง
จำนวน 21 คน
9. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์
จำนวน 6 คน
10. มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศ จ.พะเยา
จำนวน 10 คน
11. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จ.กรุงเทพ
จำนวน 35 คน
12. วิทยาลัยพาณิชยการลานนาเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
จำนวน 1 คน

13. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จ.เชียงราย
จำนวน 2 คน
14. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพ
จำนวน 21 คน

หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานโครงการ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ
นายประดับ กลัดเข็มเพชร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้อยฮ่องไคร้ โทร./โทรสาร. 0-5324-8483, 053-389163