ฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริ บ้านดงเย็น ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง 2018-06-20T22:12:09+00:00

Project Description

ฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริ บ้านดงเย็น ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง

ความเป็นมา

a28

          โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านดงเย็น อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

         สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริกับนายสหัส บุญญาวิวัตน์ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 เมื่อคราว เสด็จเยี่ยมราษฏร ณ บ้านห้วยสะแพด หมู่ที่ 9 ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้จัดหาพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เพื่อสร้างอาชีพให้ราษฏรที่มีฐานะยากจนได้มีงานทำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ร่วมกับนายสหัส บุญญาวิวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ได้สำรวจคัดเลือกพื้นที่ บริเวณป่าสงวนชาติ ป่าท่าธารบ้านดงเย็น หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ และให้จัดตั้ง โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านดงเย็น ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้น
         เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมที่อยู่ในท้องที่อำเภอจอมทองจังหวัดเชียงใหม่เป็นชุมชนหมู่บ้านชาวไทยพื้นเมือง จำนวน 4 หมู่บ้านได้แก่บ้านดงเย็น บ้านท่ากอม่วง บ้านสบแจ่มฝั่งซ้าย และบ้านบวกห้า และเป็นชุมชนหมู่บ้านชาวไทยกะเหรี่ยงจำนวน 1หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยสะแพด ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร

วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อเป็นแหล่งสร้างงานและสร้างอาชีพให้กับราษฎร
๒. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู ้ส่งเสริมกิจกรรมการเกษตรในด้านการวิจัยและเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการเกษตรแผนใหม่
๓. เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของราษฎรใหม่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านดงเย็น 
บ้านดงเย็น  หมู่ที่  15  ตำบลบ้านแปะ  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่ 
พิกัด   466660 E2008269 N
ระดับความสูง  จากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ  320-360  เมตร

 

พระราชดำริ

        สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ประเภทโครงการ

         โครงการพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพ

การดำเนินงานและผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินการโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านดงเย็น

         1. กิจกรรมอำนวยการและบริหารโครงการ ดำเนินการบำรุงรักษา โครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวก และสนับสนุนการปฏิบัติงาน ให้บรรลุเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ได้แก่ อาคาร สำนักงาน บ้านพักเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน บ้านพักนักเกษตร ปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณอาคารสำนักงาน บริเวณบ้านพักเจ้าหน้าที่ และรอบพื้นที่ของ โครงการฯ เนื้อที่ 300 ไร่ อบรมถ่ายทอดให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชน จำนวน 8 คณะ 1,628 คน รับการสนับสนุนจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเชียงใหม่แปลงสาธิตการปลูกหม่อนไหมในพื้นที่โครงการฯ จำนวนรวม 5 ไร่ รับการสนับสนุนจากสถานีวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ห้างฉัตร กรมปศุสัตว์ แปลงสาธิตการปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่โครงการฯ จำนวนรวม 10 ไร่ ประสานงานรับการสนับสนุนกิจกรรมโรงแปรรูปผลผลิต จากการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 โรง รับผิดชอบโดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

          2. กิจกรรมโครงสร้างพื้นฐาน ดำเนินงานโดยสำนักชลประทานที่ 1 ก่อสร้างสระกักเก็บน้ำขนาดบรรจุ ๓๐,๐๐๐ ลบ.ม. และสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ดำเนินการก่อสร้างทางลำเลียงในไร่นา ระยะทาง 5 กิโลเมตร ก่อสร้างขั้นบันไดดินแบบระดับ เนื้อที่ 60 ไร่ ก่อสร้างคันคูรับน้ำ (ชนิดที่ 5) ระยะทาง 5 กิโลเมตร สาธิตการปลูกพืชสด เนื้อที่ 100 ไร่ ก่อสร้างบ่อดักตะกอน จำนวน ๔ แห่ง และปลูกหญ้าแฝกเสริมแนวอนุรักษ์ จำนวน 20,000 กล้า

         3. กิจกรรมการผลิตพืชผัก ดำเนินงานโดยศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงใหม่การดำเนินการผลิตโดยคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับได้การปรับปรุงพันธุ์ที่ดีแล้วสามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผล ผลิตสูง ง่ายต่อการจัดการเรื่องการปลูก บำรุง การป้องกัน โรคและแมลง การเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้แก่ แปลงปลูกมะเขือเปราะเจ้าพระยา มะเขือเทศเชอรี่ มะระเขียว แตงกวาญี่ปุ่น ฝักทองญี่ปุ่น ถั่วฝักยาว พืชสวนครัว จำนวนเนื้อที่ 1 งาน ต่อ 1 Crop

