สารภี 2018-06-18T10:29:49+00:00

Project Description

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลสารภี
ภายใต้อัตลักษณ์ต้นยางนาสารภี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

ความเป็นมา

            เทศบาลตำบลสารภีมีถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ผ่านในพื้นที่ซึ่งเป็นถนนที่มีลักษณะโดดเด่น เนื่องจากมีต้นยางนาขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี อยู่ริมสองข้างทางตลอดแนวจากตำบลสารภี ถึงตำบลหนองหอยของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ซึ่งพระบามสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์เสด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมราษฎร อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่และทรงฉายภาพกับต้นยางนา ต้นแรก ณ เขตแดนเมืองเชียงใหม่ – ลำพูน
ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2501 ปัจจุบันต้นยางนาสองข้างทางถนน เชียงใหม่ – ลำพูน ภายในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลสารภี มีจำนวนต้นยางนาประมาณ 318 ต้น ที่ผ่านมาเทศบาลตำบลสารภีและประชาชนตำบลสารภีร่วมกันอนุรักษ์ต้นยางนาเหล่านี้มาโดยตลอดและมีการดำเนินกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ต้นยางนาให้คงอยู่สืบไป และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ได้ทรงห่วงใยและทรงอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ให้คงไว้ในประเทศไทยสืบต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาต้นยางนาในเขตเทศบาลตำบลสารภีเพิ่มมากขึ้น
  2. เพื่ออนุรักษ์ต้นยางนาที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีแห่งเดียวของโลก
  3. เพื่อร่วมสืบสานวัฒนธรรมสำคัญของชุมชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลสารภี
  4. เพื่อส่งเสริมความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ผู้นำและประชาชน
  5. เพื่อเน้นการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นประพฤติตนเป็นพลเมืองที่ดี ร่วมกันพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี
  6. เพื่อเป็นการร่วมกันช่วยอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

หลักการและแนวคิด

  1. เน้นและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานวิชาการในทุกด้านเป็นหลัก โดยเฉพาะการดำเนินงานศึกษาทดลองวิจัยเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชที่ส่งผลและเกิดประโยชน์แก่ประชาชน
  2. ให้ความสำคัญกับการพัฒนารวบรวมข้อมูลสารสนเทศในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้เป็นมาตรฐานสากลและเกิดประโยชน์สูงสุด
  3. การดำเนินงานด้านการเรียนรู้ทรัพยากรและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมควบคู่กันไปกับการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านกระบวนการวางแผน การประสานดำเนินงาน การจัดสรรทรัพยากรโดยเฉพาะงบประมาณดำเนินงานและการติดตามผลการดำเนินงาน
  4. เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและแระชาชนในการอนุรักษ์ ต้นยางนาและทรัพยากรธรรมชาติ

 

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน     

สำนักงานเทศบาลตำบลสารภี 156 หมู่ที่ 5 ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

 

การดำเนินงาน 

กระบวนการผลิตงานขั้นตอนการดำเนินงาน (วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ)

          1.ประชุมผู้ดำเนินโครงการ ผู้นำชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน

  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ
  3. ดำเนินกิจกรรมโครงการดังนี้

4.1 กิจกรรมสำรวจต้นยางนาปละต้นไม้ชนิดอื่นในถนนหมายเลข 106 เชียงใหม่ – ลำพูนการวินิจฉัยสุขภาพต้นยางนาโดยกระบวนการ Warning : Yangna Color Tags

          สีแดง คือ ความเร่งด่วนที่สุดในการดูรักษา มีกาฝาก แผล โพรงผุ รากดันพื้นทาง คอนกรีตล้อมรอบโคนต้น

          สีส้ม คือ จัดการแก้ไขต้นที่มีลักษณะ “Vshape “/กิจกรรมร้านซ่อมรถอยู่ติดกับต้นยางนาที่มีน้ำมันเครื่อง เทราดลงบนพื้นดิน 

