Project Description
โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริบ้านเสาแดง
ความเป็นมา
วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯไปทอดพระเนตรสภาพพื้นที่ บ้านลีซอเสาแดง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ่มหลวง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณดอยขุนห้วยยา เนื่องจากทรงทราบว่า พื้นที่ป่าแถบนั้นในอดีตได้ถูกแผ้วถางไปจำนวนหนึ่งโดยราษฎรบ้านลีซอเสาแดงเพื่อใช้พื้นที่ปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอย แต่เมื่อทางราชการได้ทำการปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มงวดราษฎรบ้านลีซอเสาแดงจึงเลิกปลูกฝิ่นและทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตรแต่เพียง อย่างเดียว โดยเฉพาะการปลูกพืชแบบไร่เลื่อนลอยหรือไร่หมุนเวียนและผลผลิตที่ได้ต่ำไม่เพียงพอต่อการบริโภคในชุมชน ทำให้เมื่อสิ้นฤดูกาลเพาะปลูกราษฎรบ้านเสาแดงโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว จึงละทิ้งถิ่นฐานไปหางานทำในตัวเมืองเป็นจำนวนไม่น้อยเพื่อหารายได้
นอกจากนั้นยังพบว่าบ้านลีซอเสาแดงยังขาดโอกาสทางการศึกษา และการบริการทางสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ดังนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงขึ้นโดยให้ราษฎรบ้านลีซอเสาแดงและราษฎรบ้านกะเหรี่ยงห้วยเขียดแห้งได้เข้ามาร่วมอยู่ในโครงการ
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านเสาแดง จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นและถือเอาวันที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมายังบ้านเสาแดง คือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นวันเริ่มต้นการดำเนินงานของสถานีฯ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- ให้ราษฎรเรียนรู้การทำการเกษตรอย่างถูกวิธีในพื้นที่จำกัด แต่ให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อขยายที่ทำกิน
- อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้พื้นที่ต้นน้ำลำธารบริเวณดอยขุนห้วยยา และฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสมบูรณ์ดังเดิม
- เพื่อสร้างชุมชนให้มีความมั่นคง ปลอดจากยาเสพติด
หลักการและแนวคิด
ให้ราษฎรอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ลดการแผ้วถางป่าและทำไร่เลื่อนลอย โดยมีเจ้าหน้าที่เข้าไปให้คำแนะนำในการฟื้นฟู่สภาพป่า ถ้าป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ป่าจะซืมซับน้ำในดินและปล่อยมาใช้ในฤดูแล้ง ราษฎรจะไม่เดือดร้อนในฤดูแล้งและฤดูฝนจะไม่มีดินสไลด์ ให้ราษฎรสามารถทำการเกษตรอย่างถูกวิธี ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเกษตรกร ให้ราษฎรได้ปฎิบัติจริงและเรียนรู้การทำการเกษตรอย่างถูกต้องเพื่อนำไปในชีวิตประจำวัน เพื่อลดการปลูกฝิ่นและทำสิ่งผิดฎกหมายครอบครัวจะได้อยู่กันพร้อมหน้าสร้างความกลมเกลียวในชุมชน
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อโครงการ : สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงในสมเด็จพระนามเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ที่ตั้งโครงการ : ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านเสาแดงหมู่ที่ 7 ตำบลแจ่มหลวง อำเภอกัลยาณิวัฒนา
พิกัด : E 0419863 N 2097681
ระดับความสูง : 1270 เมตร (ที่ตั้งโครงการ)
การดำเนินงาน
กระบวนการผลิตงานหรือชั้นตอนการดำเนินงาน (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ)
ดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมการทั้งสิ้น 16 หน่วยงาน และสรุปผลการดำเนินงาน 4 ด้าน ดั้งนี้
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ น้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภค ระบบน้ำชลประทานระบบไฟฟ้า ติดตั้งแผงโซล่าร์โฮม ไฟฟ้าพลังน้ำ พัฒนาถนน สนามกีฬา ศูนย์การเรียนรู้ชมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- การพัฒนาการศึกษา จากการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณทักษะชีวิต พัฒนาเพื่อสังคมและชุมชน การศึกษาตามอัศยศัย เน้นการพูด เขียน อ่านภาษาไทยให้ชัดเจน
- การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต ทำแปลงสาธิต, ทดลองการพัฒนาที่ดี การทำปุ๋ยพืชสดปุ๋ยหมัก
การปลูกพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก การปศุสัตว์ การประมง งานศูนย์ศิลปาชีพ งานธนาคารข้าวพระราชทาน และงานรักษาความสงบเรียบร้อย ร่วมถึงการส่งเสริมการผลิต และการจักการด้านการตลาด - การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ ดำเนินการอนุรักษ์ และฟื้นฟู่สภาพป่า ด้วยการปลูกป่า การสร้างฝ้ายต้นน้ำ การปลูกหญ้าแฝก การทำแนวการไฟ และการสร้างจิตสำนึกให้มีความรักความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้
ผลการดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์ประโยชน์ที่ราษฎรได้รับ
หยุดยั้งการบุกรุกแผ้วถางป่า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร สถานีได้ส่งเสริมการทำนาขั้นบันไดเพื่อลดการทำไร่เลื่อยลอย เพิ่มพื้นที่ป่าสมบูรณ์ขึ้น พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจากการทำไร่เลื่อนลอย ไร่หมุนเวียนและเป็นพื้นที่ปลูกไร่ฝิ่นเดิมได้รับการปลูกฟื้นฟูสภาพป่า สภาพป่าต้นน้ำดังกล่าวสมบูรณ์ขึ้นเป็นพื้นที่สำหรับการกักเก็บน้ำฝนไว้ในดิน ให้ราษฎรใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรราษฎรในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ราษฎรมีสุขภาพดี จากการที่ราษฎรได้รับการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน มีแหล่งน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค -บริโภค มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน และมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังได้รับการส่งเสริมอาชีพให้มีรายได้เสริม จากงานศิลปาชีพ ได้แก่
การทอผ้าทั้งนี้ยังทำให้เด็กนักเรียนมีรายได้ในช่วงปิดเทอมจากการรับจ้างที่สถานีเยาวชนทุกคนมีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
ปัจจัยความสำเร็จ
ราษฎรได้ปฏิบัติจริงงานที่สถานีทำให้ได้เรียนรู้การทำการเกษตรอย่างถูกวิธี ในพื้นที่จำกัดแต่ให้ผลผลิตสูง เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ประกอบกับพื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรที่อยู่ในเขตบริการของระบบชลประทาน ทำให้สามารถปลูกพืชหมุนเวียนได้การสร้างจิตสำนึกให้มีความรักความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้
บทเรียนที่ได้รับ
ราษฎรมีรายได้น้อยเนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากอาชีพการเกษตรและขาดความรู้ในการทำการเกษตรอย่างถูกวิธีทำให้ได้ผลผลิตน้อยและมีแนวโน้มที่จะบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อขยายที่ทำกินต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นจำนวนมากขึ้นส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณต้นน้ำลำธารเสื่อมโทรมลง
– ขาดระบบชลประทานเพื่อการเกษตรการเพาะปลูกต้องอาศัยน้ำฝนแต่เพียงอย่างเดียว
– ชุมชนยังไม่มีระบบน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค บริโภค การคมนาคมกับชุมชนภายนอกค่อนข้างลำบาก เนื่องจากสภาพถนนเป็นถนนดินลำลอง และจะชำรุดเสียหายมากในช่วงฤดูฝน
– ภาพพจน์เรื่องยาเสพติด
ข้อมูลติดต่อโครงการ