Project Description
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพื้นเมืองต่างๆ เช่น สกุลขมิ้น กล้วยไม้ ไม้ดอกหอม ไม้ดอกสีม่วง และพืชพื้นบ้านต่างๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2554 ได้มีการจัดทำแผนแม่บทในการดำเนินงาน ให้สอดรับกับแผนงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีระยะ5 ปีที่ 4 (ตุลาคม 2549 – กันยายน 2554) และได้มีการกำหนดพื้นที่ศึกษาเพื่อใช้ในการศึกษาการเรียนรู้ทรัพยากร ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หริภุญไชย จังหวัดลำพูน เพื่อเป็นการปกปักพันธุกรรมพืชที่มีอยู่ สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช และปลูกรักษาพันธุกรรมพืช สามารถนำมาขยายผล โดยนำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช และการพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต นอกจากนั้นแล้ว ยังมีภารกิจในการส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่อนุรักษ์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และการนำพันธุกรรมพืชไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) ให้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช
2) ให้ร่วมคิดร่วมปฏิบัติจนเกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย
3) ให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช สื่อกันถึงทั่วประเทศ
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
พื้นที่ดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
หลักการและแนวคิด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีการเรียนการสอนและการวิจัยในสาขาหลักครบทุกสาขา (วิทยาศาสตร์และเทคโนลี วิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์) รวมไปถึงการบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งมีศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองลำพูน โดยพื้นที่ส่วนใหญ่โดยรอบศูนย์ฯ มีลักษณะเป็นป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณเสื่อมโทรมที่อยู่ในระหว่างการฟื้นตัว และมีชุมชนอาศัยอยู่โดยรอบซึ่งยังคงมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าภายในศูนย์การศึกษาฯ และพื้นที่โดยรอบ โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการยังชีพและการค้าขายผลผลิตจากป่าในบทบาทของการเป็นสถานที่ดำเนินการวิจัยและให้การศึกษา
กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
๑) การรวบรวมความรู้พื้นที่ฐานที่เกิดจากโจทย์วิจัย
๒) การนำความรู้พื้นฐานไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ
๓) การขยายการให้ความรู้ให้ชุมชน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชน โดยมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จในระดับที่ ๑ และ ๒ เป็นอย่างมาก และมีความพยายามที่จะเพิ่มความสำเร็จในระดับที่ ๒ รวมไปถึงการสร้างกิจกรรมและเพิ่มความสำเร็จในระดับที่ ๓ ต่อไป
ผลการดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ
๑) มีงานวิจัยที่เป็นรูปธรรม อย่างน้อย 2 โครงการ
๒) มีการนำเสนอผลงานของโครงการ อพ.สธ.-มช 5 ครั้ง
๓) มีผลงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่อง การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวลัวะและชาวถิ่นบนดอยภูคา จังหวัดน่าน เป็นต้น
ปัจจัยความสำเร็จ
คณะกรรมการโครงการ อพ.สธ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการทบทวนแผนแม่บทเพื่อปรับปรุงกรอบแนวทางการดำเนินงานดังนี้
1) กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดพื้นที่เพื่อใช้ในการศึกษาการเรียนรู้ทรัพยากร ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หริภุญไชย จังหวัดลำพูน เพื่อเป็นการปกปักพันธุกรรมพืชที่มีอยู่ สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชและปลูกรักษาพันธุกรรมพืช
2) กรอบการใช้ประโยชน์
ผลที่ได้จากการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช สามารถนำมาขยายผล โดยนำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืชและการพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
3) กรอบการสร้างจิตสำนึก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถาบันการศึกษา มีภารกิจในการส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่อนุรักษ์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และการนำพันธุกรรมพืชไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
บทเรียนที่ได้รับ
๑) เป็นศูนย์รวบรวมพันธุ์พืชพื้นบ้านภาคเหนือและแปลงวนเกษตรตามแนวทางโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมากจากพระราชดำริฯ ซึ่งจะรวบรวมพันธุ์พืชทั้งในท้องถิ่นและทั่วไป
๒) เป็นศูนย์การเรียนรู้ในเรื่องพันธุ์พืชพื้นบ้านภาคเหนือและแปลงวนเกษตรให้แก่นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และบุคคลทั่วไปให้ทราบและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์ไม้พื้นถิ่น ไม่ให้สูญหายไปจากแผ่นดิน
๓) สร้างเครือข่ายของแหล่งการเรียนรู้ภายในประเทศในเรื่องของการอนุรักษ์พันธุ์พืช
๔) เป็นการนำความรู้จากการศึกษาวิจัยพืชพรรณและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่อสร้างฐานองค์ความรู้ทางวิทยาการ เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานโครงการ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศูนย์บริหารงานวิจัย สำนักงานมหาวิทยาลัย
ผู้ประสานงาน: นายธรรมนูญ น่วมอนงค์ โทร 05394 2677 โทรสาร 05394 3600