          สีเขียว คือ เฝ้าระวัง การตัดแต่ง กิ่งแห้ง รักษารูปทรง อุดโพรง

          สรุปการวินิจฉัยสุขภาพต้นยางนาโดยกาะบวนการ Warning: Yangna Color Tags ถนนหมายเลข 106 เชียงใหม่ – ลำพูน จำนวน 290 ต้น เฉพาะที่มีหมายเลขต้น ดังนี้

จำนวนต้นยางนาฝั่งเลขคี่ หมายเลข 1 – 227 จำนวน 168 ต้น ดังนี้

  1. ต้นที่มีสติ๊กเก้อสีแดง จำนวน 26 ต้น
  2. ต้นที่มีสติ๊กเก้อสีส้ม จำนวน 77 ต้น
  3. ต้นที่มีสติ๊กเก้อสีเขียว จำนวน 65 ต้น

จำนวนต้นยางนาฝั่งเลขคู่ หมายเลข 2 – 250 จำนวน 122 ต้น

  1. ต้นที่มีสติ๊กเก้อสีแดง จำนวน 34 ต้น
  2. ต้นที่มีสติ๊กเก้อสีส้ม จำนวน 43 ต้น
  3. ต้นที่มีสติ๊กเก้อสีเขียว จำนวน 45 ต้น

                    4.2 กิจกรรมบวชต้นยางนากับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณถนนสาย เชียงใหม่-ลำพูน

                    4.3 กิจกรรมสืบชะตาต้นยางนาและชุมชนและพิธีเปิดโดยนายอำเภอสารภี

                    4.4 กิจกรรมเสวนาเรื่อง “ต้นไม้ของพ่อ” โดย

  1. ดร.วสันต์ จอมภักดี ประธานกรรมการประสานงานอนุรักษ์แม่ปิงและสิ่งแวดล้อม
  2. ดร.กมล ไชยคชา ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่
  3. นายสมคิด ปัญญาดี ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม
  4. นายสนั่น สุริยะ ข้าราชการบำนาญ สังกัด กองบินเกษตร
  5. นายบวร กุลดิลก ข้าราชการบำนาญ กรมป่าไม้
  6. นางสาวลักขณา ศรีหงส์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเขียวสวยหอม

                             ดำเนินการเสวนาโดย

                             อาจารย์ชัชวาล ทองดีเลิศ

๔.๕ กิจกรรมการประกวด ภาพถ่าย,ภาพวาด หัวข้อ “ตามรอยพระบาทที่ยาตรา ใต้ร่มยางนาสารภี”

๔.๖ กิจกรรมฐานการเรียนรู้ สิ่งประดิษฐ์จากต้นยางนา(โมบายลูกยางนา)

๔.๗ กิจกรรมจัดนิทรรศการด้านสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงาน เครือข่ายเขียวสวยหอม,หน่วยป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า,สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่,สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ ๑

                    ๔.๘ กิจกรรมการตอบปัญหาชิงรางวัลด้านสิ่งแวดล้อม

                    ๔.๙ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนแม่บท

ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ

๑. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมช่วยดูแลต้นยางนา

๒. ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี

๓. ประชาชนตำบลสารภีสืบสารวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชนและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลสารภี

๔. ประชาชนมีความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยความสำเร็จ

          ๑. ความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในตำบลสารภี

     ๒. การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเรียนรู้ทรัพยากรและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ควบคู่กันไปกับการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านกระบวนการวางแผน การประสานดำเนินงาน การจัดสรรทรัพยากร

          ๓. ความตระหนักของคนในชุมชนในปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษทางอากาศจึงร่วมกันอนุรักษ์ต้นไม้

บทเรียนที่ได้รับ

          ๑. การได้รับความร่วมมือจากประชาชนที่มีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและการสืบสานวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชน

          ๒. การสนองแนวพระราชดำริ และสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ข้อมูลติดต่อโครงการ