สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง 2018-06-15T15:27:21+00:00

Project Description

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ความเป็นมา

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม ทดแทนการปลูกฝิ่น สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง อยู่บนเทือกเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน

doi-angkhang-chiangmai-thailand-10

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่ง สำคัญต่อระบบนิเวศ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้

จึงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัย และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิด ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน       

 01_b (1)
 

สถานที่ตั้งและประชากร

           สถานีเกษตรหลวงอ่างขางตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ที่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ พิกัด E 504500.13 เมตร N 2201300.87 เมตร ระวาง 4848 IV อยู่บนดอยอ่างขาง ซึ่งตั้งอยู่ประมาณเส้นรุ้งที่ 190 15’ – 190 57’ เหนือ และเส้นแวงที่ 990 01’ – 990 03’ ตะวันออก อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร มีพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรในงานวิจัยประมาณ 1,989 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ รวม 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา บ้านขอบด้ง บ้านผาแดง บ้านสินชัย และบ้านถ้ำง๊อบ ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร จำนวน 4 เผ่า อันได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และ จีนยูนนาน

การเดินทาง

การเดินทาง สามารถเดินทางขึ้นดอยอ่างขางได้ทั้งหมด 3 เส้นทาง แต่เส้นทางที่ใช้เป็นหลัก มีอยู่เส้นทางเดียวคือ ขึ้นดอยอ่างข่างที่กิโลเมตรที่ 137 ณ วัดหาดสำราญ

การเดินทางโดยรถยนต์

การเดินทางโดยรถยนต์สามารถเดินทางไปได้หลาย 3 เส้นทาง ดังนี้

  1. ขึ้นดอยอ่างขาง ณ วัดหาดสำราญ กม 137 สามารถใช้เส้นทาง เชียงใหม่-ฝาง (เส้นทางหลวงหมายเลข 107) มาถึงปากทางขึ้นดอยอ่างขาง ให้เลี้ยวซ้ายตามถนน ซึ่งค่อนข้างลาดชัน มีทางโค้งและสูงช้น
  2. ขึ้นดอยอ่างขาง ณ อำเภอเชียงดาว กม 79 จากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวงหมายเลข 107) เดินทางเรื่อยมาจนถึงอำเภอเชียงดาว บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 79 จะพบทางแยก (เส้นทางหมายเลข 1) เลี้ยวซ้ายผ่าน ต.เมืองงาย บ้านอรุโณทัย บ้านหลวง เส้นทางค่อนข้างแคบแต่ไม่ลาดชัน
  3. เส้นทางจากอำเภอฝาง-หมู่บ้านนอแล มีระยะทางสั้นที่สุด แต่มีความลาดชัดมากและไหล่ทางชำรุด เป็นหลุมบ่อ พื้นถนนเป็นหินกรวด เส้นทางนี้เป็นเส้นทางเลียบแนวชายแดนไทย-พม่า ตลอดทางจะมีด่านทหาร และพบเห็นทั้งค่ายทหารของไทย และพม่า บริเวณสองริมฝั่งหุบเขา ไม่แนะนำให้ไปโดยเด็ดขาด

การเดินทางโดยรถประจำทาง

  1. เดินทางจาก จังหวัดเชียงใหม่ – ดอยอ่างขาง สามารถโดยสารรถประจำทางสายเชียงใหม่-ฝาง หรือ เชียงใหม่-ท่าตอน มาลงที่ปากทางดอยอ่างขาง หน้าวัดหาดสำราญ กิโลเมตรที่ 137 จากนั้นใช้บริการรถสองแถว รถตู้ หรือรถมอเตอร์ไซด์ขึ้นดอยอ่างขางอีกครั้งหนึ่ง หรือเดินทางด้วยรถตู้ประจำทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปยังอ่างขาง ได้เช่นกัน
  2. เดินทางจาก จังหวัดเชียงราย – ดอยอ่างขาง สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทาง เชียงราย – ดอยอ่างขางได้เช่นกัน

ที่พักภายในสถานีเกษตร

อ่างขาง มีที่พักไว้บริการนักท่องเที่ยว และมีสถานที่สำหรับให้นักท่องเที่ยวกางเต็นท์ได้

การดำเนินงานของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

18_b

วัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานของสถานีฯ

1. เป็นสถานีดำเนินงานวิจัยหลักของโครงการวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวและงานวิจัยป่าไม้ และงานเกษตรที่สูง 

2. เป็นสถานที่ ฝึกอบรม และเผยแพร่ผลงานแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร 

3. ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ แก่เกษตรกรชาวเขาในหมู่บ้านรอบๆ สถานีฯ

การดำเนินงานของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

11_b

1. งานศึกษาวิจัย

 สถานีเกษตรหลวงอ่างขางตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดปี ดังนั้นจึงเป็นสถานีหลักในการศึกษาวิจัยไม้ผลเขตหนาวของโครงการหลวงนับเป็นสถานีวิจัยไม้ผลเมืองหนาวที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยที่ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่
1.1 งานรวบรวมและศึกษาพันธุ์ไม้ผลเขตหนาวชนิดต่างๆ เช่น พี้ช, สาลี่, พลับ, พลัม, บ๊วย, กีวีฟรุ้ท และสตรอเบอรี่
1.2 งานศึกษาพันธุ์ไม้โตเร็วชนิดต่าง ๆ และไผ่ต่าง ๆ สำหรับใช้ปลูกทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลาย เช่น ไม้โตเร็ว กระถินดอย, เมเปิลหอม, จันทร์ทอง ฯ, เพาโลเนีย และไผ่หวานอ่างขาง, ไผ่หยก
1.3 งานศึกษาและทดสอบพันธุ์ไม้ตัดดอก บางชนิด เช่น กุหลาบ, ฟรีเซีย, โปรเทีย ไม้หัวและไม้ดอกกระถาง
1.4 งานศึกษาและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพร พืชผักเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ และผักใหม่ชนิดต่าง ๆ 
1.5 งานศึกษาพืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวสาลี, ลินิน

08_b

2.งานเผยแพร่และฝึกอบรม

เนื่องจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นแหล่งทางวิชาการปลูกพืชบนที่สูงที่สำคัญของประเทศในแต่ละปีใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรของมูลนิธิฯ จำนวนมากประกอบกับมีผู้สนใจจากองค์กรและสถาบันต่างๆ เข้าเยี่ยมชมและดูงานเป็นอันมาก มูลนิธิโครงการหลวงจึงได้จัดสร้างอาคารฝึกอบรมการเกษตรที่สูง ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมและเผยแพร่งานของโครงการหลวงในด้านต่างๆให้แก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ของโครงการหลวง ส่วนราชการ ผู้สนใจ และ แก่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ธันวาคม 2540

17_b

3.งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกร

                    เป็นการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรชาวเขาบริเวณรอบๆ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ รวม 4 เผ่า ได้แก่ ปะหล่อง มูเซอ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ โดยมีส่วนราชการต่างๆ ร่วมดำเนินงานในรูปคณะทำงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง

3.1งานทดสอบและส่งเสริมพืชเครื่องดื่มชา
ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกชาพันธุ์ No.12 (ชาเขียวและชาอูหลง), หย่วนจืออูหลง, พันธุ์ลูกผสม (ชาเขียวและอูหลง)

3.2งานส่งเสริมผัก

มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักที่แปลง 2000 ,บ้านนอแล และ บ้านขอบด้งหลากหลายชนิดด้วยกัน เช่น ผักกาดหางหงส์, คะน้าใบหยิก, กะหล่ำปลีหัวใจ คะน้าฮ่องกง, ถั่วหวาน ฯลฯ 

3.3งานส่งเสริมไม้ดอก 

ได้ให้เกษตรกรปลูกดอกหลายชนิดด้วยกัน เช่น กุหลาบตัดดอก (บ้านนอแล), เบญจมาศ (บ้านขอบด้ง), ยูคาลิบตัส (บ้านนอแล),ไม้กระถางสาธิต(บ้านขอบด้ง)

3.4งานส่งเสริมสตรอเบอรี่

มีการแนะนำเกษตรกรบ้านขอบด้งในการเก็บผลผลิตสตรอเบอรี่ที่ถูกต้องเพื่อจำหน่าย และวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูสตรอเบอรี่ รวมถึงการให้ปุ๋ย เป็นต้น

3.5งานส่งเสริมไม้ผล 

ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูก บ๊วย, พี้ช, สาลี่, พลับ, และแนะนำวิธีการเปลี่ยนพันธุ์ ต่อกิ่ง การให้ปุ๋ย และ การดูแลรักษา

3.6งานส่งเสริมกาแฟ

มีการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ดูแลถึงวิธีการให้ปุ๋ย การใช้สาร เพื่อป้องกันโรคและแมลง 

3.7งานส่งเสริมพืชไร่

ส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกลินิน และ ปลูกข้าวบาร์เล่ย์ (เพื่อทำดอกไม้แห้ง)

3.8งานป่าชาวบ้าน

ส่งเสริมชาวเขาเผ่าปะหล่องที่เข้าร่วมโครงการป่าชาวบ้านปลูกป่าพวกพรรณไม้โตเร็วของประเทศไต้หวันและมีการตัดแต่งกิ่งไม้ที่โตแล้วนำไปใช้งาน (ทำฟืน)

