ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ 2018-06-15T10:42:23+00:00

royalprojects-th-th

ขั้นตอนการปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 process

1. แนวพระราชดำริและฎีกา
แนวพระราชดำริ ได้มาจาก

  • การตามเสด็จโดยตรงของสำนักงาน กปร.
  • เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ หรือ ผู้ที่ติดตามเสด็จพระราชดำเนินได้รับทราบความตามพระราชดำริ แล้วแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ (อ้างอิงระเบียงสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2534

ทรงรับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กรณีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา

ฎีกา

ความหมายของฎีกา

         คำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศ์ เพื่อขอพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่าง ๆ เช่น 

  • ขาดแคลนถนน / น้ำ / ไฟฟ้า
  • ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
  • การไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องที่ดินทำกิน ฯลฯ
  • ต้องการอาชีพ
รูปแบบและวิธีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
มี 2 ทาง คือ

1.      การทูลเกล้าฯ ถวายอย่างเป็นทางการผ่านสำนักราชเลขาธิการ

2.      การทูลเกล้าฯ ถวายในเวลาเสด็จพระราชดำเนินผ่านหรือเสด็จ พระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในภูมิภาคต่างๆ

กรอบระยะเวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของสำนักงาน กปร.
จากการประชุมระหว่างสำนักราชเลขาธิการ สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี โดยนับตั้งแต่สำนักงาน กปร. ได้รับเรื่องจากสำนักราชเลขาธิการ จนถึงขั้นตอนการสรุปข้อมูลเสนอสำนักราชเลขาธิการ
ขั้นตอนและระยะเวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักงาน กปร.
 ขั้นตอนที่ 1 : เมื่อได้รับหนังสือจากสำนักราชเลขาธิการแล้ว สำนักงาน กปร. จะแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ภายใน 8 วันทำการ) พิจารณาและเสนอแนะข้อคิดเห็นพร้อมเสนอแนะแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ

 ขั้นตอนที่ 2 : ประมาณ 1 เดือน หลังจากส่งหนังสือแล้ว จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเข้าร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 3 : หน่วยงานสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมแนวทางในการให้ความช่วยเหลือส่งมายังสำนักงาน กปร. ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้ 

1. กรมชลประทาน   90 วัน

2. กรมอุทยานฯ   60 วัน

3.กระทรวงมหาดไทย  15 วัน

4. หน่วยงานอื่น ๆ  30 วัน

ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อได้รับข้อมูลจากหน่วยงานครบถ้วนแล้ว สำนักงาน กปร. จะจัดทำสรุปข้อมูลเสนอสำนักราชเลขาธิการ โดยมีกรอบระยะเวลา 40 วัน นับจากได้รับหนังสือของหน่วยงานฉบับสุดท้าย

2. การประสานการจัดทำโครงการการวิเคราะห์/อนุมัติโครงการ
ด้วยพระราชประสงค์ที่ต้องการให้ราษฎรได้รับในสิ่งที่ขาดแคลน และต้องมีตัวอย่างของความสำเร็จ จึงทรงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษา ทดลอง วิจัย และแสวงหาความรู้สมัยใหม่ที่ราษฎรรับได้ และนำไปดำเนินการเองได้ โดยต้องเป็นวิธีการที่ประหยัด เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม

การประสานการจัดทำโครงการ

         ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ พ.ศ. 2534 หมวด 4 ข้อ 13 (2) ความว่า เมื่อส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องได้รับทราบพระราชดำริจากสำนักงาน กปร. หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจดังกล่าว จัดทำรายละเอียดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมทั้งกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายเสนอสำนักงาน กปร. โดยด่วน

หน่วยงานต่างๆ
         ให้กรอกแบบคำขอรับการสนับสนุนงบประมาณ โดยส่งผ่านไปยังกระทรวง ทบวง หรือคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบโครงการนั้นๆ

