สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ 2018-06-15T16:30:23+00:00

Project Description

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

“ความเป็นมาของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์”

history

กำเนิดโครงการหลวงอินทนนท์

วันเฉลิมฯ ปี พ.ศ.2522 ทรงเชิญคณะรัฐมนตรีไปรับพระราชทานเลี้ยงร่วมกับข้าราชบริพารที่พระราชวังบางประอิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งถามผู้เขียนว่าเรื่องดอยอินทนนท์เป็นอย่างไร และเมื่อทราบว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็มีรับสั่งกับนายกรัฐมนตรี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ศุภนิมิตอันดีของโครงการหลวงอินทนนท์ก็เพราะถือกำเนิดหนึ่งวันหลังวันเฉลิมพระชนมพรรษา

หลังจากนั้นงานพระราชทานงานเลี้ยงผู้เขียนขับรถกลับกรุงเทพฯ เข้านอนยังไม่หลับดีก็ได้รับโทรศัพท์ว่ารุ่งขึ้นเช้า วันที่ 6 ธันวาคม 2522 ท่านนายกขอให้ร่วมคณะบินไปดอยอินทนนท์ คณะของนายกรัฐมนตรีประกอบด้วย รมต.สำนักนายก รองเลขาฯนายก ผู้เขียน อธิบดี 4 กรม เลขาธิการปฏิรูปที่ดินและผู้ว่าราชการเชียงใหม่ ข้าราชการท้องที่ เช่น นายอำเภอ ตำรวจ และหัวหน้าอุทยานแห่งชาติขึ้นไปสมทบที่บังกะโลป่าไม้ขุนกลาง

**เก็บความจากหนังสือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการหลวง” บทนิพนธ์ของหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี พุทธศักราช 2531

history3
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์วันนี้

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เลขที่ 202 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ราษฎรที่อาศัยบนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงและเผ่าม้ง ซึ่งบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และฝิ่น ส่งผลให้ป่าที่เคยสมบูรณ์กลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวเขาเหล่านั้นให้มีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง และได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่ ปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ด้วยการหันมาทำการเกษตรแบบถาวร อันเป็นที่มาของการจัดตั้ง “สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์” ในปี พ.ศ.2522 ณ บริเวณบ้านขุนกลาง เพื่อเป็นสถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงอีกแห่งหนึ่ง ดำเนินงานวิจัยด้านไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผัก และไม้ผล รวมทั้งถ่ายทอดผลงานวิจัยไปสู่การส่งเสริมให้เป็นรายได้ของครอบครัวเกษตรกรทั้งชาวกะเหรี่ยง และ ม้งในหมู่บ้านรอบๆ สถานีฯ พร้อมกับการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานพัฒนาด้านสังคมและการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและโปรดให้เป็น “สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์” ในปี พ.ศ.2550

ที่มา:http://www.royal-inthanon.com

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน   

สถานที่ตั้งและประชากร

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

ลักษณะภูมิประเทศ

เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีความลาดเทตั้งแต่ 10-60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 400-1,400 เมตรพิกัด MP 491503 ระวาง 4746 II

ลักษณะภูมิอากาศ

อุณหภูมิสูงสุด 31.9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 4.2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 18.05 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 2,487.9 มิลลิเมตร/ปี

ประชากร

ประกอบด้วยชาวประชากรชาวไทยภูเขา 2 เผ่า คือเผ่าม้ง และปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง)

 
 
ที่มา:http://www.royal-inthanon.com

งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขา ทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร
ควบคู่ไปกับการดำเนินงานด้านเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนและการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

1 (1)

งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพภาคการเกษตร

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์นำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยถ่ายทอดสู่เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และกะเหรี่ยงในพื้นที่ 9 กลุ่มบ้าน มีเกษตรกรจำนวน 1200 คน ชนิดพืชที่สถานีฯส่งเสริมได้แก่

  • ผักอินทรีย์ ได้แก่ ผักกาดกวางตุ้ง, ผักกาดฮ่องเต้, ผักกาดเบบี้ฮ่องเต้, เบบี้แครอท, ถั่วแขก, กรีนโอ๊คลีฟ, เรดโอ๊คลีฟ, ผักกาดหวาน
  • ผักปกติ (GAP) ได้แก่ เฟนเนล, เซเลอรี่, ซูกินี่, พริกวานสีเขียว, มะเขือเทศโครงการหลวง, มะเขือเทศเชอรี่แดง, ถั่วแขก, กะหล่ำปลี, หอมญี่ปุ่น, มันฝรั่ง
  • ไม้ผล ได้แก่ พลับ, พี้ช, พลัม, บ๊วย, อาโวกาโด, สตอเบอรี่พันธุ์ 80, เคปกูสเบอรี่, เสาวรสหวาน, องุ่น, มัลเบอรี่, กีวี่ฟรู้ต, ราสพ์เบอรี่, ฟิก (มะเดื่อฝรั่ง)
  • ไม้ดอก ได้แก่ กุหลาบ, เจอบีร่า, ลิ้นมังกร, ออนิโทกาลั่ม, จิ๊ปซอฟฟิลล่า
  • กาแฟอาราบิก้า
  • พืชไร่ ได้แก่ ถั่วอะซูกิ, ถั่วแดงหลวง, ข้าวเปลือก, ข้าวเหนียวก่ำ

