อนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
# | ชื่อแผนงานโครงการ | ประจำปี | ความคืบหน้า | |
---|---|---|---|---|
ยังไม่มีรายการในขณะนี้. |
การใช้งบประมาณ
ความคืบหน้าโดยรวม
ที่ตั้ง
ความเป็นมา:
ความเป็นมาของโครงการโดยสรุป / พระราชดำริ / พระราชเสาวนีย์
- ความเป็นมาของโครงการโดยสรุป
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2535 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎร บ.ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีฐานะยากจนและสภาพป่ายังคงอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ได้ทรงมีพระราชดำริกับแม่ทัพภาคที่ 3 , ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ , เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และผู้เกี่ยวข้อง เรื่องแนวทางการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ในเขตป่าสงวนแหงชาติป่าสะเมิง ดังนี้
1. การอนุรักษ์สภาพป่า โดยรักษาสภาพป่าที่สมบูรณ์ให้คงอยู่ฟื้นฟูสภาพป่า จัดระเบียบชุมชนให้คนอยู่กับป่า ปลูกป่า ดูแลรักษาป่า ให้ความรู้กับราษฎรในการประกอบอาชีพในพื้นที่ป่าโดยไม่ทำลายป่าในลักษณะ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” โดยทรงเน้นว่า “การปลูกป่าคือการเพิ่มน้ำในดิน” โดยพืชที่ปลูกจะเป็นพืชชนิดใดก็ได้ที่เหมาะสม โตเร็ว ทนทาน สามารถปกคลุมรักษาผิวดินได้
2. ทำการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจกับราษฎรทางสื่อมวลชนทุกประเภทให้ทราบถึงภัยของการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งจะมีผลถึงการทำลายสภาพแวดล้อม แหล่งต้นน้ำลำธาร
3. ขอให้ ทภ. 3,จว.ชม., สำนักงาน กปร., กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรม ราชินีนาถ ร่วมวางแผนดำเนินการอนุรักษ์สภาพป่าไม้ในพื้นที่ปาสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง ตลอดจนการ แก้ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร เรื่องพื้นที่ทำกิน การจัดระเบียบชุมชน การขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อ การบริโภค
โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงก่อกำเนิดขึ้น โดยได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานไว้ 3 แผนงาน คือ
- งานปกป้องคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ
- งานฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
- งานศึกษาวิจัยและพัฒนา
และในปี 2541 โครงการ ฯ ได้รับเงินสนับสนุนการดำเนินงานเพิ่มมาในส่วนของฟาร์มตัวอย่างที่บ้านแม่ตุงติง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
พระราชดำริ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จเยี่ยม ณ บ้านยั้งเมิน ต.ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2535 ทรงมีพระราชดำริ ไว้ดังนี้
1. ดำเนินการรักษาป่าไม้ที่สมบูรณ์ให้คงอยู่ ฟื้นฟูสภาพป่า จัดระเบียบชุมชน ให้คนอยู่ร่วมกับป่า ปลูกป่า ดูแลรักษาป่า ให้ความรู้กับราษฎร ในการประกอบอาชีพในพื้นที่โดยไม่ทำลายป่าไม้ลักษณะ "บ้านเล็กในป่าใหญ่" โดยทรงเน้นว่า "การปลูกป่าคือการเพิ่มน้ำในดิน" โดยพืชที่ปลูกจะเป็นพืชประเภทใดก็ได้ที่เหมาะสม โตเร็ว แข็งแรง ทนทาน สามารถปกคลุมรักษาผิวดินได้
2. ทำการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับราษฎรทางสื่อมวลชนทุกประเภทให้ทราบ ถึงภัยของการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งมีผลถึงการทำลายสภาพแวดล้อม แหล่งต้นน้ำลำธาร
3. ขอให้กองทัพภาคที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสาน งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถร่วมวางแผน ดำเนินการอนุรักษ์สภาพป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติสะเมิง ตลอดจนแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ในเรื่องพื้นที่ทำกินแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคและการจัดระเบียบชุมชน
พระราชดำริ (เพิ่มเติม)
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2540
