แผนงานสนับสนุนการพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

# ชื่อแผนงานโครงการ ประจำปี ความคืบหน้า
ยังไม่มีรายการในขณะนี้.
การใช้งบประมาณ

ความคืบหน้าโดยรวม

0

ที่ตั้ง
ความเป็นมา:

1. ด้านพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ 

- จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี 20,453 คน

- จัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นวิทยากรของผู้นำเกษตรกร จำนวน 127 คน

- สนับสนุนกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม จำนวน 44 กลุ่ม

- จัดทำสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 53 เรื่อง

- สนับสนุนการพัฒนาแปลงเรียนรู้ ทดสอบและสาธิตและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 35 แห่ง 146 แปลง/แห่ง ให้มีพร้อมสำหรับการจัดการเรียนรู้

- สนับสนุนกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และเผยแพร่ผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง 22 ครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10,680 คน

- การขอการรับรองแหล่งผลิตและระบบผลิตตามมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พื้นที่โครงการหลวง

1) พืชผัก จำนวน 77 ชนิด ใน 1,822 คน 4,344.84 ไร่ ของ 37 ศูนย์ฯ/สถานีฯ

2) ไม้ผล จำนวน 13 ชนิด ใน 926 คน 1,800.13 ไร่ ของ 34 ศูนย์ฯ/สถานีฯ

3) ชา จำนวน 106 คน 379 ไร่ ของ 7 ศูนย์ฯ/สถานีฯ

4) พืชไร่           จำนวน 1 ชนิด ใน 157 คน 593 ไร่ ของ 16 ศูนย์ฯ/สถานี

พื้นที่สถาบัน

1) พืชผัก จำนวน 40 ชนิด ใน 326 คน 370.75 ไร่ ของ 21 แห่ง

2) ไม้ผล จำนวน 17 ชนิด ใน 376 คน 1,343.12 ไร่ ของ 23 แห่ง

3) ชา จำนวน 2 คน 10 ไร่ ของ 1 แห่ง

4) พืชไร่           จำนวน 1 ชนิด ใน 41 คน 186.25 ไร่ ของ 1 แห่ง

5) กาแฟ          จำนวน 38 คน 270.63 ไร่ ของ 3 แห่ง

6) สมุนไพร       จำนวน 2 ชนิด ใน 6 คน 2 ไร่ ของ 1 แห่ง

  •       การประสานงานเพื่อขอการรับรองโรงคัดบรรจุสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน GMP/HACCP

      2.1 ใบอนุญาตผลิตอาหารจากกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 8 ศูนย์ฯ/สถานีฯ

      2.2 มาตรฐาน GMP/HACCP ของ Codex จำนวน 9 ศูนย์ฯ/สถานีฯ

2. ด้านอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ 

- การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการปลูกป่าชาวบ้านแก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 11 ครั้ง 1,806ราย

