Project Description
โครงการพัฒนาระบบท่อส่งน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการอุปโภค
อ่างเก็บน้ำห้วยแม่อมลอง
ความเป็นมา
โครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำแม่อมลอง ได้ก่อสร้างโดยกรมชลประทาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 และได้มอบให้ราษฎรบ้านบ่อสลี หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการอุปโภคและด้านการเกษตร ปัจจุบันซึ่งใช้ลำเหมืองผันส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่อมลองเข้าพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรและส่งน้ำเข้าสู่สระน้ำเก็บน้ำบ้านบ่อสลี เนื่องจากลำเหมืองดังกล่าวเป็นลำเหมืองดิน ทำให้การผันส่งน้ำไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ลำเหมืองเกิดการขาดชำรุด ตื้นเขิน มีการสูญเสียน้ำระหว่างส่งไปตามลำเหมืองเนื่องจากเป็นลำเหมืองดินและมีสารเคมีจากการทำการเกษตรไหลลงปนเปื้อนสู่ลำเหมือง ดังนั้นราษฎรบ้านบ่อสลี จึงมีความต้องการวางท่อส่งน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตรและเพื่อการอุปโภค ตลอดจนอนาคต จะปรับปรุงให้สามารถใช้เป็นน้ำเพื่อการบริโภคต่อไป
วัตถุประสงค์
1 เพื่อลดการสูญเสียน้ำที่จะนำไปใช้เพื่อการเกษตร
2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำอุปโภคเข้าสระเก็บน้ำบ้านบ่อสลี
3 เพื่อลดการปนเปื้อนของสารเคมีและสามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำให้สามารถนำไปใช้เพื่อการบริโภคได้
หลักการและแนวคิด
การน้อมนำหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ โดยใช้แนวทางการดำเนินโครงการ ฯ แก่ปวงชนชาวไทย เพื่อช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้สามารถพึ่งตนเองได้และขยายไปสู่การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งสร้างสังคมเป็นสุขร่วมกันสืบไปความสอดคล้องของโครงการกับองค์ความรู้ตามพระราชดำริ 6 มิติ (ด้านการดำรงชีวิต , ด้านองค์ความรู้ , ด้านเพิ่มรายได้ , ด้านฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ , ด้านส่งเสริมอาชีพ ฯ) โดยการดำเนินงานวางท่อส่งน้ำจากแนวท่อส่งน้ำที่มีอยู่เดิมถึงสระน้ำบ้านบ่อสลีระยะทาง 12,920 เมตร
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
บ้านบ่อสลี หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
การดำเนินงาน
กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ)
โครงการเสนอขอรับการสนับสนุนจากยุทธศาสตร์ส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ ๑) แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแล้วนำมาปรับปรุงใหม่หรือต่อยอดจากโครงการเดิมและผ่านการประชาคมแล้ว
วิธีการ/กิจกรรม/ขั้นตอน ระยะเวลา
1. งานวางท่อส่งน้ำจากเขื่อมอมลอง ระยะทาง 12,920 เมตร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2560
2. ชุดระบายลม ประตูน้ำทองเหลือง
3. ประตูน้ำเหล็กหล่อพร้อมอุปกรณ์
4. การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ และวางระบบการบริหารจัดการ
การใช้ทรัพยากรในพื้นที่/เทคโนโลยีอย่างง่าย และการมีส่วนร่วมของประชาชนมีการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ระบุ: ทรัพยากรบุคคล ราษฎรในหมู่บ้านให้ความร่วมมือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการดำเนินการมีการใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ระบุ: การใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ของราษฎร เช่น จอบ เสียม ในการขุดปรับ พื้นที่ในการวางท่อระบายน้ำประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการ (ห้ามใช้การจ้างเหมาแรงงาน) ระบุ : ราษฎรบ้าน บ่อสลี บ้านอมลองได้ร่วมกันดำเนินการปรับพื้นที่งานขุด , การวางท่อระบายน้ำเชื่อมต่อจากสายหลักเข้าในบ้านเรือน และพื้นที่ทำการเกษตร
ผลการดำเนินงาน ผมสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ
อ่างเก็บน้ำแม่อมลองทำให้ราษฎรบ้านบ่อสลี หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อสลี รวม 332ครัวเรือน 1,097 คนมีน้ำใช้สำหรับทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปีโดยสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ทำการเกษตรครอบคลุมพื้นที่ ในช่วงฤดูฝนและในช่วงฤดูแล้งจำนวน 500 ไร่ รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับปลูกพืชผักสวนครัว พืชไร่ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่สามารถทำการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องทำให้ราษฎรมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวส่งผลให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถนำน้ำที่ได้จากอ่างเก็บน้ำมาปรับปรุงคุณภาพให้สามารถใช้บริโภคได้
– ในการดำเนินการวางท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่อมลองถึงสระน้ำบ้านบ่อสลี จะสามารถลดการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรบ้านบ่อสลี มีแผนที่จะดำเนินการต่อยอดโครงการโดยการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้สามารถนำมาใช้เพื่อการบริโภคได้ในอนาคตต่อไป
– การวางท่อขยายน้ำในอ่างแม่อมลอง ไปสู่อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เป็นแหล่งแพร่ และขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดรวมทั้งเป็นแหล่งจับปลาของราษฎรที่อยู่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งด้วย
– การวางท่อขยายน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่อมลอง ไปสู่บ่อเลี้ยงปลาของโรงเรียนบ้านบ่อสลี สำหรับใช้เลี้ยงปลา เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อสลี
– ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้
ปัจจัยความสำเร็จ
การใช้ทรัพยากรในพื้นที่/เทคโนโลยีอย่างง่าย และการมีส่วนร่วมของประชาชนมีการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ทรัพยากรบุคคล ราษฎรในหมู่บ้านให้ความร่วมมือ การใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ของราษฎร เช่น จอบ เสียม ในการขุดปรับพื้นที่ในการวางท่อระบายน้ำ ประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการ (ห้ามใช้การจ้างเหมาแรงงาน) ระบุ: ราษฎรบ้านบ่อสลี บ้านอมลองได้ร่วมกันดำเนินการปรับพื้นที่งานขุด, การวางท่อระบายน้ำเชื่อมต่อจากสายหลักเข้าในบ้านเรือนและพื้นที่ทำการเกษตรตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการดำเนินการ
บทเรียนที่ได้รับ
วิธีการและขั้นตอนการจัดทำโครงการตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริการระบุรายละเอียดวิธีการดำเนินงาน กิจกรรม ขั้นตอน และระยะเวลาที่จะดำเนินการภายใต้แผนงาน/โครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ มีความยุ่งยากซับซ้อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินโครงการในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน ต้องขอมีการขออนุญาตใช้พื้นที่ ซึ่งมีขั้นตอนที่หาข้อสรุปไม่ชัดเจน
ภาคผนวก
แผนผังโครงการ เช่น ภาพถ่ายสถานที่โครงการ เส้นทางการวางท่อส่งน้ำ ระยะทาง อ่างเก็บน้ำบ้านบ่อสลี ที่น้ำไหลจาก อ่างเก็บน้ำแม่อมลองไหลลงมาพักน้ำบริเวณนี้ ใช้ระยะทาง ประมาณ 12,920 เมตรแล้วสูบน้ำขึ้นใส่แท้งค์น้ำ สำหรับปล่อยน้ำให้ประชาชนใช้ อุปโภค บริโภค
ข้อมูลติดต่อโครงการ
โครงการพัฒนาระบบท่อส่งน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการอุปโภค อ่างเก็บน้ำห้วยแม่อมลอง
ที่ตั้ง บ้านบ่อสลี หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่