ณ ป่าต้นน้ำบ้านแม่ตุงติง ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
1. ติดตามงานทอผ้า บ้านงิ้วเฒ่า, บ้านงาแมง ตำบลแม่สาบ
2. หาข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ของราษฎร บ้านโป่งกว๋าว หมู่ที่ 3 ต.สะเมิงเหนือ ที่สละที่ทำกินให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ
3. หาข้อมูลในพื้นที่ บ้านแม่ตุงติง ตำบลแม่สาบ และบริเวณใกล้เคียงว่าสามารถเลี้ยงแกะ, เลี้ยงผึ้งได้หรือไม่
4. เตรียมพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่ บ้านแม่ตุงติง ที่ยังไม่ได้ดำเนินการปลูกป่าทดแทนประมาณ 10 ถึง 20 ไร่ เพื่อที่จะใช้เป็นศูนย์ศึกษาทดลองและสาธิตการเลี้ยงสัตว์ เช่น นกกระทา เป็ดเทศ เป็นต้น
5. จัดตั้งศูนย์อบรมการทอผ้าฝ้าย ที่วัดแม่ตุงติง ตำบลแม่สาบ เพื่อนำสมาชิกทอผ้าฝ้ายมาฝึกอบรม
6. ให้พิจารณาหาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ เพื่อดำเนินการพัฒนาอาชี
เสริมให้แก่ราษฎร
7. ส่งเสริมให้ราษฎรเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพเสริมด้วย
8. ให้เพาะไก่ป่าให้มีมาก ๆ
9. ส่งเสริมสนับสนุนวิทยากรย้อมสีฝ้าย
พระราชดำริ (เพิ่มเติม)
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
ณ วัดแม่ตุงติง ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
1. ให้หาพื้นที่ปลูกหญ้าเลี้ยงแกะขน
2.. สร้างโรงเลี้ยงแกะ
3. ปรับปรุงบ่อปลาโดยอัดให้แน่นสามารถกักเก็บน้ำเลี้ยงปลาได้
4. จัดหาเครื่องมือลับมีดให้กับสมาชิกตีเหล็ก
5. ปรับปรุงโรงตีเหล็ก
6. จัดหาไฟฟ้าเข้าใช้ในโครงการฟาร์มฯ
7. จัดหาเครื่องฟักไข่
8. การให้สัญชาติชายไทยภูเขา
พระราชดำริ (เพิ่มเติม)
เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2542
ณ ฟาร์มตัวอย่าง และวัดแม่ตุงติง ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
1. ให้นำราษฎรฝึกศิลปาชีพ ณ ศูนย์ฝึกอบรมพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จำนวน 18 คน
2. ให้ราษฎรร่วมกันปลูกป่าเพิ่มเติมเพื่อลดปัญหาความแห้งแล้ง และการขาดแคลนน้ำ และให้ราษฎรตระหนักว่าการบุกรุกป่า แม้ว่าจะครอบครองพื้นที่เพิ่มขึ้น แต่ขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก มีพื้นที่มากจึงไม่มีประโยชน์
3. การใช้น้ำในฟาร์มตัวอย่างฯ หากมีปัญหาการใช้น้ำกับราษฎร ให้จัดสรรน้ำแก่ราษฎรก่อน
4. ชาวไทยภูเขา เช่น กะเหรี่ยง ไม่ทำลายป่า และช่วยกันรักษาป่าไม้ ควรให้เขาอยู่ร่วม กับป่าได้
5. การให้สัญชาติชายไทยภูเขา
6. ให้แพร่พันธุ์ เก้ง, กวาง แล้วปล่อยเข้าสู่ป่า
7. ให้ส่งเสริมการเลี้ยงนกกระจาบ ทำนาข้าวให้นกกิน ขยายพันธุ์นกน้ำคือ นกปากซ่อมนกอัญชันให้เพิ่มขึ้น
8. ให้ปลูกป่าเพื่อเพิ่มน้ำในดิน
9. ให้ใช้มูลสัตว์จากฟาร์มตัวอย่างฯ บำรุงพืชผักและผลไม้
10. ให้วิเคราะห์มูลสัตว์ต่าง ๆ
11. ไหมไทยยังมีโอกาสแข่งขันกับต่างประเทศ ขอให้ช่วยกันเร่งรัดการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมให้มาก
พระราชดำริ (เพิ่มเติม)
เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2543
ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านแม่ตุงติง ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
1. ให้จัดเตรียมพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ เพื่อจัดทำสวนนกเป็นแหล่งท่องเที่ยว และ ศึกษาวิจัย
2. ให้ศึกษาการเลี้ยงกระต่ายป่าให้มีความอบอุ่นขึ้น เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้
พระราชดำริ (เพิ่มเติม)
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2544
ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านแม่ตุงติง ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
1. ปลูกป่าให้มากขึ้น น้ำจะได้มีมากขึ้น
2. กรมป่าไม้ดำเนินการ เพาะเลี้ยงไก่ป่าได้ผลดี ควรจะมีการเลี้ยงมาก ๆ ในป่า
3. นกกระจาบก็น่าจะขยายกิจกรรม ทดลองเลี้ยงให้มากขึ้น
4. เมื่อก่อนมีนกปากส้อมมาก ปัจจุบันไม่ค่อยเห็น ควรให้ขยายพันธุ์นกปากส้อมเพิ่ม
5. นกเขาเปล้าเคยพบบ้างไหม ขอให้ขยายพันธุ์เพิ่มด้วย
