พัฒนาพื้นที่สวนบ้านกองแหะ (พัฒนาแหล่งน้ำ) บ้านกองแหะ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม
# | ชื่อแผนงานโครงการ | ประจำปี | ความคืบหน้า |
---|---|---|---|
1 |
การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่
งบประมาณ : 8,200,000 บาท |
2548 |
|
การใช้งบประมาณ
ความคืบหน้าโดยรวม
ที่ตั้ง
ความเป็นมา:
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
21 ธันวาคม พ.ศ. 2544
โครงการพัฒนาพื้นที่สวนบ้านกองแหะอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
พระราชดำริ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ ในพื้นที่สวนบ้านกองแหะ หมู่ที่ 4 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อดำเนินการในลักษณะเป็นคลีนิกเกษตรเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย และเทคโนโลยีการเกษตรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริในรูปแบบของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชน เป็นศูนย์ฝึกอบรม และวิจัยพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2544 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชกระแสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรที่เหมาะสมอย่างยั่งยืน และต่อมาเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณากำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
แนวทางดำเนินงาน
การพัฒนาพื้นที่สวนบ้านกองแหะ กรมพัฒนาที่ดินร่วมกับกรมชลประทานได้ทำการสำรวจข้อมูลด้านกายภาพทั่วไป และแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่
เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ และวางแผนการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับศักยภาพของที่ดินทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเหมาะสมกับเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น ประกอบด้วยแผนการดำเนินงาน 3 แผนงานหลักคือ
1. แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2. แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำ
3. แผนงานพัฒนาพื้นที่และถ่ายทอดเทคโนโลยี
ผลการดำเนินงาน
แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้มีการดำเนินการสำรวจออกแบบผังประธานโครงการแล้วเสร็จ พร้อมทั้งดำเนินการตัดแนวถนนลูกรัง จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 4.06 กิโลเมตร ในส่วนการลาดยางคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2547
ในส่วนงานก่อสร้างรั้วประตูและป้ายทางเข้าหลักหน้าโครงการ งานภูมิสถาปัตยกรรม และงานก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2547 ทั้งนี้ งานรั้วต้นไม้รอบพื้นที่โครงการได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นระยะทาง 11 กิโลเมตร
ก่อนดำเนินการก่อสร้างฝายช้างตาย
ขณะดำเนินการก่อสร้างฝายช้างตาย
แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำ ได้มีการดำเนินการก่อสร้างฝายห้วยสุวรรณ ฝายห้วยช้างตายพร้อมระบบส่งน้ำ สระเก็บน้ำฝายห้วยปางหมีพร้อมระบบส่งน้ำ แห่งที่ 2 และแห่งที่ 3 ขณะนี้ได้ดำเนินการเตรียมงาน เบื้องต้น สำรวจ และวางแผนการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปีงบประมาณ 2547 นอกจากนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างฝายต้นน้ำ (Check Dam) ในลำห้วยต่าง ๆ ในจุดที่เหมาะสม
ก่อนดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำฝายสุวรรณ
ก่อนดำเนินการก่อสร้างฝายสุวรรณ
แผนงานพัฒนาพื้นที่และถ่ายทอดเทคโนโลยี การดำเนินงานตามแผนพัฒนาพื้นที่และถ่ายทอดเทคโนโลยี ในเบื้องต้นได้จัดอบรมเกษตรกร เพื่อทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อสรุปวิเคราะห์ให้ได้แผนชุมชนทุกด้าน และได้จัดส่งให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำโครงการ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกร เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาความรู้ด้านการเกษตรจากการปฏิบัติจริงในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้เกิดทัศนคติในการผลิตพืชลักษณะเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง
นอกจากนั้นได้ดำเนินการรังวัดวางผังแปลงพื้นที่ทำกินในพื้นที่ 60 ไร่ (พื้นที่พัฒนาการเกษตร) และแบ่งแปลงจับฉลากที่ทำกินให้กับเกษตรกร จำนวน 60 ราย
ในพื้นที่พัฒนาการเกษตรได้จัดทำระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปลูกหญ้าแฝก ตามแนวถนนและพื้นที่ส่วนราชการ พื้นที่การเกษตรและบริเวณธนาคารอาหารชุมชน รวม 34.84 กิโลเมตร รวมถึงการปรับปรุงบำรุงดิน โดยการส่งเสริมการปลูกปุ๋ยพืชสด 60 ไร่ ส่งเสริมสาธิตการใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์น้ำให้ราษฎร 60 ราย และสนับสนุนปุ๋ยหมัก 44 ตัน
การส่งเสริมการผลิตและให้ความรู้ในการปลูกและพัฒนาคุณภาพผัก เช่น ชาโยเต้ พริกหวานโดยไม่ใช้ดิน ฟักแม้ว ผักกาดขาว กระหล่ำปลี ถั่วแขก ให้กับราษฎรเพื่อให้สอดคล้องตามโครงการอาหารปลอดภัยและสามารถส่งผลผลิตจำหน่ายให้กับมูลนิธิโครงการหลวง นอกจากนั้นได้อบรมให้สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกพริกหวาน เพื่อให้ทราบขั้นตอนการผลิตพริกหวานอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพสามารถส่งตลาดต่างประเทศได้
การดำเนินงานในเขตพื้นที่ธนาคารอาหารชุมชน ได้ดำเนินการจัดทำแนวกันไฟโดยรอบพื้นที่โครงการ ขนาดกว้าง 16 เมตร มีระยะทาง 18 กิโลเมตร ส่งเสริมและอบรมการ ปลูกป่า ให้ราษฎร 1 รุ่น จำนวน 50 คน จัดสร้างฝายต้นน้ำ (Check Dam) 15 แห่ง และจัดหา กล้าไม้เพื่อใช้ปลูกป่าเปียก ตามแนวลำห้วย ระยะทาง 10 กิโลเมตร ปลูกป่าใช้สอยตามแนวพระราชดำริ ปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง ในพื้นที่ 100 ไร่
ในส่วนงานฝึกอบรมได้ฝึกอบรมหลักสูตรการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืนและป้องกันไฟป่าให้กับราษฎร บ้านกองแหะและหมู่บ้านใกล้เคียง รวม 50 คน ซึ่งทำให้ราษฎรเข้าใจ และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่าในพื้นที่ของตน
แผนที่แสดงที่ตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่สวนบ้านกองแหะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน:
บ้านกองแหะ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม
วัตถุประสงค์ของโครงการ:
-
เป้าหมายโครงการ:
-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
-
ผู้รับผิดชอบ ติดต่อ:
กรมชลประทาน
ปรับปรุงล่าสุด:
24 พ.ค. 2561 14:14 น. -