         4. กิจกรรมการผลิตไม้ผล ดำเนินงานโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 โดยพิจารณานำพันธุ์พืชที่มีคุณภาพ เจริญเติบโตได้ดี มีความต้านทานต่อโรคและแมลง คัดเลือกกิ่งพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์ ที่ได้รับการปรับปรุงทางพันธุกรรมที่ดีแล้ว หรือเตรียมกล้าพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture) มาดำเนินการปลูก ได้แก่ แปลงปลูกเชอร์รี่สเปน ไผ่หม่าจู กล้วยน้ำว้า แก้วมังกร แปลงปลูกมะนาวนอกฤดู จำนวน 10 ไร่ ให้ผลผลิต 65,000 ผล/ปี

        5. กิจกรรมปศุสัตว์ ดำเนินการโดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานในกิจกรรมโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 1,500 ตัว/Crop ให้ผลผลิต 418,000 ฟอง/ปี แพะนม จำนวน 103 ตัว ให้ผลผลิต 7,700 กิโลเมตร/ปี โรงผสมอาหารสัตว์ และจัดทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

        6. กิจกรรมประมง ได้รับการสนับสนุนโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ ดำเนินการเลี้ยงปลากดหลวง จำนวน 1,300 ตัว ปลาทับทิม จำนวน 2,500 ตัว และปลานิลจำนวน 1,000 ตัว ในกระชัง

        7. กิจกรรมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการส่งเสริมการเพาะเห็ด ฝึกอบรม ให้การเรียนรู้แก่ราษฎรที่ปฏิบัติงานในฟาร์มฯ เยาวชน กลุ่มเกษตรกร ราษฎรรอบพื้นที่โครงการฯ จำนวน 52 รุ่น 1,040 คน

        8. กิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่า ดำเนินกิจกรรมโดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16

                 8.1 กิจกรรมบำรุงป่าไม้ใช้สอย ทำการปลูกไม้ใช้สอย จำนวน 50 ไร่

                 8.2 กิจกรรมการเพาะเลี้ยงชะมดเช็ด และโครงการศึกษาพฤติกรรมการเพาะขยายพันธุ์ และเก็บสารคัดหลั่งชะมดเช็ด ได้ดำเนินการเพาะเลี้ยงชะมดเช็ดทั้งสิ้น จำนวน 53 ตัว แบ่งเป็นพ่อแม่พันธุ์ 15 ตัว ลูกชะมดเช็ดที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์ 38 ตัว แยกเป็นเพศผู้ 16 ตัว เพศเมีย 17 ตัว และยังไม่ทราบเพศ 5 ตัว สำหรับลูกชะมดเช็ดที่เจริญวัยสามารถจับคู่ผสมพันธุ์ได้ เป็นเพศผู้ จำนวน 16 ตัว เพศเมีย จำนวน 17 ตัว

        9. กิจกรรมการตลาด จำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงการพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้แก่ ผลผลิตไม้ผล พืชผัก ไข่ไก่ โอเมก้า 3 นมแพะ และผลิตภัณฑ์แปรรูป เป็นต้น

         10. กิจกรรมโรงผลิตน้ำดื่ม โดยสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลที่ 1 จังหวัดลำปาง (ศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาล ภาค 6 จังหวัดลำปาง) ผลิตน้ำดื่มเพื่อจำหน่ายให้กับราษฎรในบริเวณพื้นที่โครงการฯ เพื่อที่จะมีน้ำดื่มที่สะอาดบริโภค โดบริหารจัดการในรูปวิสาหกิจชุมชน

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

         1. ราษฎรได้บริโภคผลผลิตของโครงการฯที่มีคุณภาพดี ใหม่สด ปลอดสารพิษ และราคาถูก ได้แก่

               1.1 ไข่ไก่ จำนวน 278 ครัวเรือน

               1.2 เห็ด จำนวน 160 ครัวเรือน

               1.3 พืชผักและไม้ผล จำนวน 55 ครัวเรือน

          2. ราษฎรได้บริโภคน้ำดื่มสะอาด ถูกหลักอนามัย ถูกกว่าท้องตลาด จำนวน 185 ครัวเรือน เป็นการประหยัดเงินรายจ่ายของครัวเรือนในชุมชน รวมกัน 4,500 บาท/เดือนหรือ 54,000 บาท/ปี

          3. ราษฎรสมาชิกสามารถบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนโรงน้ำดื่มได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินงบประมาณของทางราชการ

         4. สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ชะมดเช็ดได้ประสบความสำเร็จ สนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ชะมดเช็ด

         5. ราษฎรไม่ขยายบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ป่า ทำให้พื้นที่ป่าไม้รอบพื้นที่โครงการฯ มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นจำนวน 1,100 ไร่

ข้อมูลติดต่อโครงการ

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
153 ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่50100
053-276-100
053-274-431
fca16@gmail.com