ที่มา : http://www.angkhangstation.com

งานคณะศึกษาดูงาน

กลุ่มหน่วยงาน
เข้าศึกษาดูงาน
วิทยากรสถานีฯ
อ่างขาง
รูปแบบการดูงาน พื้นที่เข้าดูงาน

1

หน่วยงาน
ด้านการเกษตร

เจ้าหน้าที่
ประชาสัมพันธ์ 

เจ้าหน้าที่
ประจำแปลง
 ชมวีดีทัศน์ 
 ฟังบรรยายสรุปงานสถานีฯ อ่างขาง 
 ชมงานในแปลงเกษตร 
 กิจกรรมเกษตรลองDO 
 สวนไม้ดอกกลางแจ้ง 
 อาคารผลิตผลสถานีฯ อ่างขาง 
 แปลงไม้ผล- แปลงผักสถานีฯ 
 สวนบอนไซ-เรือนกุหลาบตัดดอก 
 เรือนดอกไม้ 

2

หน่วยงานเทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล 

เจ้าหน้าที่
ประชาสัมพันธ์ 
 ชมวีดีทัศน์ 
 ฟังบรรยายสรุปงานสถานีฯ อ่างขาง 
 ชมงานในแปลงเกษตร 
 กิจกรรมเกษตรลองDO 
 สวนไม้ดอกกลางแจ้ง 
 อาคารผลิตผลสถานีฯ อ่างขาง 
 แปลงไม้ผล- แปลงผักสถานีฯ 
 สวนบอนไซ-เรือนกุหลาบตัดดอก 
 เรือนดอกไม้ 

3

สถาบันการศึกษา 

เจ้าหน้าที่
ประชาสัมพันธ์ 

เจ้าหน้าที่
ประจำแปลง 
 ชมวีดีทัศน์ 
 ฟังบรรยายสรุปงานสถานีฯ อ่างขาง 
 ชมงานในแปลงเกษตร 
 กิจกรรมเกษตรลองDO 
 สวนไม้ดอกกลางแจ้ง 
 อาคารผลิตผลสถานีฯ อ่างขาง 
 แปลงไม้ผล- แปลงผักสถานีฯ 
 สวนบอนไซ-เรือนกุหลาบตัดดอก 
 เรือนดอกไม้ 

4

หน่วยงาน
รัฐวิสาหกิจ
เอกชน 
ทั่วไป 

เจ้าหน้าที่
ประชาสัมพันธ์ 
 ชมวีดีทัศน์ 
 ฟังบรรยายสรุปงานสถานีฯ อ่างขาง 
 ชมงานในแปลงเกษตร 
 กิจกรรมเกษตรลองDO 
 สวนไม้ดอกกลางแจ้ง 
 อาคารผลิตผลสถานีฯ อ่างขาง 
 แปลงไม้ผล- แปลงผักสถานีฯ 
 สวนบอนไซ-เรือนกุหลาบตัดดอก 
 เรือนดอกไม้ 

5

หน่วยงาน
ต่างประเทศ 

เจ้าหน้าที่
ประชาสัมพันธ์ 

เจ้าหน้าที่
ประจำแปลง 
 ชมวีดีทัศน์ 
 ฟังบรรยายสรุปงานสถานีฯ อ่างขาง 
 ชมงานในแปลงเกษตร 
 สวนไม้ดอกกลางแจ้ง 
 อาคารผลิตผลสถานีฯ อ่างขาง 
 แปลงไม้ผล- แปลงผักสถานีฯ 
 สวนบอนไซ-เรือนกุหลาบตัดดอก 
 เรือนดอกไม้ 

6

สื่อมวลชน

เจ้าหน้าที่
ประชาสัมพันธ์ 

เจ้าหน้าที่
ประจำแปลง 
 ชมวีดีทัศน์ 
 ฟังบรรยายสรุปงานสถานีฯ อ่างขาง 
 ชมงานในแปลงเกษตร 
 สวนไม้ดอกกลางแจ้ง 
 อาคารผลิตผลสถานีฯ อ่างขาง 
 แปลงไม้ผล- แปลงผักสถานีฯ 
 สวนบอนไซ-เรือนกุหลาบตัดดอก 
 เรือนดอกไม้ 

***รูปแบบและพื้นที่การดูงานสามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมะสมหรือตามความสนใจของคณะ 

ระเบียบและข้อปฏิบัติ 
ในการขอเข้าศึกษาดูงานของสถานี

 

ส่งแบบฟอร์มเข้าทำกิจกรรม
มาที่ 053-969-475

 

ติดต่อสถานี

www.angkhangstation.com
www.facebook.com/angkhangstation

สำนักงานสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
โทร : 053-969-489

สำหรับจองที่พัก หรือสอบถามร้านอาหารสถานีฯ อ่างขาง
โทร : 053-969-476-78 ต่อ 114

ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอ่างขาง
โทร : 053-969-489