โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ตามพระราชดำริ ในพื้นที่ภาคเหนือ (ดอยอินทนนท์) จังหวัดเชียงใหม่

# ชื่อแผนงานโครงการ ประจำปี ความคืบหน้า
ยังไม่มีรายการในขณะนี้.
การใช้งบประมาณ

ความคืบหน้าโดยรวม

0

ที่ตั้ง
ความเป็นมา:

          สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริเมื่อเดือนมีนาคม  2536  กับ   พลโทยิ่งยศ  โชติพิมาย  แม่ทัพภาคที่ 3   (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น)   และเมื่อเดือนมีนาคม 2547 มีพระราชดำริ กับนายโกวิท  ปัญญาตรง  ผู้อำนวยการส่วนโครงการพระราชดำริกับความมั่นคง  กรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่า  และพันธุ์พืช  ณ    อำเภอปราณบุรี   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์    สรุปความได้ว่าให้พิจารณาหนทางในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี  ซึ่งเป็นกล้วยไม้ไทยที่หายากและใกล้จะสูญพันธ์ไปจากแผ่นดินไทย  เนื่องจากถูกลักลอบเก็บออกจากป่าส่งไปจำหน่าย ยังต่างประเทศและให้หน่วยงานที่ดำเนินการปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน:

อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ:

- เพื่อสนองพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่า
- เพื่อรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่าเพื่อการศึกษาวิจัยและการท่องเที่ยว
- เพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่า
- เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวและจำหน่ายกล้วยไม้ป่าที่ได้จากการขยายพันธุ์
- เพื่อสร้างจิตสำนึกและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าหายาก
- เพื่อขจัดปัญหาการลักลอบนำกล้วยไม้ออกจากป่าธรรมชาติซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ของกล้วยไม้

เป้าหมายโครงการ:

เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
- เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าสายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาวิจัยด้านพฤกษาศาสตร์ที่สำคัญ รวมทั้งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้
- สามารถขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่าหายากเพื่อนำกลับคืนสู่ป่าธรรมชาติซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของกล้วยไม้ป่าไทยได้
- ประชาชนในพื้นที่โครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว  ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าอย่างยั่งยืนต่อไป
- ช่วยลดปัญหาการลักลอบนำกล้วยไม้จากป่าธรรมชาติออกมาจำหน่าย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:

1. สามารถขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่าหายากได้เพิ่มมากขึ้น
2. สามารถนำกล้วยไม้ป่ากลับคืนสู่ป่าธรรมชาติ
3. ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว
4. ลดปัญหาการลักลอยนำกล้วยไม้ป่าออกมาจำหน่าย

ผู้รับผิดชอบ ติดต่อ:

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ปรับปรุงล่าสุด:

20 เม.ย. 2561 09:54 น. -