  1. จัดประชุมชี้แจง เรื่อง การเตรียมพื้นที่ การปลูก และการดูแลต้นไม้หลังการปลูก โดยเน้นเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรปลูกแปลงเดิม ปี พ.ศ. 2558 และเกษตรกรรายใหม่ ปลูกแปลงใหม่ ปี 2559
  2. จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการจัดการสวนป่าตามหลักวิชาการป่าไม้ (การเพาะขยายพันธุ์กล้าไม้/การลิดกิ่ง/การตัดสางขยายระยะ)
  3. จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการ/ขั้นตอนการใช้ประโยชน์จากไม้ป่าชาวบ้าน (การผลิตถ่าน/การเพาะเห็ดหอมจากท่อนไม้เมเปิลหอม/การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ป่าชาวบ้าน)
  4. จัดสัมมนา เรื่อง เกาลัด...พืชเศรษฐกิจชนิดใหม่บนพื้นที่สูง
  5. ฝึกอบรมสาธิตถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร เรื่อง การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง
  6. ฝึกอบรมสาธิตถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร เรื่อง การทำปุ๋ยหมักจากเปลือกกาแฟ
  7. ฝึกอบรมสาธิตถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร เรื่อง การเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์
  8. ฝึกอบรมสาธิตถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร เรื่อง การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากเศษวัสดุเกษตรเพื่อใช้ปรับปรุงดิน
  9. ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร เรื่องการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อการกำจัดขยะอินทรีย์ ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว 
  10. ฝึกอบรมและสาธิตวิธีการตรวจวิเคราะห์ดินเบื้องต้นด้วยชุดตรวจปริมาณธาตุอาหารในดินแก่เกษตรกร
  • ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมัก 20 ตัน และน้ำหมัก 5,000 ลิตร
  • เก็บและตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ จำนวน 262 ตัวอย่าง และดิน จำนวน 262 ตัวอย่าง รวม 524 ตัวอย่าง 69 พื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลแจ้งให้ชุมชนทราบ ตลอดจนร่วมกันทำกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณภาพดินและแหล่งน้ำ 
  • นำผลผลิตส่งตรวจเพื่อการปริมาณโลหะหนักที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมี ได้แก่ สารหนู (Arsenic:As) แคดเมียม (Cadmium:Cd) และตะกั่ว(Lead:Pb) จำนวน 173 ตัวอย่าง จาก 38 พื้นที่ ผลผลิต ได้แก่ พืชผัก 100 ตัวอย่าง ไม้ผล 35 ตัวอย่าง ชา 7 ตัวอย่าง พืชไร่ 13 ตัวอย่าง และกาแฟ 18 ตัวอย่าง เพื่อใช้เป็นข้อมูลแจ้งให้พื้นที่และชุมชนทราบผลการตกค้างของโลหะหนักในผลผลิต ตลอดจนช่วยกันหาแนวทางป้องกันการปนเปื้อนโลหะหนักในผลผลิต 
  • การลดช่องทางการปนเปื้อนของสารพิษลงสู่สิ่งแวดล้อมจากการใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทสารเคมี โดยรวบรวมภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้แล้วในพื้นที่สถานี/ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 38 พื้นที่ และพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 4 แห่ง เพื่อขนส่ง และทำลายอย่างถูกต้อง จำนวนทั้งหมด 4.45 ตัน

- ชุมชน และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงที่ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อเฝ้าระวังและลดการปนเปื้อนมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่โครงการหลวง จำนวน 25 ครั้ง/1,947 คน

- เกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวงได้รับการตรวจคัดกรองหาสารพิษกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมทในกระแสเลือด จำนวน 5,938 คน มีผลการตรวจคัดกรองโลหิตอยู่ในระดับปกติ 525 คน (ร้อยละ 8.84) ระดับปลอดภัย 1,699 คน (ร้อยละ 28.61) ระดับเสี่ยง 2,346 คน (ร้อยละ 39.51) และระดับไม่ปลอดภัย 1,368 คน (ร้อยละ 23.04) เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเกษตรกรที่ได้รับการตรวจเลือดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 พบว่าแนวโน้มจำนวนเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง (โดยภาพรวม) อยู่ในระดับปกติลดลง 5.81 เปอร์เซ็นต์ ระดับปลอดภัยลดลง 0.94 เปอร์เซ็นต์ ระดับมีความเสี่ยงลดลง 2.81 เปอร์เซ็นต์ และระดับไม่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น 3.87 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังต้องวิเคราะห์ผลการตรวจเกษตรกรเป็นรายบุคคลต่อไปเพื่อจะได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรโดยตรง

- สนับสนุนการผลิตกล้าไม้ให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงที่มีศักยภาพในการผลิตกล้า จำนวน 32 แห่ง จำนวนกล้าที่ผลิตได้ 130,820 ต้น

- ตรวจประเมินการรอดตายของต้นไม้ป่าชาวบ้านในพื้นที่โครงการหลวง 38 แห่ง จำนวนเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมตรวจประเมิน 43 คน พบว่า

  1. แปลงปลูกเดิม ปี 2557 มีอัตราการรอดตายอยู่ระหว่าง ร้อยละ 12.00 - 98.89 (อัตราการ

