ฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านแม่ตุงติง บ้านแม่สาบ อำเภอสะเมิง
# | ชื่อแผนงานโครงการ | ประจำปี | ความคืบหน้า | |
---|---|---|---|---|
ยังไม่มีรายการในขณะนี้. |
การใช้งบประมาณ
ความคืบหน้าโดยรวม
ที่ตั้ง
ความเป็นมา:
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรบ้านแม่ตุงติง ตำบล แม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณป่าต้นน้ำของหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2540 ทรงเห็นว่าราษฎรมีความตั้งใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เป็นอย่างดี แต่ยังมีความยากจน เนื่องจากมีอาชีพทำการเกษตรได้ชั่วระยะเวลาสั้น ๆ แล้วก็มีอาชีพเสริมเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ทำไม้กวาดขาย
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ จึงพระราชทานโครงการฟาร์มตัวอย่างให้ โดยมอบหมายให้กองทัพภาคที่ 3 (กองพลพัฒนาที่ 3) เป็นผู้เข้ามาเป็นกองอำนวยการโครงการในเบื้องต้น สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ (ศูนย์ปฏิบัติการโครงการสะเมิงด้านป่าไม้) ช่วยจัดหาพื้นที่จัดตั้งโครงการ ฯ จำนวน 42 ไร่ ประมาณเดือนเมษายน 2540 ดังพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 11 สิงหาคม 2542 “เมื่อชาวบ้านมาให้ข้าพเจ้าช่วยหางานทำเพื่อเขาได้เลี้ยงครอบครัวได้ ข้าพเจ้าก็เลยซื้อและขอที่ดินจากกรมป่าไม้ที่เป็นที่เรียกว่าไม่มีต้นไม้แล้ว มาทำฟาร์มตัวอย่างสอนชาวบ้านให้รู้จักวิธีเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ที่ถูกต้อง สอนให้ชาวบ้านปลูกข้าว ปลูกผัก เพาะเห็ด และลองปลูกหม่อนเลี้ยงไหม”
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน:
ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ตุงติง หมู่ 5 ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ของโครงการ:
- ส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่โครงการมีรายได้เสริมจากการดำเนินการฟาร์มตัวอย่างตามพะราชดำริ
- เป็นแหล่งอาหารให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ
- เป็นแหล่งข้อมูลในการถ่ายทอดกรรมวิธีของกิจกรรมที่ดำเนินการในฟาร์มที่ได้ผลให้กับราษฎรในพื้นที่โครงการฯ เพื่อดำเนินการเอง
- ศึกษาข้อมูลของกรรมวิธีดำเนินการที่ได้ผล โดยเน้นให้ราษฎรสามารถดำเนินการเองได้ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่นให้มากที่สุด
- อนุรักษ์สภาพป่าในพื้นที่ให้คงความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป
เป้าหมายโครงการ:
- พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
- ราษฎรได้เข้ามาศึกษา และฝึกฝนการปฏิบัติงานภายในฟาร์ม ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายได้เสริม ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ต้องเข้าป่าเพื่อหาเลี้ยงชีพอีกต่อไป
- พืชผัก และไข่ไก่เป็ดที่ผลิตขึ้นจะจัดจำหน่ายให้ราษฎรที่มาปฏิบัติงาน และราษฎรหมู่บ้านใกล้เคียงในราคาถูก นับว่าเป็นการเสริมสร้างแหล่งอาหารโปรตีนได้เป็นอย่างดี
- ราษฎรมีความเข้าใจในกรรมวิธีของกิจกรรมต่างๆ บางกิจกรรมมีความเหมาะสมก็นำไปดำเนินการเองได้
- ปัจจุบันราษฎร สามารถดำเนินการเองได้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ปลูกไม้ใช้สอยอเนกประ
ผู้รับผิดชอบ ติดต่อ:
กองทัพภาคที่ 3 (กองพลพัฒนาที่ 3)
ปรับปรุงล่าสุด:
15 มิ.ย. 2561 14:52 น. -