Project Description
โครงการหลวงอ่างเก็บน้ำห้วยเสี้ยว
ความเป็นมา
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยเริ่มดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมด้านระบบอนุรักษ์ดินและน้ำและทำการส่งเสริมปลูกพืชไร่เป็นลำดับแรก ต่อมาได้ทำการขยายผลการดำเนินงานไปในด้านส่งเสริมไม้ผลเขตร้อน และดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป ปัจจุบันศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว มีพื้นที่รับผิดชอบดำเนินงาน 6,000 ไร่
วัตถุประสงค์
1 เพื่ออบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่เหมาะสม (อย่างน้อยให้มีรายได้พอกิน)
2 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านสังคม การศึกษา สาธารณสุข ความเข้มแข็งของชุมชน
3 เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ
หลักการและแนวคิด
มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง และรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมรวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของการพัฒนาพื้นสูงอย่างยั่งยืน
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
การดำเนินงาน
กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ)
งานทดสอบและสาธิต
การปลูกพืช งานทดสอบพืชผัก ได้ทำการทดสอบสาธิตจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ มะระขาว กะหล่ำปมเขียวข้าวโพดหวานสองสี และบวบหอมงานทดสอบและสาธิต ไม้ผล จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ มะม่วง มะละกอ ขนุน พุทรา ทับทิมเมล็ดนิ่ม และมะปราง มะม่วง เพื่อศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ นำไปส่งเสริมกับเกษตรกร พบว่ามีมะม่วงบางพันธุ์ เช่น มะม่วงพันธุ์นวลคำ ปาล์มเมอร์ และเออร์วิน สามารถให้ผลผลิตได้ดีและเป็นที่ต้องการของตลาด จึงได้ขยายหน่วยงานส่งเสริมแก่เกษตรกร
แปลงทดสอบไม้ผลเขตร้อน เนื่องจากศูนย์มีสภาพภูมิอากาศค่อนข้างร้อน และแห้งแล้ง ทำให้ไม่สามารถปลกพืชเขตหนาวได้ จึงได้มีการนำไม้ผลเขตร้อนมาศึกษาและทดสอบ ได้แก่ น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง มะปรางพันธุ์ทูลเกล้า ขนุน 5 สายพันธุ์ น้อยหน่า พุทธา และมะปราง
ผลการดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ
1. สามารถส่งน้ำช่วยเหลือการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งแก่ราษฎรในพื้นที่โครงการหลวงห้วยเสี้ยว จำนวน 600 ไร่
2. สามารถน้ำในอ่างเพื่อการอุปโภค-บริโภค ของราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
3. สามารถใช้น้ำในอ่างเพื่อดับไฟป่าในช่วงฤดูแล้งและบรรเทาหมอกควันในการเกิดไฟป่า
4. บรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝนในเขตตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ปัจจัยความสำเร็จ
เกษตรกรผู้ใช้น้ำรู้จักคุณค่าของวิธีการใช้น้ำอย่างประหยัดและถูกหลักวิชาการชลประทาน ตลอดจนร่วมกันดูแลรักษาอ่างเก็บน้ำ
บทเรียนที่ได้รับ
เนื่องจากในปี พ.ศ. 2553 เกิดสภาวะโลกร้อนและภัยแล้ง ทำให้คุณภาพผลผลิตไม่ได้มาตรฐานของมูลนิธิฯ ศูนย์ฯ จึงส่งผลผลิตไม่ได้ตามแผน พ่อค้าในท้องถิ่นแย่งซื้อผลผลิตของเกษตรกร ไม่มีเครื่องมือและเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สารตกค้าง
ข้อมูลติดต่อโครงการ
โครงการหลวงอ่างเก็บน้ำห้วยเสี้ยว
ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่