รอดตายเฉลี่ย 70.36%)

  1. แปลงปลูกใหม่ ปี 2558 ได้สำรวจพื้นที่ปลูกจริงทั้งหมด 258.11 ไร่

- สนับสนุนการดูแลรักษาแปลงปลูกป่าชาวบ้าน (แปลงเดิม) โดยเน้นแปลงปลูก ปี 2558 ของเกษตรกรจำนวน 220 ราย พื้นที่ปลูก 154.27 ไร่ จำนวนต้นไม้ที่ได้รับการดูแล 49,783 ต้น

-  สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้านของเกษตรกรรายใหม่ (แปลงปลูกใหม่ ปี 2559) จำนวน 544 ราย พื้นที่ปลูก487 ไร่ จำนวนต้นไม้ที่ปลูก 161,374 ต้น

- สนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกป่าชาวบ้าน จำนวน 5 กลุ่ม สมาชิกรวมทั้งสิ้น 147 ราย ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากตองก๊อ สมาชิก 10 ราย กลุ่มผู้ปลูกป่าชาวบ้านบ้านนอแล สมาชิก 41 ราย กลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านม่อนเงาะ สมาชิก 12 ราย กลุ่มผู้ปลูกป่าชาวบ้าน ศูนย์ฯ หนองเขียว และ กลุ่มเกษตรกรผู้นำไม้ป่าชาวบ้านไปใช้ประโยชน์ (กลุ่มบ้านใหม่สามัคคีชุมชนเผาถ่าน) สมาชิกรวม 84 ราย

- ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาแปลงสาธิตการปลูกป่าชาวบ้านของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง จำนวน 18 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ฯ ทุ่งหลวง แม่สะเรียง ป่าเมี่ยง ปังค่า ห้วยน้ำริน ห้วยลึก แกน้อย ห้วยแล้ง แม่ปูนหลวง แม่โถ แม่สะป๊อก ขุนวาง แม่สาใหม่ ทุ่งเรา แม่หลอด ห้วยเสี้ยว หนองหอย และแม่ทาเหนือ

- ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาแปลงสาธิตการปลูกป่าชาวบ้านของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ แม่สอง

- เสริมสร้างทักษะและพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรผู้นำในการถ่ายทอดความรู้การปลูกป่าชาวบ้าน จำนวน 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม 20 คน

- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การปลูกป่าชาวบ้าน ในรูปแบบวีซีดี จำนวน 200 แผ่น

- สนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

  1. การป้องกันไฟป่า (ทำแนวกันไฟ 39 แนว รวมระยะทาง 269.7 กิโลเมตร) จำนวน 40 ครั้ง ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 19 แห่ง 39 หมู่บ้าน จำนวนผู้เข้าร่วม 2,248 คน
  2. การฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลำธาร (สร้างฝายชะลอน้ำ-ซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ – ขุดลอกตะกอนหน้าฝาย จำนวน 124 ตัว) จำนวน 46 ครั้ง ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 24 แห่ง 46 หมู่บ้าน จำนวนผู้เข้าร่วม 2,663 คน
  3. การฟื้นฟูพื้นที่ป่า (การปลูกต้นไม้เสริมในพื้นที่ป่าชุมชน ป่าต้นน้ำ และพื้นที่สาธารณะของชุมชน78,429 ต้น) จำนวน 40 ครั้ง ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 31 แห่ง 42 หมู่บ้าน จำนวนผู้เข้าร่วม 2,548 คน

 