6. ขยายพันธุ์เก้ง และเนื้อทรายให้มาก และปล่อยสู่ธรรมชาติ
7. ให้ปลูกไม้โมกมันเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้เป็นวัสดุในงานแกะสลัก
พระราชดำริ (เพิ่มเติม)
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2545
ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านแม่ตุงติง ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
“กิจกรรมต่าง ๆ ทำดีแล้ว ทำต่อไป” กิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการมีดังนี้
1. การป้องกันรักษาป่าให้อุดมสมบูรณ์
2. จัดระเบียบชุมชนและพัฒนาให้ความช่วยเหลือราษฎรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3. กิจกรรมปลูกไม้ใช้สอยเอนกประสงค์ เช่น ปลูกหวาย ปลูกไม้โมกมัน
4. กิจกรรมเพาะเลี้ยงไก่ป่าตุ้มหูแดง
5. กิจกรรมเลี้ยงนกต่าง ๆ
ปี 2546 ไม่มีพระราชเสาวนีย์
พระราชดำริ (เพิ่มเติม)
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547
ณ วัดแม่ตุงติงธรรมามิการาม ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
1. ปีนี้ไฟป่าไหม้รุนแรงมาก น่าเป็นห่วง
2. ควรปลูกป่าเพิ่มขึ้นทำให้มีน้ำมากขึ้น
3. ชาหม่อนรับประทานมีประโยชน์ดี
4. ให้ช่วยเหลือราษฎรบ้านป่าเกี๊ยะใน ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง โดยจัดหาพื้นที่ เหมาะสม เพื่อตั้งโครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงต่อไป
ปี 2548 ไม่มีพระราชเสาวนีย์
ปี 2549 ไม่มีพระราชเสาวนีย์
ปี 2550 ไม่มีพระราชเสาวนีย์
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน:
สถานที่ดำเนินการ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบ ด้วย 5 ตำบล ดังนี้ ต.สะเมิงใต้ ต.แม่สาบ ต.สะเมิงเหนือ ต.บ่อแก้ว และ ต.ยั้งเมิน
วัตถุประสงค์ของโครงการ:
1 เพื่อรักษาสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์อยู่ ไม่ให้ถูกทำลายต่อไป ตลอดจนอนุรักษ์สัตว์ป่าและรักษาสภาพแวดล้อม
2 เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายจนเสื่อมโทรมให้คืนสู่สภาพที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยให้มีทั้งป่าธรรมชาติ และไม้ใช้สอย
3 เพื่อให้ราษฎรมีที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง มีการส่งเสริมด้านการเกษตรให้ทำกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดหาแหล่งน้ำ โดยมิให้ตัดไม้ทำลายป่าอีกต่อไป
เป้าหมายโครงการ:
พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
งานปกป้องคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ
- ส่งเสริมกลยุทธ์ 3อ. (อิ่ม อุ่น อุดมการณ์) จำนวน 3 หมู่บ้าน (บ้านแม่ตุงติง , บ้านอังคาย และบ้านห้วยเต่า) , ส่งเสริมงานธนาคารอาหารชุมชน และงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร
งานฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
- ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ, ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ ปีที่ 2 – 6, ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ ปีที่ 7 – 10, บำรุงป่าไม้ใช้สอย, บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 2 - 6 ปี, ปลูกป่าทั่วไป, เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป, เพาะชำกล้าไม้มีค่า, เพาะชำกล้าหวาย , ทำแนวกันไฟ และจัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน
งานบริหารโครงการ
- งานอำนวยการประชาสัมพันธ์ ประสานงานให้ปฏิบัติตามแผนงานจำนวน 1 งาน
- งานศูนย์ปฏิบัติการบ้านแม่ตุงติง เพื่อควบคุม ดูแล สั่งการให้การปฏิบัติงานทุกงาน เป็นไปตามแผน จำนวน 1 งาน
- งานฟาร์มตัวอย่างบ้านแม่ตุงติง จำนวน 1 งาน มีกิจกรรมได้แก่
1. ส่งเสริมการเลี้ยงเก้ง , เนื้อทราย , กระต่าย ไก่ป่าตุ้มหูแดง และพันธุ์นกสวยงาม
2. ส่งเสริมการปลูกไม้ใช้สอยเอนกประสงค์
- งานศูนย์ศิลปาชีพ ได้แก่กลุ่มทอผ้า กลุ่มแกะสลัก กลุ่มจักสาน กลุ่มตีเหล็ก
ผู้รับผิดชอบ ติดต่อ:
-
ปรับปรุงล่าสุด:
23 เม.ย. 2561 14:46 น. -