ประเภทของโครงการ

 โครงการประเภทที่ 1

        เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีลักษณะเป็นงานด้านวิชาการ เช่น โครงการประเภทเพื่อการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือโครงการที่มีลักษณะเป็นงานวิจัย และโครงการใดๆ ที่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้ภายใน 1 ปี ซึ่งโครงการประเภทนี้ กปร. สามารถพิจารณาอนุมัติโครงการ และงบประมาณค่าใช้จ่ายตามโครงการได้ทั้งหมด เพื่อให้ดำเนินงานได้ทันที 

 โครงการประเภทที่ 2 
        เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีลักษณะเป็นโครงการพัฒนาด้านต่างๆ โดยทั่วไป ซึ่งสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในไม่เกิน 6 ปี ซึ่งโครงการประเภทนี้ กปร. สามารถอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายให้สามารถเริ่มงานได้ทันทีในปีแรก ส่วนปีต่อๆ ไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการเสนอของงบประมาณไปตามปกติ

 โครงการประเภทที่ 3         
        เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีลักษณะเป็นโครงการใหญ่ที่ใช้เวลาดำเนินงานเกินกว่า 6 ปีขึ้นไปจึงแล้วเสร็จ ซึ่งโครงการประเภทนี้ กปร. สามารถอนุมัติงบประมาณได้ส่วนหนึ่ง เพื่อให้เริ่มงานได้ทันที หรือพิจารณาอนุมัติเฉพาะแต่แผนงาน / โครงการเท่านั้น ส่วนงบประมาณให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ ดำเนินการของงบประมาณไปตามระบบปกติ

 โครงการประเภทที่ 4 
        เป็นแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมอื่นใด ที่มีพระราชประสงค์ให้ดำเนินการ ซึ่งโครงการประเภทนี้ กปร. หรือประธาน กปร. อนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม และงบประมาณค่าใช้จ่ายได้ตามความเหมาะสมในทุกกรณี

การวิเคราะห์โครงการ 

        ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2534 หมวด 4 ข้อ 13 (3) ความว่า เมื่อสำนักงาน กปร. ได้รับรายละเอียดโครงการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องแล้ว ให้สำนักงาน กปร. รวบรวมรายละเอียดโครงการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายสำหรับโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจดังกล่าว และพิจารณากลั่นกรองและนำเสนอ กปร. พิจารณาตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบโดยด่วน

หลักเกณฑ์การวิเคราะห์โครงการ

  • ความสอดคล้องกับพระราชดำริ

  • พื้นที่ดำเนินการ

    • กรณีอยู่ในพื้นที่ป่าไม้ ต้องได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือกรมป่าไม้

    • กรณีอยู่ในพื้นที่ราษฎร ต้องได้รับความยินยอมจากราษฎร

    • กรณีอื่นๆ ต้องได้รับความยินยอมหรืออนุญาตจากเจ้าของพื้นที่

  • ความพร้อมของหน่วยงานที่จะดำเนินการ มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน

  • การมีส่วนร่วมของราษฎรในพื้นที่โครงการ

  • ความซ้ำซ้อนของแผนงาน/โครงการ กับโครงการที่ดำเนินการโดยใช้งบประมาณจากแหล่งอื่น

  • ประโยชน์ที่ได้รับ

การอนุมัติโครงการ

         เมื่อหน่วยงานเสนอแผนงาน / โครงการ และงบประมาณมายังสำนักงาน กปร. สำนักงานฯ จะวิเคราะห์ พิจารณากลั่นกรอง และนำเสนอ กปร. หรือ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธาน กปร. (สามารถใช้อำนาจหน้าที่แทน กปร. ได้) พิจารณาอนุมัติต่อไป หากได้รับการอนุมัติสำนักงาน กปร. จะแจ้งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบโดยทันทีพร้อมทั้งแนบแบบรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานรายงานผลตามไตรมาส

process1

1 (1)

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)