1

งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพนอกภาคการเกษตร

การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพนอกภาคการเกษตรเป็นการสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง ซึงอาชีพนอกภาคการเกษตรที่สถานีฯได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุน มีดังนี้

  • ได้ดำเนินการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้การฟื้นฟูและอนุรักษ์งานหัตถกรรมของชุมชนเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นสำหรับการใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและการจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริม ได้แก่ การฟื้นฟูอนุรักษ์งานหัตถกรรมของชนเผ่าต่างๆ, งานแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอ เป็นต้น
  • งานท่องเที่ยว ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ ได้ร่วมกับชุมชนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมฟื้นฟูวัฒนธรรม และพัฒนามาตรฐานด้านการท่องเที่ยวของชุมชนในพื้นที่การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแม่กลางหลวงซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน บริการนำเที่ยวโดยมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและบริการที่พัก อาหาร และกิจกรรมเดินป่าศึกษาเส้นทางธรรมชาติ

3 (1)

การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

  • พัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด 
  • พัฒนาและส่งเสริมด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชนชาวเขา ได้แก่ กิจกรรม ชุมชนอยู่ดีมีสุข
  • ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาและสังคม ได้แก่ กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงสู่เยาวชนในโรงเรียนและการนำไปปฏิบัติจริง
  • ส่งเสริมและพัฒนาการรวมกลุ่มพึ่งพาตนเองของชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้ปลูกไม้กระถางอินทนนท์ กลุ่มผู้ผลิตพืชอินทรีย์บ้านเมืองอาง

1 (2)

การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • งานอนุรักษ์ดินและน้ำ ได้แก่ การปลูกแฝก, การผลิตปุ๋ยอินทรีย์
  • งานปลูกป่าชาวบ้านและฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร ได้แก่ กิจกรรมปลูกป่า (ไม้โตเร็ว เช่น จันทร์ทองเทศ, เมเปิ้ลหอม, ไผ่รวก)
  • กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมีและเฝ้าระวังการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อม
  • กิจกรรมรณรงค์การเก็บขยะพิษตามลำน้ำ
  • กิจกรรมรณรงค์การใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดโรคแมลง

2 (1)

ที่มา:http://www.royal-inthanon.com

“งานวิจัยเกษตรบนพื้นที่สูง”

3

  • การดำเนินงาน ณ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ งานวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน งานวิจัยเป็นจำพวกไม้ดอกและไม้ประดับ มีทั้งการพัฒนาและรวบรวมสายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อจำหน่ายเป็นไม้ตัดดอกและไม้ตัดใบ ประเภทผักก็มีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ต้านทานโรค พืชไร่ก็มีการส่งเสริมให้เกษตรกรขยายพันธุ์ข้าว งานไม้ผลมีปรับปรุงเพื่อทดสอบสายพันธุ์ใหม่ให้ทนต่อการปลูกบนที่สูงของประเทศไทย และมีการส่งเสริมงานประมงบนพื้นที่สูง
  • ด้านที่สองคือการเป็นศูนย์การเรียนรู้การเกษตรบนพื้นที่สูง เพื่อส่งเสริมให้ผลงานวิจัยของสถานีเผยแพร่ไปยังชุมชนและผู้สนใจ โดยที่สถานีหลักจะมีการจัดแสดงรวบรวมพันธุ์ไม้บนที่สูง งานผลิตพืชและไม้กระถาง และงานวิจัยประมงบนพื้นที่สูง
  • และสุดท้าย มีการดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขาไปพร้อมกับการฟื้นฟูอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยมีการส่งเสริมปลูกพืชไร่ งานหัตถกรรม งานท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ งานเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน งานฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

“จุดเยี่ยมชมภายในสถานี”

 


สวน 80 พรรษา สวน 80 พรรษา

สวน 80 พรรษา

สวน 80 พรรษา ซึ่งจัดในปี พ.ศ.2550 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา และเป็นสถานที่จัดแสดงขึ้นเพื่อรองรับการศึกษาดูงานของผู้มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับพรรณไม้ดอกเมืองหนาว โดยพรรณไม้ที่อยู่ในสวนเป็นการนำพรรณไม้ดอก ไม้ยืนต้น ที่ได้จากงานวิจัยของนักวิชาการ ที่นำออกมาสาธิต ในรูปแบบของการจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม ภายในสวนตกแต่งด้วยไม้ดอกเมืองหนาวนานาชนิด