3. ด้านพัฒนาชุมชนและสังคม 

  • จัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่โครงการหลวง 38 แห่ง พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และชุมชน โดยการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพและการสัมมนาและศึกษาดูงานทั้งหมด 479ราย
  • พัฒนาศักยภาพของกลุ่มท่องเที่ยวโดยจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจด้านการท่องเที่ยว 1 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างในป่าบ้านห้วยผักกูด ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง
  • พัฒนามาตรฐานด้านการท่องเที่ยว 3 มาตรฐานหลักได้แก่ มาตรฐานร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2559 ในพื้นที่โครงการหลวง 9 แห่ง จำนวน 50 ร้าน มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยประจำปี 2559 จำนวน 6 แห่ง มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 7 แห่ง
  • สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของชุมชน 31 แห่งผู้เข้าร่วม 3,185 คน
  • ส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาดโดยการจัดนิทรรศการและจัดกิจกรรมแนะนำแหล่งท่องเที่ยวแก่สื่อมวลชน 21 ครั้ง และจัดทำสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในพื้นที่โครงการหลวง 12 เรื่อง โดยปี 2559 มีจำนวนนักท่องเที่ยว   22,378 ราย และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 9,572,955 บาท จากกลุ่มที่ดำเนินการ  15 กลุ่ม
  • สนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนบนฐานของการพึ่งตนเองในท้องถิ่น ภายใต้การจัดทำแผนชุมชน จำนวน 38 แห่ง 264 กลุ่มบ้าน/2,693 คน เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านโดยใช้จุดแข็งและทุนทางสังคมที่มีอยู่
  • การรวมกลุ่มภายในชุมชนมีความเข้มแข็ง  ได้แก่ กลุ่มสหกรณ์การเกษตร  11 กลุ่ม สมาชิก 393 คน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 10 กลุ่ม สมาชิก 393 คน กลุ่มอาชีพ 23 จำนวน 44 กลุ่ม/ 2,181 คน โดยมีกลุ่มที่ได้รับรองการจดทะเบียน 21 กลุ่ม/1,384 คนและกลุ่มที่ไม่ได้รับรองการจดทะเบียน 23 กลุ่ม/797 คน ให้มีความมั่นคงทางด้านการเงินแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรบนฐานความเข้มแข็งของชุมชนและการใช้ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ในการสร้างภูมิคุ้มกัน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ และการแก้ปัญหาความยากจน โดยที่ชุมชนสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาและดำเนินการเอง ซึ่งเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการแก้ไขปัญหาได้
  • กลุ่มเยาวชนมีการดำเนินกิจกรรมกลุ่มต่อเนื่อง เป็นแบบอย่างแก่เยาวชนบนพื้นที่สูงได้ จำนวน   25  กลุ่ม
  • พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคมบนพื้นที่สูง
    • หมู่บ้านตัวอย่างชุมชนเข้มแข็งอยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ จำนวน 3 แห่ง
    • ศูนย์การเรียนรู้การดำเนินงานกลุ่มเยาวชน  จำนวน    3  แห่ง
    • ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน   จำนวน 5 แห่ง
  • เยาวชนเกษตรกร ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรของโครงการหลวง    จำนวน   50  ราย                                          

รายได้จากการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม ประจำเดือน ตุลาคม 58 – กรกฎาคม 59

รายได้จากงานหัตถกรรม

จำหน่ายผ่านโครงการหลวง

จำหน่ายในพื้นที่

โครงการหลวง

2,394,518.50 

2,811,148

โครงการขยายผลฯ

160,535

1,086,543

โครงการฝิ่นฯ

381,783

36,110

รวม

2,936,836.50

3,933,801

รายได้จากการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม ในงานโครงการหลวง 47 ณ ศูนย์การค้า Central World

  • กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 5 – 14  สิงหาคม 2559 เป็นเงิน 1,018,095 บาท                                                                    

 

  1. . ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 

- จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 38 ศูนย์ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่ดำเนินงานในพื้นที่โครงการหลวง รวม 23 หน่วยงาน งบประมาณที่ได้รับจัดสรรทั้งสิ้น 1,564,561,668 บาท คิดเป็นร้อยละ 73.57 ของงบประมาณตามแผนแม่บท

- จัดประชุมคณะทำงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 38 แห่ง จำนวน 89 ครั้ง

- จัดประชุมประสานความร่วมมือการดำเนินระหว่างพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง ในพื้นที่ 8 กลุ่มศูนย์พัฒนาโครงการหลวง จำนวน 25 ครั้ง

