แม่แตง 2018-06-18T19:21:23+00:00

Project Description

สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด

ความเป็นมา

maetang 26

        บ้านแม่หลอดเดิมเป็นชุมชนขนาดเล็กมีเพียงชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ก่อนต่อมาคนเมืองได้ย้ายถิ่นฐานขึ้นมาอยู่เพิ่ม ทำให้ชุมชนมีขนาดใหญ่มากขึ้น ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำนา ทำไร่ สวนชาเมี่ยง และต่อมาราษฎรได้รับการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟปลูกกาแฟอะราบิกา โดยมีหน่วยงาน ของคริสตจักรและกรมประชาสงเคราะห์นำกาแฟอะราบิกาสายพันธุ์ แคททูราและสายพันธุ์ทิปิก้า มาให้ปลูกในระยะต่อมาเกิดการระบาดของโรคในกาแฟอะราบิกา ราษฎรได้มีการแจ้งให้ อ.สุนันท์ ละอองศรี ทราบและให้ขึ้นมาสำรวจและทำการช่วยเหลือ ซึ่งในขณะนั้นได้จัดรายการวิทยุกระจายเสียง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยุ มก.) ที่ตั้งอยู่ใน สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ จ.เชียงใหม่
        ในปี พ.ศ. 2517 กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) มอบงบประมาณเพื่อศึกษาค้นคว้าและวิจัยหาพันธุ์กาแฟอะราบิกาที่ต้านทานต่อโรคราสนิม โดยมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการ  โดยโครงการหลวง ได้รับเมล็ดกาแฟอะราบิกาลูกผสมชั่วที่ 2 จำนวน 26 รหัสคู่ผสมจากศูนย์วิจัยโรคราสนิมของโปรตุเกส ที่ได้ผสมขึ้นมาเพื่อให้มีความต้านทานโรคราสนิม กลุ่มนักวิชาการ นำโดยนายสุนันท์  ละอองศรี (ผู้ตรวจการเกษตรภาคเหนือในขณะนั้น) เป็นหัวหน้ากลุ่ม ได้ผสานงานนักวิชาการในแต่ละกองและสถาบันที่เกี่ยวข้องดำเนินงานวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยใช้สถานีทดลองพืชไร่ แม่โจ้ จ. เชียงใหม่เป็นแหล่งเพาะเมล็ดพันธุ์และผลิตกล้ากาแฟพันธุ์ดีหลากหลายสายพันธุ์ สถานที่ปลูกทำการวิจัย ประกอบด้วยหมู่บ้านแม้วหนองหอย 
บ้านแม่สาใหม่ อ.แม่ริม บ้านขุนช่างเคี่ยน size A และ บ้านกระเหรี่ยงบ้านแม่หลอด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
         ในปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จในพิธีรับมอบพื้นที่โครงการหลวงขุนวาง ให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้ขุนวางเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์กาแฟอะราบิกา ที่โครงการหลวงมีอยู่ที่บ้านแม่หลอด
อ.แม่แตง เชียงใหม่และกล้ากาแฟส่วนหนึ่งนำไปปลูกเป็นแปลงสาธิตที่บ้านปางปง  ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด ปลายปี พ.ศ. 2523 เป็นการสิ้นสุดการสนับสนุนงานวิจัยจาก กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา กลุ่มนักวิชาการที่เหลือ ได้แก่ นักวิชาการโรคพืช และนักกีฎวิทยาของกรมวิชาการเกษตร ยังได้ทำการทดสอบสายพันธุ์ต้านทานโรคราสนิมโดยเน้นแปลงรวบรวมสายพันธุ์ต้านทานโรคราสนิมที่บ้านแม่หลอด อ.แม่แตง จ. เชียงใหม่อย่างต่อเนือง
          ในปี พ.ศ. 2525 กรมวิชาการเกษตร โดยนายอาภรณ์ ธรรมเขต นักวิชาการโรคพืชและคณะได้นำสายพันธุ์กาแฟหลากหลายสายพันธุ์ ที่ผ่านการตรวจสอบความต้านทานโรคราสนิมจากห้องปฏิบัติการแล้ว ในชื่อ “สายพันธุ์คอติเมอร์” (Catimor) แพร่กระจายออกไปยังแหล่งปลูกต่างๆในภาคเหนือเช่นที่สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จ.เชียงราย สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จ.ตาก บ้านป่าเมื่ยงและบ้านตีนตก จ. เชียงใหม่

