โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูง ดอยอมพาย อนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ตามพระราชดำริ

# ชื่อแผนงานโครงการ ประจำปี ความคืบหน้า
ยังไม่มีรายการในขณะนี้.
การใช้งบประมาณ

ความคืบหน้าโดยรวม

0

ที่ตั้ง
ความเป็นมา:

วันที่  26  มีนาคม  2546   สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามราชกุมาร  เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่ดอยอมพาย  ตำบลปางหินฝน  อำเภอแม่แจ่ม  จังหวัดเชียงใหม่  พิกัด 47 QMA 085336  ทรงพบว่าพื้นที่ป่าดอยอมพาย ได้ถูกแผ้วถางทำไร่เลื่อนลอย อย่างกว้างขวาง เป็นจำนวนมากกว่า 1,000 ไร่ 

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน:

ดอยอมพาย   ตำบลปางหินฝน  อำเภอแม่แจ่ม   จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ:

1. ทำการจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรในพื้นที่สูงดอยอมพาย เพื่อนำพื้นที่ที่ถูกแผ้วถางแล้วมาทำประโยชน์ให้เกิด ผลผลิตสูงสุด  เป็นวิทยาลัยของชาวบ้านและเป็นตัวอย่างของราษฎรที่เข้าร่วมโครงการ
2. ทำการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม ให้กลับคืนสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม  
3. ทำการอนุรักษ์สภาพป่าที่สมบูรณ์    บริเวณพื้นที่ป่าดอยอมพาย     ตำบลปางหินฝน    อำเภอแม่แจ่ม     จังหวัดเชียงใหม่  ให้กลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์ดังเดิม

เป้าหมายโครงการ:

1. จัดตั้งสถานีทดลองเกษตรในพื้นที่สูงดอยอมพาย  โดยใช้พื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถาง จำนวน  500   ไร่                
2. จัดทำฝายกักเก็บน้ำบริเวณลำห้วยแม่ปุ๊  และลำน้ำแม่ปิงน้อย  เพื่อนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรได้อย่างต่เนื่อง
3. ทำการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า      หมู่บ้านสาม    บ้านผักไผ่    บ้านละอางใต้      บ้านแม่และ  บ้านเซโดซาเพื่อให้ราษฎรทั้ง  5  หมู่บ้าน  ได้มีส่วนร่วม  ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า           
4. ทำการฝึกอบรมเกษตรกร และปศุสัตว์  โดยให้ราษฎรที่เข้ามาร่วมโครงการ ฯ ทดลองทำการเกษตรผสมผสาน ครอบครัวละ  2  ไร่  ให้ใช้ที่ดินจำกัดให้เกิดผลผลิตพอเลี้ยงตนเองได้  เรียนรู้การทำการเกษตรปลอดสารเคมี และยาฆ่าแมลง การทำปุ๋ยชีวภาพขึ้นใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต  เรียนรู้การจัดการและการตลาด  การรวม กลุ่มในรูปของสหกรณ์  เพื่อไม่ให้ผลผลิตถูกกดราคา  การแปรรูปผลผลิตการเกษตรให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเก็บผลผลิตให้ได้นานและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
5. ช่วยให้ราษฎรมีงานทำ  มีรายได้  เป็นการช่วยสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ปัญหาความยากจน   การว่างงาน กระจายรายได้ไปสู่ชนบท    ช่วยให้ราษฎรที่อยู่ใต้เส้นระดับยากจนให้มีรายได้สูงขึ้น เป็นการให้โอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาสได้พัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้น โดยตั้งเป้าหมายว่าในปีแรกของโครงการฯ  ต้องให้ทุก ครอบครัว  มีรายได้สูงกว่าระดับเส้นยากจน   (12,000  บาท/คน/ปี)   และเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20 ในปีต่อ ๆ ไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:

ช่วยให้ราษฎรมีงานทำ  มีรายได้  เป็นการช่วยสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ปัญหาความยากจน     การว่างงาน กระจายรายได้ไปสู่ชนบท    ช่วยให้ราษฎรที่อยู่ใต้เส้นระดับยากจนให้มีรายได้สูงขึ้น     เป็นการให้โอกาสแก่   ผู้ด้อยโอกาสได้พัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้น      โดยตั้งเป้าหมายว่าในปีแรกของโครงการฯ   ต้องให้ทุก   ครอบครัว  มีรายได้สูงกว่าระดับเส้นยากจน   (12,000  บาท/คน/ปี)   และเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20  ในปีต่อ ๆ ไป

ผู้รับผิดชอบ ติดต่อ:

-

ปรับปรุงล่าสุด:

30 ม.ค. 2561 14:19 น. -