บ้านเล็กในป่าใหญ่บ้านขุนวิน (งานอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้) บ้านขุนวิน ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง

# ชื่อแผนงานโครงการ ประจำปี ความคืบหน้า
ยังไม่มีรายการในขณะนี้.
การใช้งบประมาณ

ความคืบหน้าโดยรวม

0

ที่ตั้ง
ความเป็นมา:

Bankhunwin

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 19 มกราคม พ.ศ.2543

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร และทอดพระเนตรสภาพพื้นที่ บ้านขุนวิน หมู่ที่ 16 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก พลโทวัธนชัย ฉายเหมือนวงค์ แม่ทัพภาคที่ 3 นายประวิทย์ สีห์โสภณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายดนุชา สินธุวานนท์ ผู้อำนวยการกองประสานงาน โครงการ 3 สำนักงาน กปร. และนายบุญชนะ กลั่นคำสอน ป่าไม้เขตเชียงใหม่ เข้าเฝ้ารับเสด็จและถวายรายงาน

 ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทอดพระเนตรสภาพหมู่บ้านและพระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านขุนวิน ซึ่งมีประชากรประมาณ 27 ครอบครัว 122 คน ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปให้เหมาะสมกับสภาพชุมชนแบบเดิม และให้เป็นไปตามความต้องการและความสนใจของราษฎร โดยมิให้ผลการพัฒนาไปเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของราษฎรในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการรักษาสภาพชุมชนแบบเดิม และเป็นการหวงแหนพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารซึ่งราษฎรได้ร่วมใจกันปฏิบัติกันมาแล้วเป็นอย่างดีไว้ ทั้งนี้โดยทรงเน้นถึงการพึ่งพาตนเองของชุมชนในลักษณะของคนอยู่กับป่าเป็นหลัก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน:

บ้านขุนวิน หมู่ที่ 16 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ:

1. เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ในพื้นที่ที่เสื่อมโทรมให้กลับมีสภาพสมบูรณ์
2. เพื่ออนุรักษ์และจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างเหมาะสมอันก่อให้เกิดความสมดุลในภาคของการใช้ประโยชน์ และภาคของการสงวนรักษา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
3. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกับป่าไม้ได้อย่างยั่งยืน และแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่มีผลไปเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม

เป้าหมายโครงการ:

การพัฒนาหมู่บ้านขุนวิน ซึ่งมีประชากรประมาณ 27 ครอบครัว 122 คน ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปให้เหมาะสมกับสภาพชุมชนแบบเดิม และให้เป็นไปตามความต้องการและความสนใจของราษฎร โดยมิให้ผลการพัฒนาไปเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของราษฎรในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการรักษาสภาพชุมชนแบบเดิม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:

1. การฟื้นฟูสภาพป่าไม้ในพื้นที่ที่เสื่อมโทรมให้กลับมีสภาพสมบูรณ์
2. การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างเหมาะสมอันก่อให้เกิดความสมดุลของการใช้ประโยชน์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
3. พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกับป่าไม้ได้อย่างยั่งยืน

ผู้รับผิดชอบ ติดต่อ:

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ปรับปรุงล่าสุด:

23 เม.ย. 2561 14:35 น. -