Project Description
อ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ
ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2522 ได้ใช้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์บินดูบริเวณที่จำทำการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำแม่ขาน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่ท่านนายก พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมานันท์ มีบัญชาการให้กรมชลประทานรีบเร่งดำเนินการก่อสร้างอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหามิให้ราษฎรขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกและอุปโภค บริโภค ในบริเวณอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ขานเป็นโครงการขนาดใหญ่และต้องใช้เงินในการก่อสร้างนับพันล้านบาทและจะต้องทำการสำรวจหาข้อมูลทางธรณีวิทยาเพื่อประกอบการออกแบบอีกมาก ซึ่งไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 ปีได้
แต่เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามิให้ราษฎรในเขตพื้นที่เดือดร้อน เนื่องจากไม่มีน้ำใช้ก่อนที่โครงการแม่ขานจะแล้วเสร็จ กรมชลประทานได้พิจารณาแหล่งน้ำใหม่ โดยอ่างเก็บน้ำโป่งจ้อที่บริเวณ บ้านเหล่าหาญ ตำบลยางคราม
อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันคือหมู่ที่ 7 บ้านโป่งจ้อ ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ และก่อสร้างท่อส่งน้ำจากหัวเขื่อนเก็บน้ำไปยังพื้นที่โครงการเกษตรจอมทอง และก่อสร้างท่อแยกจากทางซ้ายเขื่อน เพื่อทิ้งน้ำไปยังลำห้วยเดิมเกษตรที่อยู่ใกล้เคียงมีน้ำสำหรับการทำเพาะปลูกซึ่งเคยได้รับแต่เดิม ก็สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรบริเวณดังกล่าวได้
อนึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2523 แลได้ทรงพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาสร้างอ่างให้เก็บกักน้ำได้อย่างเต็มที่ และเสร็จโดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ได้ให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดหาพื้นที่เพาะปลูกสำหรับราษฎรที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียงกับเกษตรกรรมของจอมทองอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1 เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ในการขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม การอุปโภคและบริโภค
2 เพื่อเป็นการยกระดับของคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3 เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในฤดูฝนทิ้งช่วง
หลักการและแนวคิด
การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ และบรรลุวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้
1. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มุ่งช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ในขณะนั้น ซึ่งเป็นการแก้ไขอย่างรีบด่วน
2. การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน เน้นการพัฒนาที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในลักษณะของการพึ่งตนเอง โดยช่วยเหลือราษฎรตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสถานภาพ เมื่อนักแสดงสามารถพึ่งตนเองได้ ก็สามารถออกมาสู่สังคมภายนอกอย่างไม่ลำบาก
3. การพึ่งตนเอง มาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้แล้ว ก็จะเป็นการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้ตามสภาพ ในลักษณะของการพึ่งตนเอง ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยทำกินเพื่อให้แก้ไขปัญหาของชุมชนและ การทำมาหากินร่วมกัน นอกจากนั้นในระยะหลังก็เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยตัวเองได้ เพราะเป็นโครงการที่สนับสนุนให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ เช่นการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การให้อบรมความรู้สาขาต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร เป็นต้น
4. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ จากการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลงโดยมิได้มีการฟื้นฟูขึ้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงสนพระราชหฤทัยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างยิ่งเพราะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ของราษฎรในพื้นที่ต่างๆ โครงการนี้มีการระดมประชาชน กลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมการพัฒนาแหล่งน้ำ ดูแล รักษา และธำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของทรัพยากรโดยรอบของแหล่งน้ำ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
บ้านโป่งจ้อ หมู่ที่ 7 ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ พิกัด 47 QMA 727492 แผนที่ระหว่าง 4746
การดำเนินงาน
กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ)
- การเตรียมการ
1) คำสั่งอำเภอดอยหล่อที่ 96/2557 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการใช้น้ำชลประทานฝายแม่ตื่น ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ (ตามเอกสารแนบ 1)
2) คำสั่งดอยหล่อที่ 90/2557 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการใช้น้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ (ตามเอกสารแนบ 2)
- การดำเนินการ
1) ประชุมคณะกรรมการบริหารการใช้น้ำชลประทานฝายแม่ตื่น ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่และคณะกรรมการบริหารการใช้น้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
2) สำรวจความต้องการการใช้น้ำของประชาชนในพื้นที่และจัดทำแผนการบริหารจัดการ
3) สร้างระบบการบริหารจัดการโดยแบ่งเป็นฝ่ายงานด้านต่างๆ เช่น ฝ่ายแผนงาน, ฝ่ายอำนวยการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งชุดคณะกรรมการตามกลุ่มผู้ใช้น้ำต่าง ๆ ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและสร้างความตระหนักรู้ร่วมกัน
4) จากปฏิทินการปฏิบัติงานโดยแบ่งและมอบหมายภารกิจในการพัฒนา ดูแล รักษาแหล่งน้ำรวมไปถึงการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