วัตถุประสงค์

          เพื่อการส่งเสรอมอาชีพเกษตรกรให้แก่ประชาชน

หลักการและแนวคิด

         การดำเนินงานในระยะ 5 ปีต่อไป (พ.ศ. 2560-2564) สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอดจะอาศัยกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนี้

  1. พัฒนาชุมชนโครงการหลวงแม่หลอดบนฐานความรู้ ที่เหมาะสมและมีความเป็นมิตรและเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
  2. น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ และเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน
  3. บริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดผลผลิตของเกษตรกร โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ค้า ตลอดจนผู้บริโภค
  4. ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างเหมาะสมกับสภาพที่ดินของเกษตรกร รวมถึงการพัฒนาระบบการใช้น้ำอย่างประหยัด และการเก็บกักน้ำในระดับไร่นาเกษตรกร
  5. เร่งรัดการปลูกป่าชาวบ้าน การฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร และควบคุมเขตที่ควบคุมเขตการใช้ที่ดินทำกินและพื้นที่ป่าไม้
  6. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทุกระดับ ทุกมิติ รวมถึงเยาวชน แม่บ้าน ตลอดจนผู้สนใจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  7. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร และบูรณาการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลาง ท้องถิ่น และภาคเอกชน

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน     

สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด
ที่ตั้ง : 91 หมู่ที่ 10 ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

การดำเนินงาน

กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ)

การจัดทำกลยุทธ์การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอด ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) ได้จำทำภายใต้กรอบของแผนแม่บทศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564)โดยมีแผนปฏิบัติงานดังนี้

1) แผนการพัฒนาการเกษตรภายใต้ระบบอาหารปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เน้นการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร โดยปลูกพืชและสัตว์ให้เหมาะสมต่อระบบนิเวศน์เกษตรพร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต ภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ การปลูกพืชภายใต้ระบบการใช้น้ำน้อย และส่งเสริมอาชีพนอกภาคการเกษตร เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูงควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมีแนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้

         1.1 การพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอดมีแนวทางการดำเนินงานภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูกพืชที่เหมาะสมกับภูมินิเวศน์และมีกระบวนการปฏิบัติงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การจัดทำแปลงทดสอบองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากงานวิจัย และการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพภาคการเกษตร ดังนี้

1) การจัดทำแปลงทดสอบองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย จำนวน 34 ชนิด 34พันธุ์ ในพื้นที่ทดสอบ 40ไร่/12 โรงเรือน

2) การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพภาคการเกษตร ส่งเสริมการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ได้แก่ ไม้ผล พืชผัก ชา กาแฟ พืชไร่ และเลี้ยวสัตว์ จำนวน 28 ชนิด มีการการส่งเสริมเกษตรกรเพิ่มเติมจากเดิม 20  ครัวเรือน เป็น 245ครัวเรือน ในพื้นที่340 ไร่ดังนี้

         1.2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการแปรรูปผลผลิต

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอดมีแนวทางปฏิบัติงานในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตลอดห่วงโซ่การผลิตและการตลาด โดยการพัฒนาความเข้มแข็งของระบบการวางแผนการผลิตการประมาณการผลผลิตและการจำหน่ายสินค้าให้มีประสิทธิภาพ 

         1.3 การส่งเสริมการประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรและการท่องเที่ยว

มุ่งอนุรักษ์และฟื้นฟูงานหัตถกรรมชนเผ่าบนพื้นที่สูง โดยการส่งเสริมการฟื้นฟูหัตถกรรมท้องถิ่นและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมถึงส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกร 

2) แผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

เน้นการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง ภายใต้บริบทของชุมชน โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในระดับชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

          2.1 การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

มุ่งพัฒนาความเข็มแข็งขององค์กรชุมชนไปสู่สถาบันเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด พัฒนาและส่งเสริมการรวมกลุ่มพึ่งพาตนเองของชุมชน และพัฒนาและส่งเสริมด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชนชาวเขา

          2.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการเป็นหุ้นส่วนการปฏิบัติงานของชุมชน

