สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ ดอยแบแล
# | ชื่อแผนงานโครงการ | ประจำปี | ความคืบหน้า |
---|---|---|---|
1 |
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ ดอยแบแล
งบประมาณ : 0 บาท |
2545 |
|
การใช้งบประมาณ
ความคืบหน้าโดยรวม
ที่ตั้ง
ความเป็นมา:
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2545 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ พระราชดำเนิน ไปทอดพระเนตรพื้นที่ป่าไม้ตำบลอมก๋อย อำเภอสบโขง จังหวัดเชียงใหม่ ทรงพบว่าพื้นที่ป่าบริเวณดอยแบแล พิกัด MV 286614 ถูกบุกรุกแผ้วถาง เป็นบริเวณกว้าง เป็นจำนวนนับพันไร่ และมีแนวโน้มว่าจะมีการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าปล่อยไว้ เช่นนี้ แหล่งต้นน้ำบริเวณ ห้วยอมแฮด, ห้วยแม่หลอง, ห้วยแบแล, ห้วยแม่ตื่น, ห้วยพะอัน, ห้วยกองซาง และห้วยไคล้นุ่น จะประสบภาวะ แห้งแล้งขาดแคลนน้ำ ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่ราษฎรในพื้นที่อำเภออมก๋อยในอนาคต สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีวินิจฉัยแล้ว ให้จัดตั้งสถานีทดลองเกษตรในพื้นที่สูงขึ้น โดยนำพื้นที่ที่ถูกบุกรุกแผ้วถางแล้วมาจัดทำเป็นแปลงปลูกพืชเมืองหนาวและให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องดังกล่าว เข้ามามีส่วนร่วมในการทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการเกษตร ทั้งนี้ ก็เพื่อหยุดยั้ง มิให้ราษฎรบุกรุกแผ้วถางป่าเพิ่มขึ้นอีกต่อไป
พระราชดำริ/พระราชเสาวนีย์
1. ให้จัดตั้งเป็นสถานีทดลองการเกษตรบนพื้นที่สูง
2. ให้อนุรักษ์กล้วยไม้ในพื้นที่ และจัดระเบียบชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียง
3. ให้เป็นศูนย์การฝึกการดำรงชีพ เพื่อการอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน:
หมู่ที่ 5 ตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
พิกัดที่ตั้ง QMV 287618 ระวางแผนที่ 4644 II ครอบคลุมเนื้อที่ 13,370 ไร่
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านสบอมแฮด อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดกับ บ้านกองซาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านยางใต้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านพะอัน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ของโครงการ:
1 เพื่อทดลองสาธิตปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงทั้งพืชผัก ไม้ดอกและไม้ผลเมืองหนาวให้กับราษฎรในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นเพื่อเป็นแหล่งจ้างงานให้กับราษฎร ในหมู่บ้านใกล้เคียง
2. เพื่อให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อจะได้เรียนรู้ในการทำการเกษตรที่ถูกต้องเหมาะสม ตามหลักของวิชาการเกษตร
3 เพื่อสกัดกั้นการบุกรุกแผ้วถางป่าบริเวณดอยแบแล โดยการจัดระเบียบชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงตลอดจนปรับปรุงระบบนิเวศป่าต้นน้ำ รวมทั้งอนุรักษ์กล้วยไม้ในพื้นที่ให้คงสภาพอุดมสมบูรณ์
เป้าหมายโครงการ:
1. จัดระเบียบชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียงตามแนวทางหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ จำนวน 2 หมู่บ้าน เนื้อที่ 2,300 ไร่
2. จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง และพัฒนาให้เป็นศูนย์ฝึกการดำรงชีพอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน จำนวน 500 ไร่
3. ปรับปรุงระบบนิเวศป่าต้นน้ำ และอนุรักษ์แหล่งกล้วยไม้ในเนื้อที่ 10,570 ไร่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
1.ดำเนินการสนองพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเพื่อให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืนอีกทั้งยังช่วยป้องกัน การบุกรุกการทำลายป่า
2.ราษฎรในโครงการเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีความภูมิใจในความเป็นไทย พร้อมที่จะเป็นยามเฝ้าระวังชายแดน และป้องกันปัญหายาเสพย์ติด อีกทั้งมีทัศนคติที่ดีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่จะเข้ามาส่งเสริม และพัฒนาต่อไป
3.ราษฎรในโครงการ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้จากค่าจ้างแรงงานสถานีฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอ มีการศึกษาที่สูงขึ้น และได้รับการดูแลทางด้านสาธารณสุข ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ธนาคารข้าวพระราชทาน ถนน ประปาภูเขา ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หน่วยงานต่างๆเข้ามาแจกสิ่งของเช่นเสื้อกันหนาว ผ้าห่มทุกปี ฯลฯ
4.สภาพป่าต้นน้ำลำธาร ได้รับการฟื้นฟูให้กับฟื้นคืนความสมบูรณ์ดังเดิม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร รวม 2,127 ไร่ แบ่งเป็น ป่าทั่วไป 157 ไร่ ป่าใช้สอย 175 ไร่ ป่าปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ 1,445 ไร่ และป่าหวาย 350 ไร่ทำให้ชุมชนมีแหล่งไม้ใช้สอยเพิ่มขึ้น เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อน
5.สามารถพัฒนาและดำเนินงานโครงการฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรโดยรวม ทั้งจากราษฎรในโครงการและหน่วยงานภายนอก
ผู้รับผิดชอบ ติดต่อ:
-
ปรับปรุงล่าสุด:
6 ธ.ค. 2567 15:32 น. -