5) สร้างระบบการจัดเก็บงบประมาณโดยจัดเก็บจากประชาชนไร่ละ 9 บาท/ปี เพื่อนำเงินส่วนนี้มาบริหารจัดการต่างๆ เช่น เปลี่ยนระบบท่อประปา ซ่อมแซม บำรุงรักษา เป็นต้น
6) บูรณาการการทำงานทั้งอำเภอ ท้องถิ่น ประชาชนที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งน้ำอ่างโป่งจ้อ
ผลการดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ
- แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ในการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรม การอุปโภคและบริโภค
- ยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- แก้ไขปัญหาภัยแล้งและภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในฤดูฝนทิ้งช่วงได้มากขึ้น
ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่ 1 : การวางแผนที่ดี
มีการจัดทำแผนงานของโครงการล่วงหน้า แบ่งฝ่ายการทำงานและมีการแทรกหลักแนวคิด เครื่องมือทางการบริหาร เช่น Plan do check act มาใช้ในระบบบริหารจัดการ เช่น Plan มีการวางระบบการวางแผนจัดทำแผนการบริหารจัดการ แบ่งการทำงานออกเป็นฝ่ายต่างๆ รวมไปถึงแบ่งกลุ่มผู้รับประโยชน์เป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำและนำ stake holder ต่างๆมาเป็นส่วนหนึ่งในการระดมความคิดทางการบริหารจัดการด้วย เป็นต้น
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่ 2 : การสื่อสารที่เหมาะสม
ถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนโครงการที่ดีเพียงใด แต่มีการบริหารจัดการตารางแผนการสื่อไม่ดีหรือขาดความร่วมมือกับสมาชิกในทีม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ได้รับการตอบสนอง หรือแก้ไขปัญหาตามความต้องการที่สมควร ผู้จัดการโครงการ ผู้นำ ผู้บริหาร จำเป็นต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดีเยี่ยมและรูปแบบที่ครบวงจรที่สนับสนุนการสนทนาแบบที่เป็นทางการและเป็นความคาดหวังในเรื่องความคืบหน้าและผลสำเร็จของโครงการ เช่นว่า ผู้บริหาร ผู้นำ มีการประชุมโดยใช้วิธี two way ของการสื่อสาร คือให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนในการโต้ตอบสื่อสาร และย้ำชุดคำสั่ง อีกทั้งมีการ brain storms ในหารแก้ไขปัญหาหรือความต้องการบรรลุจุดมุ่งหมายใดจุดมุ่งหมายหนึ่งโดยสร้างให้ทุกคนตื่นตัว รับรู้และตระหนัก พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน จึงทำให้ทุกคนสามารถตระหนักรู้ร่วมกันและรับทราบข้อมูลการบริหารจัดการเป็นอย่างดีจึงทำให้ผลการดำเนินงานบังเกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นต้น
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ 3 : การจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทีมงานผู้บริหาร ผู้นำจำเป็นที่จะต้องมีการประชุมร่วมกับกลุ่มมีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งในที่นี้คือทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวมไปถึงกลุ่มใช้น้ำเกษตรกร ประชาชน เป็นต้น เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการ, เป้าหมายที่จะต้องทำให้บังเกิดความสำเร็จของโครงการ, กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ขนาดของพื้นที่ที่จะดูแลภายในการดำเนินงานของโครงการนี้, ผลลัพธ์ที่คาดหวังที่จะได้รับจากการดำเนินงานในครั้งนี้,
ห้ามผู้รับผิดชอบโครงการให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือไม่ให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์สุดท้ายของโครงการ ทางกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจจะไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของโครงการ และโครงการนี้ก็จะไม่สัมฤทธิ์ผล
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่ 4 : สำรวจความคิดเห็นต่อโครงการอย่างต่อเนื่อง
การสำรวจความคิดเห็นแบบปกตินี้ ผู้ช่วยให้ตรวจสอบพบปัญหาที่จะสามารถระบุได้เพื่อนนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหารวมทั้งสามารถนำมาใช้ในการติดตามโครงการ การสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโครงการ ยังช่วยให้สมาชิกในทีมได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะเพิ่มขึ้นด้วย
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่ 5 : ความร่วมมือและความสามัคคี
ในการดำเนินโครงการใดๆก็ตาม หรือการจะทำงานสิ่งใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นต้องเริ่มจากการสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันของทุกคนในเป้าหมายการดำเนินงานที่วางไว้ในการดำเนินงานใดๆประสบความสำเร็จไม่ได้เลยหากปราศจากซึ่งความร่วมมือ ความสามัคคี ดังนั้นการทำให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่และเป็นชุมชนเข้มแข็งได้นั้น ปัจจัยความสำเร็จหนึ่งมาจากความร่วมมือและสามัคคีนั่นเอง
บทเรียนที่ได้รับ
1. การสนับสนุนทางด้านงบประมาณ บุคลากร จากทางกรมชลประทาน ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวเกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ บริหารจัดการกันเอง งบประมาณที่ได้ล้วนมาจากประชาชนที่ใช้น้ำยินดีจ่ายไร่ละ 9 บาท/ปี ก็เอางบประมาณมาซ่อมบำรุงและบริหารจัดการแหล่งน้ำ
2. ปัญหาทรายในท่อลำเลียงน้ำจากลำน้ำแม่ตื่นลงมาสู่อ่างโป่งจ้อเกิดการอุดตัน เสนอของบประมาณและมีปัญหา ความต้องการในการบริหารจัดการโครงการดังกล่าวไปยังกรมชลประทาน ยังมิได้การตอบกลับที่แน่นอน
3. เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ในการบริหารจัดการ เช่นว่า ในฤดูน้ำหลากต้องอาศัยกำลังคนพร้อม
จอบ คาด และอุปกรณ์มืออื่นใด ในการเปิดช่องทางน้ำ การกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เป็นต้น
4. การบริหารงานให้สัมฤทธิ์ผลนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และต้องมีการวางแผนการบริหารจัดการที่ดี
การประชุมคณะกรรมการบริหารการใช้น้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยโป่งจ้อ
ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
กิจกรรมการพัฒนาอ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ
ข้อมูลติดต่อโครงการ
บ้านโป่งจ้อ หมู่ที่ 7 ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่