ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก 2018-06-18T09:05:16+00:00

Project Description

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก 

ความเป็นมา

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับก่อสร้างศูนย์ฯ ตีนตก ด้วยจำนวนเงิน 300,000 บาท เพื่อจัดตั้งให้เป็นศูนย์พัฒนา สาธิต และส่งเสริมการเพาะเห็ดหอม และการปลูกกาแฟเป็นอาชีพเสริมให้ราษฎรในพื้นที่ นอกเหนือจากการปลูกเมี่ยง พื้นที่รับผิดชอบดำเนินงาน 34.65 ตร.ม. (21,656 ไร่) เป็นพื้นที่ของศูนย์ฯ 52.1 ไร่

ภูมิประเทศเป็นภูเขาที่มีความลาดชันค่อนข้างสูง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 750 – 1,200 เมตร ลักษณะดินเป็นดินร่วมปนทราย มีค่า pH ที่ 5.5อยู่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าดิบเขา และป่าเบญจพรรณ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 15  องศาเซลเซียส  อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 35 องศาเซลเซียส  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,680  มิลลิเมตรต่อปี หมู่บ้านและประชากรประกอบด้วยคนพื้นเมือง ทั้งหมด 1,275 คน คิดเป็น 339 ครัวเรือน ในพื้นที่ 5 หมู่บ้าน  19  หย่อมบ้าน

วัตถุประสงค์
1  เพื่ออบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่เหมาะสม (อย่างน้อยให้มีรายได้พอกิน)
2  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านสังคม การศึกษา สาธารณสุข ความเข้มแข็งของชุมชน
3  เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4  เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ

 

 

ที่มา : http://royalprojectthailand.com/teentok

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน     

หมู่ที่ 8 บ้านธารทอง (ป๊อกปางผึ้ง) ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ (M.8 Pangpueng Village, Huaykaew, Mae-on)
เทศบาลนครเชียงใหม่ 
 
การเดินทาง
-เส้นทางที่ 1 (ทางขึ้นเขาคดเคี้ยว) จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 118 มุ่งหน้าไปจังหวัดเชียงราย ถึง กม. 27 ให้เลี้ยวขวาแล้วขับตรงไปผ่านบ้านโป่งกุ่ม บ้านแม่เตาดิน ถึงแยกเข้าบ้านธารทองให้เลี้ยวซ้าย มุ่งหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ระยะทางประมาณ 43 กิโลเมตร
-เส้นทางที่ 2 (ทางตรง) จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางสายดอนจั่น-อำเภอแม่ออน ผ่านน้ำพุร้อนสันกำแพงตรงไปประมาณ 14 กิโลเมตร รวมระยะทาง 55 กิโลเมตร สามารถใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท (ไม่มีบริการรถยนต์รับจ้าง) สภาพเส้นทางเป็นถนนลาดยางสามารถเดินทางได้ตลอดทั้งปี และเส้นทางนี้ยังเชื่อมผ่านไปยังอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จำหวัดลำปางได้
map_teentok_01
ที่มา : http://royalprojectthailand.com/teentok

การดำเนินงาน

งานทดสอบและสาธิตการปลูกพืช   งานกาแฟ  พื้นที่ดำเนินการทั้งหมด 4 ไร่ และได้ดำเนินการเพาะกล้าเตรียมรองรับให้เกษตรกรนำไปปลูกซ่อมแซมต้นเก่า และปลูกแปลงใหม่ เป็นการทำกาแฟอินทรีย์งานไม้กระถาง  เพาะไม้กระถางไว้จำหน่ายภายในศูนย์ฯ เช่น บิโกเนีย กล้วยไม้ ลิปสติก หน้าวัวกระถาง มังกรคาบแก้ว ปีกผีเสื้อ และไม้กระถางอื่น ๆ
วานิลลา  ปัจจุบันทางศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ได้ดำเนินการปรับปรุงโรงเรือนเดิมที่มีอยู่ ให้มีขนาดกว้างขึ้น เพื่อรองรับต้นกล้าพันธุ์ที่นำมาปลูกเพื่อสาธิตและขยายพันธุ์ให้เกษตรกร ขนาดโรงเรือนที่ปรับใหม่ ขนาด 12 x 48 เมตร มีอยู่ทั้งหมด 4 ระดับ ตามสภาพพื้นที่ สามารถปลูกวานิลลาได้ทั้งหมด 350 ต้น มีอายุตั้งแต่ 1-5 ปี
เห็ดหอม  ทางศูนย์ฯ ได้ปรับเปลี่ยนจากการเพาะท่อนไม้มาเพาะเป็นถุง เนื่องจากปัญหาการหมักหมมของเชื้อราเขียว – ราดำ ที่เข้าไปทำลายท่อนเห็ด โดยได้รับงบประมาณจากงานเห็ดส่วนกลางของมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อก่อสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด และนำก้อนเชื้อเห็ดหอมมาไว้ในโรงเรือนแล้ว
ไม้ผล  ภายในศูนย์ฯ ได้มีการสาธิตไม้ผลหลากหลายชนิด เช่น บ๊วย ลองกอง แก้วมังกร และเสาวรส

ผลการดำเนินงาน

 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ได้ดำเนินการซื้อผลผลิตกาแฟทั้งผลสดและกาแฟกะลาทั้งหมด 39,000 กิโลกรัม เงินคืนเกษตรกรทั้งหมด 3,315,000 บาท ส่งเสริมปลูกพืชผัก 9 ชนิด เกษตรกรเข้าร่วม 20 ราย ผลผลิตจำนวน 55,499 กิโลกรัม เงินคืนเกษตรกรทั้งหมด 711,025 บาท ส่งเสริมการปลูกพลับ ผลผลิตจำนวน 2,997 กิโลกรัม เงินคืนเกษตรกร 59,751 บาท
            นอกจากงานภาคเกษตรแล้วทางศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ยังได้ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ หมอนใบชาแก่ทางกลุ่มแม่บ้าน และได้นำสินค้าหัตถกรรมส่งให้แก่งานหัตถกรรมโครงการหลวงเพื่อจำหน่ายในงานต่าง ๆ ในปี 2552 นี้ ได้ส่งผลิตภัณฑ์หมอนใบชาทั้งหมด 879 ชิ้น รวมเงินคืนเกษตรกรทั้งหมด 37,510 บาท ด้านการท่องเที่ยว หมู่บ้านแม่กำปอง มีนักท่องเที่ยวเข้าพักและเยี่ยมชมรวมเป็น ชาวไทย จำนวน 3,499 คน ชาวต่างชาติ 13,269 คน รวมทั้งหมด 16,768 คน คิดเป็นรายได้ 2,358,560 บาท นักท่องเที่ยวที่เข้าพักภายในศูนย์ 286 คณะ 2,401 คน

 

ที่มา : http://royalprojectthailand.com/teentok

หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานโครงการ

เวลาทำการสโมสร 07.00-20.00 น. 
 จองบ้านพักโทรศัพท์ เบอร์ 093-1467726 และ 096-6041377