ศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล ตำบลบ้านไร่ (ศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธ์ุดอกไม้ผล บ้านไร่) ตำบลบ้านไร่ อำเภอหางดง
# | ชื่อแผนงานโครงการ | ประจำปี | ความคืบหน้า | |
---|---|---|---|---|
ยังไม่มีรายการในขณะนี้. |
การใช้งบประมาณ
ความคืบหน้าโดยรวม
ที่ตั้ง
ความเป็นมา:
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเมื่อ พ.ศ. 2523และยังไม่มีหน่วยงานใดดำเนินการมาก่อน
- ดำเนินงานมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 แต่มีพระราชดำริใหม่เพิ่มเติม พ.ศ. 2528
- ทรงมีพระราชดำริ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) กับนายพิศิษฐ์ วรอุไร ตำแหน่งอาจารย์และ หัวหน้าศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ฯ คนแรก สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่ พระราชทานพระราชดำริ บ้านโรงวัว ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2527
โดยสรุปประเด็นสำคัญดังนี้ “’งานนี้เป็นประโยชน์ถึงประชาชนอย่างแท้จริงให้ขยายงานไปให้มากและหาคนให้มาช่วยงานเพิ่มขึ้น” พระราชกระแสรับสั่งนี้ พระราชทานหลังจากที่ได้เริ่มงานครั้งแรกโดยรับพระราชทาน พระราชทานทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่อทดลองขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล และได้เริ่มทำแปลงสาธิตในหมู่บ้าน ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาได้ตั้งเป็นโครงการชื่อโครงการว่า “โครงการศูนย์ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล งานสาธิตฝึกอบรม และส่งเสริมอาชีพราษฎรตามพระราชดำริ”
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน:
โครงการนี้ดำเนินงานกับกลุ่มชาวบ้านเป้าหมายในถิ่นทุรกันดาร เพื่อพัฒนาอาชีพด้านไม้ดอกไม้ผล และทำงานวิจัยและพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล ในพื้นที่ต่างๆ
1 สถานีวิจัยและฝึกอบรมหลัก ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ดำเนินการ 33 ไร่
2 สถานีวิจัยและฝึกอบรมย่อย ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านใหม่ดอนชัย หมู่ที่ 8 ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ดำเนินการ 90 ไร่
3 สำนักงานประสานงาน และงานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการ ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4 งานพัฒนาอาชีพเกษตรด้านไม้ดอกไม้ผล ดำเนินงานในพื้นที่ 6 จังหวัด
วัตถุประสงค์ของโครงการ:
1. เพื่อให้มีไม้ดอกไม้ผลพันธุ์ดีกระจายอยูตามหมู่บ้านในชนบท หากมีความต้องการหรือความจำเป็นก็สามารถขยายพันธุ์ออกปลูกเป็นจำนวนมากได้
2. เพื่อช่วยให้ราษฎรมีความสามารถในการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล และอาจผลิตพันธุ์ไม้จำหน่ายเป็นอาชีพรองได้
3. เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้ดอกของไทย
4. เพื่อพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย
5. เพื่อให้มีงานวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์ การขยายพันธุ์ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ผล
เป้าหมายโครงการ:
1. การพัฒนาการผลิตไม้ดอกไม้ผล
2. การพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล
3. การขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และวิธีมาตรฐาน
4. พัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรให้ดีขึ้น
5. ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
6. อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางชีวภาพของประเทศ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
ประโยชน์ทางสังคม
1. ช่วยแก้ไขปัญหาด้านการผลิตไม้ดอกไม้ผลของกลุ่มชาวบ้านเดิมให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น
2. กลุ่มชาวบ้าน(เดิม) ในโครงการสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน
3. รู้จักการทำงานแบบรวมกลุ่ม ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย การทำบัญชี และการพึ่งตนเองในที่สุด
4. ประเทศมีพันธุ์ที่พัฒนาใหม่ และวิธีการผลิตที่เป็นของประเทศเอง
ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม
1. สภาพแวดล้อมได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น
2. การใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ดินและน้ำได้รับการอนุรักษ์มากขึ้น
ประโยชน์ทางด้านจิตวิทยา
1. ราษฎรมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น
2. เป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงของประเทศ
ผู้รับผิดชอบ ติดต่อ:
กรมชลประทาน
ปรับปรุงล่าสุด:
20 เม.ย. 2561 09:44 น. -