ภาพการจัดกิจกรรม

การจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเจ้าหน้าที่

- ฝึกอบรม เรื่อง “แนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม GAP”

- ศึกษาดูงานและประชุม เรื่อง การพัฒนาการผลิตซิมบิเดียม ณ สวนพนวัฒน์และศูนย์ฯ แม่โถ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่

- ศึกษาดูงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม มูลนิธิโครงการหลวง เรื่อง การปลูกเลี้ยง พัฒนาพันธุ์ และการอนุรักษ์รองเท้านารี ณ สวนกล้วยไม้รองเท้านารีที่ จังหวัดนครราชสีมา-ราชบุรี-กรุงเทพฯ-นครปฐม-กาญจนบุรี

- จัดประชุม เรื่อง การประชุมกลุ่มศูนย์ฯ สัญจร ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

การจัดอบรมและศึกษาดูงานสำหรับเกษตรกร

- จัดศึกษาดูงานเกษตรกรขุนวาง เรื่อง เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงการค้า ณ สวนดาวจำรัสแสง งานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งามและดนตรีในสวน จ.เชียงราย และสวนสาธารณะสวนบวกหาด จ.เชียงใหม่

- จัดฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอก เรื่อง การใช้สารเคมีและชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคและแมลงไม้ดอกไม้ประดับ ณ บ้านห้วยน้ำกืน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

- จัดศึกษาดูงานเกษตรกรบ้านปางมะเดื่อ ต.ดอยลาง ณ สวนดาวจำรัสแสง งานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งามและดนตรีในสวนและบ้านห้วยน้ำกืน จ.เชียงราย อุทยานหลวงราชพฤกษ์และโครงการขยายผลฯ ดอยปุย จ.เชียงใหม่

- ศึกษาดูงานเกษตรกรศูนย์ฯ ห้วยโป่งและห้วยน้ำริน เรื่อง “เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงการค้า” ณ สวนดาวจำรัสแสง, สวนเกษตร 32 และสวนเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกดอยตุง จ.เชียงราย

- จัดอบรมเกษตรกร เรื่อง การเพาะเมล็ดและการดูแลไม้ดอกไม้ประดับ ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์         ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

-  ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการของเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอก เรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

- สัมมนาและศึกษาดูงานของเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกศูนย์ฯ ห้วยลึก เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพการผลิตและการตลาดไม้ดอกไม้ประดับ ณ แอร์ออคิดซุปเปอร์มาร์เก็ต อ.บางเลน จ.นครปฐม สวน P.N. ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี และ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ท่าใหม่  จ.จันทบุรี

การประชุมกลุ่มเกษตรกร

- ประชุมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอก มูลนิธิโครงการหลวง ณ ศูนย์ฯ ขุนวาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

- ประชุมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอก พื้นที่เยี่ยมเยียน ต.ดอยลาง อ.แม่อาย

- ประชุมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเบญจมาศ ณ ศูนย์ฯ ห้วยลึก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

- ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอก เรื่อง การพัฒนาคุณภาพไม้ดอกไม้ประดับส่งอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ณ ห้องประชุมดอยคำและอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ต.แม่เหียะ อ.เมือง       จ.เชียงใหม่

- ประชุมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอก ณ พื้นที่เยี่ยมเยียนโครงการขยายผลโครงการหลวงแม่สลอง บ้านปางต้นเดื่อ ต.มะลิกา ต.แม่อาย จ.เชียงใหม่

การสนับสนุนและจัดทำแปลงทดสอบสาธิต

การสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอก

การสังเคราะห์ความรู้และจัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

การจัดนิทรรศการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

การติดตามให้คำปรึกษาแนะนำ

รูปภาพผลการดำเนินงาน

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน:

-

วัตถุประสงค์ของโครงการ:

-

เป้าหมายโครงการ:

-

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:

-

ผู้รับผิดชอบ ติดต่อ:

-

ปรับปรุงล่าสุด:

30 ม.ค. 2561 14:06 น. -