มุ่งส่งเสริมการจัดทำแผนชุมชนเพื่อพึ่งตนเอง โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำแผนชุมชนให้เชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มต่างๆ ในชุมชนไปสู่สถาบันเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน

          2.3 การพัฒนาศักยภาพยุวเกษตรกร

มุ่งพัฒนายุวเกษตรกรโครงการหลวง โดยการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ศูนย์ฯศูนย์ฯให้เป็นเกษตรกรที่ดีในอนาคต สามารถดำรงชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ในปี พ.ศ. 2560-2564 เริ่มจากปี พ.ศ. 2560 มียุวเกษตรโครงการหลวงอยู่ 5 คน และในปี พ.ศ. 2560 เป้าหมายมียุวเกษตรที่ได้รับการอบรมทั้งหมด  15 คน

3) แผนการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เน้นการสนับสนุนการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้านไว้ใช้สอยในครัวเรือนฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินและการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับแผนการใช้ที่ดินรวมทั้งการส่งเสริมและการจัดการระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมการดำเนินงานของภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้

          3.1 การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ

มุ่งส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน ด้วยการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด 

         3.2 การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและความหลากหลายทางชีวภาพ

 มุ่งฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร และส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้านในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯเพื่อให้ชุมชนมีไม้ใช้สอยสำหรับครัวเรือน

         3.3 การสนับสนุนและพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน

มุ่งพัฒนาชุมชนโดยพัฒนาชุมชนต้นแบบคาร์บอนต่ำในระดับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงและชุมชนโดยการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีและเฝ้าระวังการปนเปื้อนมลพิษ

4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

เป็นการสนับสนุนจากหน่วยงานร่วมบูรณาการตามแผนแม่บทศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ระยะ 5 ปี
(พ.ศ. 2560-2564) เน้นการสนับสนุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานพร้อมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบำรุงรักษา โดยมีแนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้

         4.1 การสนับสนุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

มุ่งพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำทางการเกษตรและการอุปโภคบริโภคโดยการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำ ในปี พ.ศ. 2560-2564 ปีละ 3 แห่ง

5) แผนการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

เน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพการพัฒนาให้ศูนย์เป็นศูนย์การเรียนรู้ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของกลไกการพัฒนาระดับพื้นที่และสามารถเชื่อมโยง อำนวยประโยชน์การดำเนินงานได้สะดวก โดยมีแนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้

        5.1 การอำนวยการประสานงานบูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง โดยจัดการประชุมคณะทำงานสนับสนุนโครงการหลวงจำนวน 4 ครั้งต่อปี

        5.2 การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้

มุ่งพัฒนาให้ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอดเป็นศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน (Knowledge Center) ตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง

        5.3 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน

มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 

ผลการดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ
เมื่อทำตามแผนกลยุทธ์ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอด ระยะ 5 ปีแล้ว ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอดจะบรรลุวัตถุประสงค์งานด้านต่างๆ ดังนี้

1) ด้านเศรษฐกิจ

  • เกษตรกรจะได้รับการส่งเสริม จำนวน245 ราย ในพื้นที่340 ไร่ มีรายได้เฉลี่ย48,000 บาท/ปี
  • มีมูลค่าผลผลิตรวม 5,000,000 บาท

2) ด้านสังคม

  • มีชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมและสามารถพัฒนาไปสู่สถาบันเกษตรกรและวิสากิจชุมชน 4  ชุมชน
  • พัฒนาเยาวชนให้เป็นยุวเกษตรโครงการหลวง จำนวน15ราย
  • สนับสนุนกลุ่มสหกรณ์ ให้อยู่ในระดับ A

3) ด้านสิ่งแวดล้อม

  • มีการปลูกป่าชาวบ้านเพิ่มเป็น ปีละ 10ไร่
  • ป่าต้นน้ำลำธารได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง จำนวน 4 หย่อมบ้าน  3,715 ไร่
  • การผลิตปุ๋ยหมัก รวม 90 ตัน

4) ด้านบริหารจัดการ

  • การบริหารจัดการพื้นที่ทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
  • จัดทำฐานข้อมูลให้ครบทุกครัวเรือน
  • เป็นศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

ข้อมูลติดต่อโครงการ

สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด
ที่ตั้ง : 91 หมู่ที่ 10 ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่