น้ำตกสิริภูมิ/สวนหลวงสิริภูมิ น้ำตกสิริภูมิ/สวนหลวงสิริภูมิ

น้ำตกสิริภูมิ/สวนหลวงสิริภูมิ

สวนหลวงสิริภูมิ เป็นสวนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์เฟิน ภายในมีน้ำตกขนาดเล็กซึ่งเป็นน้ำตกชั้นล่างของน้ำตกสิริภูมิ มีลำธารไปตามบริเวณสวนตลอดปี เป็นแหล่งเก็บรวมรวมเฟินทั้งของไทยและต่างประเทศ ประมาณ 30 สกุล 50 ชนิด จุดเด่นภายในสวน คือ กูดต้น หรือ ทรีเฟิน (Tree Fern) เป็นเฟินขนาดใหญ่และมีลำต้นสูงร่วม 10 เมตร ซึ่งมีประมาณกว่า 10 ชนิดพื้นที่ประมาณ 8 ไร่เพื่อปลูกฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำบริเวณนี้


โรงเรือนจัดแสดงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ โรงเรือนจัดแสดงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

โรงเรือนจัดแสดงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

เป็นการจัดแสดงพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับ ที่ไม่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป และเป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ภายใต้โรงเรือนที่มีหลังคากันฝน เช่น กล้วยไม้, ฟิวเซีย , ปิโกเนีย, สับปะรดประดับ ฯลฯ


สวนกุหลาบพันปี สวนกุหลาบพันปี

สวนกุหลาบพันปี

สวนกุหลาบพันปี เป็นสวนที่เกิดจากการศึกษาและขยายพันธุ์กุหลาบพันปีพืชในสกุล Rhododendron จากแหล่งต่างๆ ที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ตามพื้นที่สูง ทั้งในและต่างประเทศ เช่น พม่า มาเลเซีย ทิเบต ภายในสวนประกอบไปด้วย กุหลาบพันธ์ปีจำนวน 3 สายพันธุ์ คือ 

กลุ่มที่ 1 Rhododendron

  • Rhododendron สีแดง ได้แก่ คำแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในดอยอินทนนท์ และมีชื่อเสียง, กุหลาบแดงอีสาน ซึ่งมีการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคอีสานของไทย
  • Rhododendron สีขาว ได้แก่ สีขาวอินทนนท์, สีขาวเชียงดาว, กุหลาบขาว

กลุ่มที่ 2 Azalea 
Azalea เป็นพืชกลุ่มหนึ่งในตระกูล Rhododendron เป็นลูกผสมจากงานศึกษาและค้นคว้า และทดสอบพันธ์ ซึ่งมีจัดแสดงอยู่ในสวนกุหลาบพันปี

กลุ่มที่ 3 Vireyas
Vireyas เป็นพันธุ์ลูกผสม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย


โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงเฟิน โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงเฟิน

โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงเฟิน

โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงเฟิน ซึ่งรวบรวมเฟินที่หายากชนิดต่างๆ ไว้มากมายหลายชนิด ทั้งของไทย และต่างประเทศ ซึ่งบางชนิดใกล้สูญพันธุ์แล้ว เป็นโรงจัดแสดงเฟินที่มีความสำคัญทางด้านพืชสวนและเศรษฐกิจ ซึ่งมีประมาณ 50 สกุล 200 กว่าชนิด และยังมีเฟินรัศมีโชติ ซึ่งเป็นเฟินประจำถิ่นของพื้นที่ ที่ได้รับพระราชทานนาม จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร


โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงพืชกินสัตว์ โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงพืชกินสัตว์

โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงพืชกินสัตว์

โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงพืชกินสัตว์ รวบรวมพืชกินสัตว์ หรือพืชกินแมลง เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง, พิงกุย ชนิดต่างๆ ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศบนพื้นที่สูง


โรงเพาะกล้าเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร (NURSERY) โรงเพาะกล้าเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร (NURSERY)

โรงเพาะกล้าเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร (NURSERY)

เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการผลิตผัก และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตต้นกล้าที่ถูกต้องและเหมาะสมให้เกษตรกร อาทิเช่น เซเลอรี่ เฟนเนล มะเขือเทศโครงการหลวง ซุกินี่ เคพกูสเบอรี่ เสาวรส ฯลฯ


โรงผลิตพืชไร้ดิน (Hydroponics) โรงผลิตพืชไร้ดิน (Hydroponics)

โรงผลิตพืชไร้ดิน (Hydroponics)

รวบรวมผักเมืองหนาวประเภทสลัด ปลูกโดยวิธีไร้ดิน เน้นผักสลัด 5 ชนิด ของโครงการหลวง อาทิ ผักกาดหวาน กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ก บัตเตอร์เฮด ฟิลเล่ย์ไอส์เบริก เป็นต้น 


โรงเรือนผลิตไม้กระถาง โรงเรือนผลิตไม้กระถาง

โรงเรือนผลิตไม้กระถาง

เป็นแหล่งผลิตไม้กระถางเพื่อการค้า เช่น เฟินกระถาง ประมาณ 20 ชนิด ไม้ดอกไม้ประดับ 26 ชนิด และผลิตต้นกล้าไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อสนับสนุน งานส่งเสริมเกษตรกร ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านการผลิตไม้กระถางแก่ผู้ที่สนใจ


สวนซากุระ สวนซากุระ

สวนซากุระ

เป็นสวนปลูกและรวบรวมพืชในวงค์ Prunus เช่น ซากุระ ท้อดอก พลัม บ๊วย ฯลฯ